ลำดับ |
ยุทธศาสตร์ 20 ปี |
แผนแม่บทไอที |
ปีงบประมาณ |
ชื่อโครงการ |
หลักการและเหตุผล |
วัตถุประสงค์โครงการ |
เป้าหมายโครงการ |
งบประมาณที่ได้รับ |
งบประมาณที่ใช้ไป |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
เริ่มโครงการ |
สิ้นสุดโครงการ |
สถานะโครงการ |
คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 |
7.0.2. |
.. |
2565 |
โครงการพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร |
กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีผู้ปฏิบัติงานในองค์กรจำนวนมาก ประกอบด้วยข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา-กรุงเทพมหานคร ลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร ลูกจ้างชั่วคราว และบุคลากรกรุงเทพมหานคร
ในการเป็นองค์กรกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครจำเป็นต้องมีข้อมูลด้านบุคคลของผู้ปฏิบัติงานอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และทันสมัยสามารถนำมาจัดทำเป็นสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการด้านการวางแผนกำลังคนและการบริหารงานบุคคลเพื่อให้ผู้บริหารของกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศด้านบุคคลได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการบริหารทรัพยากรบุคคลได้สูงสุด
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2554 กำหนดให้สำนักงาน ก.ก. มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับแผนกำลังคน
ของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคล
ของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร และดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียน-ประวัติและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร ร่วมกับหน้าที่อื่น ๆ แต่เนื่องจากปัจจุบันกรุงเทพมหานครยังไม่มีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่สามารถรวบรวมข้อมูลทางด้านบุคคลเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคลในภาพรวมและจัดทำเป็นสารสนเทศสำหรับ
การตัดสินใจของผู้บริหาร คณะกรรมการ หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้
สำนักงาน ก.ก. เห็นความสำคัญของการมีข้อมูลด้านบุคคลของกรุงเทพมหานคร
ที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลในยุคการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 นับเป็นภารกิจสำคัญของสำนักงาน ก.ก. ที่จะสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรบุคคลของผู้ปฏิบัติงานในกรุงเทพมหานครและสร้างระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านบุคคล ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น จึงจัดทำโครงการพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครขึ้น |
1. กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อกรุงเทพมหานคร
2. กรุงเทพมหานครมีข้อมูลสารสนเทศด้านบุคคลสำหรับใช้ในการตัดสินใจเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ |
พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อกรุงเทพมหานคร |
11,125,900.00 |
0.00 |
สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
47.00 |
2 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
โครงการจัดหาระบบคิวอัตโนมัติของศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม จำนวน 1 ระบบ |
ศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม รับผิดชอบการจัดบริการด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะและเชตที่ใกล้เคียง โดยจัดบริการสุขภาพทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาลปฐมภูมิ และการฟื้นฟูความสามารถของร่างกาย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายจากภาครัฐและเอกชน อีกทั้งศูนย์ฯ 58 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ทำการใหม่เป็นอาคาร 5 ชั้น พร้อมส่งมอบพื้นที่และอาคารโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์ฯ 58 ที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยศูนย์ฯ 58 ได้เปิดให้บริการ ณ ที่ทำการศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม ในวันที่ 4 ตุลาคม 2564 และมีความประสงค์จะจัดหาระบบคิวอัตโนมัติของศูนย์บริการสาธารณสุข ของศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม จำนวน 1 ระบบ เพื่อเป็นการพัฒนาระบบคิวอัตโนมัติของศูนย์ฯ 58 และเพื่อเพิ่มความสะดวกให้ผู้รับบริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเพื่อสนับสนุนการให้บริการและป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มผู้ใช้บริการ สอดคล้องกับการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ที่เน้นการจัดให้บริการอย่างเหมาะสมตามหลัก Social Distancing ส่งผลให้มีความจำเป็นต้องจัดสถานที่นั่งรอเรียกคิวตรวจแบบเว่นระยะห่างเพิ่มที่ ด้านนอกอาคาร ทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่ได้ยินเสียงเรียกให้บริหาร จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม จึงได้จัดทำโครงการจัดหาระบบระบบคิวอัตโนมัติของศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม จำนวน 1 ระบบ |
1. เพื่อเป็นการพัฒนาระบบคิวอัตโนมัติของศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม และเพื่อเพิ่มความสะดวกให้ผู้รับบริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อสนับสนุนการให้บริการและป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มผู้ใช้บริการ สอดคล้องกับการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เน้นการจัดให้บริการอย่างเหมาะสมตามหลัก Social Distancing |
ติดตั้งระบบคิวอัตโนมัติของศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม จำนวน 1 ระบบ |
227,990.00 |
0.00 |
สำนักอนามัย |
2022-03-01 00:00:00 |
2022-06-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
3 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักการระบายน้ำ (2565) (กสน.) |
- ข้อมูล หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงหรือเรื่องอื่นใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพถ่ายดาวเทียมฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือตรวจวัด การสารวจระยะไกล หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้
- ชุดข้อมูล หมายความว่า การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูลบัญชีรายการข้อมูล หมายความว่า เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน
- ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล (Data file) เดียวกันหรือแยกเก็บหลายๆ แฟ้มข้อมูล (Data file)
- คำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูล โดยระบุรายละเอียดแหล่งข้อมูล หรือคาอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งจัดทำให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบว่าข้อมูลมาจากแหล่งใด มีรูปแบบอย่างไร เพื่อช่วยอานวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และใช้ประโยชน์ในการจัดทำบัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog)
- ความสำเร็จในการพัฒนาฐานข้อมูล หมายถึง การพัฒนาและการจัดการฐานข้อมูลโดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร โดยสอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ) แบ่งเป็น 2 ส่วน (ร้อยละ 100)
ส่วนที่ 1 รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดาเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสาคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ |
มีฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของสำนักการระบายน้ำ |
ได้ฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของสำนักการระบายน้ำ |
0.00 |
0.00 |
สํานักการระบายน้ำ |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
ไม่ได้รับงบประมาณ |
100.00 |
4 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
โครงการระบบการให้บริการทางกฎหมาย (e - Legal Service) : กรณีการสืบค้นมติคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (สำนักเทศกิจ) |
สำนักเทศกิจ เป็นหน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีภาระหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล ตรวจตรา และบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร กฎหมายอื่น ที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติ ประกาศ หลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เทศกิจกรุงเทพมหานคร รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง และในส่วนของภารกิจหน้าที่ในด้านกฎหมาย งานนิติกรรมและสัญญาของสำนัก การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย พิจารณาร่าง แก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หนังสือสั่งการต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของสังคม นโยบายของผู้บริหารที่มีการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาเครื่องมือในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครให้สามารถบังคับใช้กฎหมายเพื่อการบรรลุเป้าประสงค์ในด้านต่าง ๆ ของการพัฒนากรุงเทพมหานคร นอกจากนี้สำนักเทศกิจยังมีบทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลด้านกฎหมายแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับงานด้านเทศกิจ ประชาชนทั่วไป หรือหน่วยงานภายนอก เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้า อ้างอิง หรือนำไปปฏิบัติ โดยในส่วนของกลุ่มงานนิติการ กองนิติการและบังคับคดี มีบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบที่ถือว่าเป็นภารกิจหลักที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการเปรียบเทียบคดีความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ในรูปแบบของคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักเทศกิจทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีของทั้งสองพระราชบัญญัติ ซึ่งเริ่มจากการตรวจสอบสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนและสำนักงานเขต ที่ส่งสำนวนการสอบสวนมาที่ฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อพิจารณาเสนอคณะกรรมการฯ เปรียบเทียบผู้ต้องหา โดยดำเนินกระบวนการพิจารณาทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย เสนอเข้าสู่พิจารณาของคณะกรรมการฯ ตลอดจนแจ้งมติการเปรียบเทียบคดีผู้ต้องหาให้กับพนักงานสอบสวนและสำนักงานเขต เพื่อดำเนินการให้ผู้ต้องหา มาชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการติดตามผลการดำเนินคดีจนถึงที่สุด กลุ่มงานนิติการจึงทำหน้าที่เป็นฐานข้อมูลในการรวบรวมผลการเปรียบเทียบคดีความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื่องจากการเปรียบเทียบปรับ โดยคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีมีผลทำให้คดีอาญาเลิกกันตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประกอบกับมติคณะกรรมการฯ ดังกล่าวสามารถนำมาอ้างอิงหรือเทียบเคียงในการพิจารณาเปรียบเทียบปรับคดีต่อไปได้
ตั้งแต่พุทธศักราช 2535 – ปัจจุบัน สำนักเทศกิจในฐานะเลขานุการคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีฯ ทำหน้าที่เก็บรวบรวมเอกสาร หลักฐาน มติคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เมื่อประชาชน พนักงานสอบสวน หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประสานขอสอบถามหรือขอให้ตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมติคณะกรรมการฯ เจ้าหน้าที่มีความยากลำบากในการค้นหาเอกสาร ใช้เวลานาน และไม่ได้รับความสะดวก ขัดแย้งกับเป้าหมายการพัฒนากรุงเทพมหานครในการให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องโปร่งใส่ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย (SMART SERVICE)
ดังนั้น เพื่อให้สำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานครบรรลุเป้าหมายการพัฒนากรุงเทพมหานคร โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย (SMART SERVICE) ในด้านที่ 7 การบริหารจัดการเมืองมหานคร มิติที่ 7.5 เทคโนโลยีสารสนเทศ เป้าหมายที่ 7.5.1 กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องโปร่งใส่และเพื่อสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) มีการบริหารจัดการเมือง (กรุงเทพมหานคร) ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ (SMART CITY) สอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนประเทศ Thailand ๔.๐ ข้าราชการยุคดิจิทัลพลิกโฉมการทำงานภาครัฐด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ทำให้มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถจัดเก็บสถิติปริมาณงานและการติดตามประเมินผลการดำเนินคดีเป็นไปด้วยความถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ใช้ประกอบการบริหารจัดการและตัดสินใจของผู้บริหารได้ และที่สำคัญสามารถดำเนินการเป็นงานต้นแบบและประยุกต์ใช้กับระบบงานอื่น ๆ |
๑. เพื่อให้สำนักเทศกิจในฐานะของเลขานุการคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีมีการจัดเก็บข้อมูล มติคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ (Database System) และพัฒนาต่อยอดทางกฎหมายด้านอื่น ๆ ต่อไปได้ ๒. เพื่อสร้างช่องทางให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนคดีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ฝ่ายการโยธา นิติกรสำนักเทศกิจ เป็นต้น สามารถสืบค้นผลมติคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงทางกฎหมายได้๓. เพื่อลดขั้นตอนการสืบค้นมติคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ซึ่งเป็นการให้บริการของภาครัฐสำหรับประชาชนและหน่วยงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้๔. เพื่อให้การจัดเก็บสถิติปริมาณงานและการติดตามประเมินผลการดำเนินคดีเป็นไปด้วย ความถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ใช้ประกอบการบริหารจัดการและตัดสินใจของผู้บริหารได้ |
สำนักเทศกิจในฐานะของเลขานุการคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีได้มีการจัดเก็บข้อมูล มติคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ (Database System) และพัฒนาต่อยอดการจัดระบบข้อมูลทางกฎหมายด้านอื่น ๆ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาสำนวนคดีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ฝ่ายการโยธา นิติกรสำนักเทศกิจ เป็นต้น สามารถสืบค้นผลมติคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงทางกฎหมายได้ |
0.00 |
0.00 |
สํานักเทศกิจ |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
5 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
การดำเนินการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลของสำนักการจราจรและขนส่ง |
การดำเนินงานตามภารกิจ จำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลจราจรที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้านจราจรในการบริหารจัดการหรือประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นช่องทางเสริมสร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงานในการสื่อสารและให้บริการข้อมูลจราจรแก่ประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
1 เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศด้านจราจรสำหรับการบริหารจัดการและให้บริการประชาชน
2 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการข้อมูลและเชื่อมต่อระบบต่างๆ ของสำนักการจราจรและขนส่ง
3. เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานและประชาชน |
พัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ |
0.00 |
0.00 |
สํานักการจราจรและขนส่ง |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
6 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลสำหรับบูรณาการภารกิจของหน่วยงาน (กสศ.) |
การพัฒนาและการสร้างชุดข้อมูลสำหรับบูรณาการภารกิจของหน่วยงาน โดยจัดทำคำอธิบายข้อมูลและพจนานุกรมข้อมูลตามแนวทางธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งนำเข้าข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลข้อมูลให้มีคุณภาพเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอตามรอบระยะเวลาที่กำหนดและสร้างนวัตกรรมการให้บริการหรือการบริหารจัดการจากชุดข้อมูล |
1. แต่งตั้งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลและทีมบริกรข้อมูลระดับหน่วยงานและหน่วยงานจัดทำเอกสารชุดข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน
2. นำเสนอชุดข้อมูลสำคัญของหน่วยงานต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานคร และสร้างชุดข้อมูลสำคัญ จัดทำคำอธิบายข้อมูลและพจนานุกรมข้อมูล พร้อมทั้งการทำความสะอาดข้อมูล
3. นำเข้าข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลข้อมูลให้มีความถูกต้อง มีความครบถ้วน และมีความเป็นปัจจุบัน
4. สร้างนวัตกรรมการให้บริการหรือการบริหารจัดการจากชุดข้อมูล อย่างน้อย 1 ผลงานนวัตกรรม |
1. แต่งตั้งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลและทีมบริกรข้อมูลระดับหน่วยงานและหน่วยงานจัดทำเอกสารชุดข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน
2. นำเสนอชุดข้อมูลสำคัญของหน่วยงานต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานคร และสร้างชุดข้อมูลสำคัญ จัดทำคำอธิบายข้อมูลและพจนานุกรมข้อมูล พร้อมทั้งการทำความสะอาดข้อมูล
3. นำเข้าข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลข้อมูลให้มีความถูกต้อง มีความครบถ้วน และมีความเป็นปัจจุบัน
4. สร้างนวัตกรรมการให้บริการหรือการบริหารจัดการจากชุดข้อมูล อย่างน้อย 1 ผลงานนวัตกรรม |
0.00 |
0.00 |
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
7 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมการสร้างระบบมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล |
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยและเป็นมหานครหนึ่งของโลก การขับเคลื่อนองค์กรในปัจจุบันล้วนพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสำคัญ เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยผลักดันให้กรุงเทพมหานครสามารถดำเนินการตามนโยบายและวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (2556 - 2575) ระยะที่ 2 มิติที่ 7.5 เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมุ่งเน้นให้กรุงเทพมหานครมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการบริหารจัดการองค์กรภายใน และการให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย (SMART Service) เพื่อสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และมีการบริหารจัดการเมือง (กรุงเทพมหานคร) ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ (SMART City)
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล โดยกองบริการระบบคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการและสนับสนุนการมีการใช้ระบบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และเครือข่ายการสื่อสาร พร้อมโปรแกรมสำเร็จรูป ตลอดจนโครงการติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้งานของสำนักและสำนักงานเขต รวมถึงการให้บริการในเรื่องเกี่ยวกับเทคนิคทางคอมพิวเตอร์แก่ผู้บริหารและทุกหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยความสะดวกให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานและการบริการประชาชน
กิจกรรมการสร้างระบบมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลจัดทำขึ้นเพื่อบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลและลดขั้นตอนการติดต่อประสานงาน 4 ส่วนราชการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบให้สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น |
- เพื่อสร้างมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร
- เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลให้สะดวก รวดเร็ว และลดขั้นตอนการติดต่อประสานงาน
- เพื่อติดตามและประเมินผลการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล โดยนำมาพัฒนาและปรับปรุงการบริการให้เกิดประโยชน์สูงสุด |
- มีมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร
- มีระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Management System) เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร |
0.00 |
0.00 |
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
2021-12-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
8 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (สก.สยป.) |
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินการด้านยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานครให้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ให้เป็นรูปธรรม นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุนได้อย่างครอบคลุม |
เพื่อพัฒนานวัตกรรมให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
มีนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงาน |
0.00 |
0.00 |
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
2022-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
50.00 |
9 |
0.0.0. |
.. |
2565 |
กิจกรรมการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร |
การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร
ของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ นอกจากนี้ ยังมีพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลที่ต้องเปิดเผยตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ โดยต้องให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถนำไปเผยแพร่ ใช้ประโยชน์ หรือพัฒนาบริการและนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ได้ รวมถึงแสดงความโปร่งใสในการดำเนินงาน และสามารถตรวจสอบได้จากทุกภาคส่วน โดยกรุงเทพมหานครได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานคร ส่วนที่ 1 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2565 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งมีแนวทาง 3 ฉบับ ได้แก่ นโยบาย มาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลของกรุงเทพมหานคร แนทางการกำหนดชุดข้อมูลสำคัญของกรุงเทพมหานคร และนโยบายและแนวทางปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร |
กรุงเทพมหานครมีข้อมูลที่ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย เผยแพร่ ทำซ้ำ หรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์ |
การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐที่มีคุณภาพสูงในด้านคุณภาพชีวิต ด้านความปลอดภัย ด้านการศึกษา ด้านการเงิน ด้านสุขภาพ |
0.00 |
0.00 |
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
2022-07-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
0.00 |
10 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
การใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Leave) กับสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว |
ด้วยยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ว่า ภาครัฐมีความทันสมัย พัฒนาและปรับระบบวิธีการปฏิบัติราชการให้ทันสมัยโดยมีการกําหนดนโยบายและการบริหารจัดการที่ตั้งอยู่บนข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ มุ่งผลสัมฤทธิ์
มีความโปร่งใส ยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง นํานวัตกรรม เทคโนโลยี ระบบการทํางานที่เป็นดิจิทัลมาใช้ในการบริหารและการตัดสินใจ และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 - 2565) ด้านที่ 7 การบริหารจัดการเมืองมหานคร มิติที่ 7.5 เทคโนโลยีสารสนเทศ เป้าประสงค์ที่ 7.5.1.2 มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้พัฒนาระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Leave) โดยสามารถยื่นลาป่วย ลากิจส่วนตัว และลาพักผ่อนผ่านอินเตอร์เน็ต (http://eleave.bangkok.go.th/public) ซึ่งเป็นข้อสั่งการของปลัดกรุงเทพมหานครที่มอบให้สำนักงาน ก.ก. นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน ในการใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์นั้นผู้ลาสามารถยื่นใบลาได้ตลอดเวลา สามารถดูวันลาสะสมได้ตนเอง สะดวกในการค้นคืนข้อมูลการลา ในขณะที่ผู้ตรวจสอบสามารถตรวจสอบและค้นคืนข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้บริหารสามารถเรียกดูรายงานการลาในภาพรวมได้ ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์นี้สามารถลดปริมาณการใช้กระดาษและลดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร สำนักงาน ก.ก. ได้นำเรียนปลัดกรุงเทพมหานครรับทราบผลการใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ และเห็นชอบให้สำนักงาน ก.ก. เผยแพร่การใช้งานระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ให้กับส่วนราชการกรุงเทพมหานครรับทราบ
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวได้ใช้การลาโดยใช้ใบลาในรูปแบบกระดาษตามแบบแนบท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 โดยผู้ลาต้องเสนอหรือจัดส่งใบลาในรูปแบบกระดาษขออนุญาตลาต่อผู้มีอํานาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาก่อนหรือในวันที่ลา ในบริบทการปฏิบัติงานของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวหากผู้ลาปฏิบัติงานที่ศูนย์เยาวชน ศูนย์กีฬา และห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ หรือปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำงานตามมาตรการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ย่อมไม่มีความสะดวก ต้องเดินทางส่งใบลา ทำให้เกิดความล่าช้า และต้องสอบถามข้อมูลการลาจากผู้ตรวจสอบอีกด้วย นอกจากนี้ ส่วนราชการต้องเสียงบประมาณในการพิมพ์ใบลา เสียตู้เอกสารใบลาและพื้นที่จัดเก็บแฟ้มใบลา และเจ้าหน้าที่ต้องจัดเก็บใบลาเข้าแฟ้ม รวมถึงผู้มีอํานาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาต้องเสียเวลาในการลงนามใบลา จะเห็นได้ว่าการลาโดยใช้ใบลาในรูปแบบกระดาษนั้นไม่เพิ่มผลผลิตให้กับส่วนราชการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว และยังไม่ตอบโจทย์การปฏิบัติงานในยุคดิจิทัลด้วย
ดังนั้น หากนำระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวเช่นเดียวกับสำนักงาน ก.ก. ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว และอำนวยความสะดวกในการลาของข้าราชการ จึงได้จัดทำโครงการใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Leave) กับสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นไปตามข้อสั่งการของปลัดกรุงเทพมหานครที่ให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน ในการนี้ ประสานงานไปยังสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลขอใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ |
2.1 เพื่อให้สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวมีการใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์
2.2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
2.3 เพื่อนำระบบการทํางานที่เป็นดิจิทัลมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน |
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวมีการใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์โดยสามารถยื่นลาป่วย ลากิจส่วนตัว และลาพักผ่อนผ่านอินเทอร์เน็ต (http://eleave.bangkok.go.th/public) |
0.00 |
0.00 |
สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว |
2021-10-01 00:00:00 |
2021-11-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
11 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
โครงการปรับปรุงเว็บไซต์สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว |
ด้วยยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ว่า ภาครัฐมีระบบการบริหารจัดการข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อการพัฒนานโยบายและการให้บริการภาครัฐ และพัฒนาและปรับระบบวิธีการปฏิบัติราชการให้ทันสมัยโดยมีการกําหนดนโยบายและการบริหารจัดการที่ตั้งอยู่บนข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ มุ่งผลสัมฤทธิ์ มีความโปร่งใส ยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง นํานวัตกรรม เทคโนโลยี ระบบการทํางานที่เป็นดิจิทัลมาใช้ในการบริหาร และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 - 2565) มิติที่ 7.5 เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กำหนดว่ามีการบริหารจัดการเมืองด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ (Smart City) โดยมีระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับให้บริการประชาชน และ/หรือมีการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการให้บริการประชาชนระหว่างหน่วยงานภาครัฐและ/หรือภาคเอกชน
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลโดยกองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ได้ปรับปรุงโครงสร้างและรูปแบบการทำงานของระบบบริหารจัดการเว็บไซต์กรุงเทพมหานคร (Web Portal) ให้สามารถเข้าถึงระบบ Social Media และรองรับการทำงานลักษณะ Web Service ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากระบบบริหารจัดการเว็บไซต์กรุงเทพมหานครแบบเดิมใช้งานมาแล้วมากกว่า 5 ปี ทำให้เกิดปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการใช้งาน และเทคโนโลยีการออกแบบที่ล้าสมัย และเว็บไซต์หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีปริมาณข้อมูลข่าวสารที่นำมาเผยแพร่บนเว็บไซต์เพิ่มขึ้นอย่างมาก การเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างลำบาก ซับซ้อน และไม่สะดวกรวดเร็ว รวมทั้งไม่สามารถรองรับเทคโนโลยีของอุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Devices) ได้อย่างสมบูรณ์ จึงต้องมีการปรับปรุงระบบบริหารจัดการและการออกแบบเว็บไซต์หน่วยงานของกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน มีความทันสมัย ได้รับบริการข้อมูลที่สะดวกรวดเร็ว มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ได้ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการใช้งานระบบบริหารจัดการเว็บไซต์กรุงเทพมหานครสำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์ของหน่วยงานเมื่อวันที่ 15 - 18 มีนาคม 2564
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวได้ใช้ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์กรุงเทพมหานครแบบเดิมมาประมาณ 2 ปี พบว่า การจัดการเว็บไซต์มีความยุ่งยาก สลับซับซ้อน ระบบการทำงานบางส่วนใช้งานไม่ได้ และรูปแบบเว็บไซต์ (Template) ขาดความน่าสนใจแม้ว่าจะพยายามออกแบบให้ทันสมัย มีการเพิ่มเนื้อหา (Content) ใหม่ ๆ รวมทั้งการปรับปรุงเว็บไซต์ในบางส่วนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ตลอดจนการเปิดเว็บไซต์ขึ้นมามีลักษณะการตอบสนองล่าช้า ทำให้ไม่ตอบโจทย์การเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ในยุคดิจิทัล หากมีการใช้ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์กรุงเทพมหานครแบบใหม่จะทำให้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นมาตรฐาน ส่งผลให้การจัดการเว็บไซต์มีประสิทธิภาพ ทำให้การเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวมีความน่าสนใจ เข้าถึงข้อมูลได้หมด สร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้งาน และมีความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility) จึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงเว็บไซต์สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวโดยใช้ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์กรุงเทพมหานครแบบใหม่ ในการนี้ ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างและรูปแบบเว็บไซต์ให้ทันสมัยเป็นไปตามมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ 2.0 และข้อกำหนด Web Content Accessibility Guidelines (WCAG) 2.0 ด้วยองค์ความรู้จากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการใช้งานระบบบริหารจัดการเว็บไซต์กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นช่องทางหลักในการสื่อสารกับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวก มีส่วนร่วมตาม พ.ร.บ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และให้สอดคล้องกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) |
2.1 เพื่อดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างและรูปแบบเว็บไซต์สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
2.2 เพื่อให้สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวมีเว็บไซต์ที่ทันสมัย เป็นมาตรฐาน
2.3 เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และการเข้าถึงข้อมูลบนเว็บไซต์สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว |
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวมีเว็บไซต์ที่ทันสมัยเป็นไปตามมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ 2.0 และข้อกำหนด Web Content Accessibility Guidelines (WCAG) 2.0 |
0.00 |
0.00 |
สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-12-31 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
12 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ |
สำนักพัฒนาสังคม ในฐานะกำกับดูแลโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร 10 แห่ง ซึ่งสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพต่าง ๆ ให้ประชาชนผู้ว่างงานที่ต้องการมีงานทำ และผู้ถูกเลิกจ้างงานได้มีโอกาสศึกษาต่อด้านวิชาชีพตามความถนัด ความสามารถ ความต้องการของผู้เรียน เพื่อนำไปสู่การมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง
สำนักงานงานการส่งเสริมอาชีพ ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้เรียน ประชาชน ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร โดยนำกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนด้านวิชาชีพสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัดเพื่อนำไปสู่การมีอาชีพและรายได้ในอนาคต ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
|
|
|
0.00 |
0.00 |
สํานักพัฒนาสังคม |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
13 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักงานเขตพระนคร |
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อความสำเร็จของระบบบริหารราชการ ในการทำงานจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศให้สามารถนำเสนอได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัย เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการบริหาร การวางแผนการพัฒนา และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์
สำนักงานเขตพระนคร จึงจัดทำโครงการการพัฒนาฐานข้อมูลขึ้น เพื่อพัฒนาและจัดการฐานข้อมูล โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูลของฐานข้อมูลของหน่วยงาน ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร โดยสอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ) |
เพื่อดำเนินการตามคำรับรองการปฎิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 องค์ประกอบที่ 5.2 |
สามารถพัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการได้ |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตพระนคร |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
14 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย |
เป้าหมายตามแผนผัฒนากรุงเทพมหานครและแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ.2565 กรุงเทพมหานครจำเป็นต้องมีกลไกสนับสนุนการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน เพื่อทำให้สามารถขับเคลื่อนและผลักดันเป้าหมายที่กำหนดไว้ทั้ง 6 มหานครให้บรรลุผล เช่น การบริหารทรัพยากรบุคคล โดยการพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน มีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและงบประมาณที่เป็นมาตรฐานสากลและเกื้อหนุนต่อการพัฒนากรุงเทพมหานคร โดยการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับให้บริการประชาชน และเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการและมีฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เป็นประเด็นสำคัญในการบริหารจัดการกรุงเทพมหานครในภาพรวมให้บรรลุเป้าหมาย |
1. เพื่อแต่งตั้งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลและทีมบริกรข้อมูลระดับหน่วยงานและจัดทำเอกสารชุดข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน ตามแนวทางของคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อพัฒนาสร้างชุดข้อมูลสำคัญ จัดทำคำอธิบายข้อมูลและพจนานุกรมข้อมูล พร้อมทั้งการทำความสะอาดข้อมูล (Data cleansing)
3. เพื่อสร้างนวัตกรรมการให้บริการหรือการบริหารจัดการจากชุดข้อมูล |
1. มีคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลและทีมบริกรข้อมูลระดับหน่วยงาน และเอกสารชุดข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน ตามแนวทางของคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานคร
2. มีการพัฒนาสร้างชุดข้อมูลสำคัญ จัดทำคำอธิบายข้อมูลและพจนานุกรมข้อมูล พร้อมทั้งการทำความสะอาดข้อมูล (Data cleansing)
3. มีนวัตกรรมการให้บริการหรือการบริหารจัดการจากชุดข้อมูล |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
15 |
0.0.0. |
.. |
2565 |
ความสำเร็จในการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำเร็จต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ |
“ข้อมูล” คือเป็นปัจจัยสำคัญต่อองค์กรและผู้บริหารในการใช้เครื่องมือตัดสินใจต่อการบริหารองค์กรให้ไปสู่เป้าหมายในยุค 4.0 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลจึงเป็นภารกิจประการหนึ่งที่หน่วยงาน องค์กรทุกภาคส่วนจะต้องให้ความสำคัญและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ การทำงานจะต้องมีฐานข้อมูลที่ทันสมัย สามารถนำมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการวางแผนการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ และสนองต่อความต้องการของประชาชน
สำนักงานดุสิตเป็นหน่วยปกครองหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ได้ตระหนักและให้ความสำคัญ มีการพัฒนาฐานข้อมูลเดิมให้ถูกต้องทันสมัยยิ่งขึ้นและพยายามพัฒนาข้อมูลและจัดการฐานข้อมูล โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนรวดเร็วทันสมัยและมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูลของฐานข้อมูลของหน่วยงานให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงานและภาพรวมของกรุงเทพมหานครโดยสอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่องธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ) จึงจัดทำโครงการการพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักงานเขตดุสิตขึ้น |
2.1 เพื่อพัฒนาและจัดการฐานข้อมูลของกรุงเทพมหานครในรูปแบบที่กรุงเทพมหานครกำหนดจำนวน 9 ขั้น ข้อมูลให้ทันสมัย ทุกเดือน และทุกไตรมาส ผ่านระบบรายงานที่กรุงเทพมหานครกำหนด
2.2 เพื่อรักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2564 ให้เป็นไปตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Framework) |
รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ.2563-2564 และพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัย จำนวน 22 ฐานข้อมูล พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการเพิ่มเติม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อย่างน้อย 1 ฐานข้อมูล |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตดุสิต |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
16 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน |
การพัฒนาชุมชนเป็นกระบวนการเคลื่อนไหวไปสู่การเปลี่ยนแปลงเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนให้สามารถพึ่งพาและช่วยเหลือตนเองได้เป็นการยกระดับชุมชนให้ดีขึ้นรวมไปถึงสังคมที่พัฒนาตามมาด้วย |
1. ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเองได้
2. การจัดกิจกรรมด้านการพัฒนาชุมชนประสบความสำเร็จประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
3. ชุมชนรู้จักการบริหารจัดการและทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน จากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน |
ดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชนในการจัดกิจกรรมด้านพัฒนาชุมชนในพื้นที่เขตพญาไท จำนวน 22 ชุมชน |
1,680,000.00 |
1,600,000.00 |
สำนักงานเขตพญาไท |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
17 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมกิจการสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร |
สำนักงานเขตพญาไทได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนเขตพญาไท เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานและขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่และสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกอย่างสอดคล้องกับความรู้ ความสามารถที่พัฒนาไปตามวัยเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำในการพัฒนากรุงเทพมหานคร |
1. สภาเด็กและเยาวชนเขตพญาไทมีความเข้มแข็งและยั่งยืน เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชนให้มีการแสดงออกในแนวทางที่เหมาะสม
2. ให้เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมสามารถพัฒนาระบบความคิดและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเพื่อเตรียมพร้อมในการเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าพัฒนากรุงเทพมหานครและประเทศไทยต่อไปในอนาคต |
เด็ก เยาวชนในพื้นที่เขตพญาไท ซึ่งมีความสนใจและขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกของสภาเด็กและเยาวชนในแต่ละสำนักงานเขต |
149,800.00 |
119,328.00 |
สำนักงานเขตพญาไท |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
18 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
ค่าใช้จ่ายในการจัดงานวันสำคัญ อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณี |
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมประเพณีและวันสำคัญอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบทอดมาช้านานควรแก่การดำรงรักษาอนุรักษ์สืบทอดไว้สำนักงานเขตพญาไทจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่ออนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยให้ดำรงเป็นเอกลักษณ์ของไทยสืบไป |
1. เพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย
2. เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นและตระหนักถึงคุณค่าในการรักษาไว้ให้คงอยู่
3. เพื่อเป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งภาครัฐและเอกชน |
1. ดำเนินการในวันสำคัญต่าง ๆ จำนวน 7 กิจกรรม
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ ข้าราชการลูกจ้าง เด็กและเยาวชน ประชาชน ผู้สูงอายุในพื้นที่เขตพญาไท |
500,000.00 |
290,835.00 |
สำนักงานเขตพญาไท |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
19 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
ค่าใช้จ่ายศูนย์ประสานงานธนาคารสมองของกรุงเทพมหานคร (พญาไท) |
เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าคุณประโยชน์ที่ผู้สูงอายุมีต่อสังคม รวมทั้งความรู้ความสามารถและส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิความรู้ประสบการณ์อันดีงามจากผู้อาวุโสสู่คนรุ่นใหม่ |
1. เป็นศูนย์กลางของการประสานและเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านผู้สูงอายุที่มีทั้งความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในสาขาต่าง ๆ อันจะนำมาช่วยงานของส่วนรวมและของกรุงเทพมหานคร
2. เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าและคุณประโยชน์ที่ผู้สูงอายุมีต่อสังคมโดยส่วนรวมและให้เกิดความเคารพยกย่องผู้สูงอายุ อันนำไปสู่แนวทางการลดปัญหาสังคม
3. เป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาที่มีอยู่แก่คนรุ่นหลัง |
ผู้สูงอายุได้รับการเชิดชูยกย่องภูมิปัญญาจำนวน 1 รายและถ่ายทอดภูมิปัญญาที่มีอยู่แก่คนรุ่นใหม่ |
10,000.00 |
10,000.00 |
สำนักงานเขตพญาไท |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
20 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมการพัฒนาและจัดเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของหน่วยงาน |
เป็นไปตามแผนฯ 2565 สนข.ห้วยขวาง |
|
|
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตห้วยขวาง |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
21 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมปรับปรุงเว็บไซต์สำนักงานเขตห้วยขวาง |
เป็นไปตามแผนฯ สนข.ห้วยขวาง 2565 |
|
|
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตห้วยขวาง |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
22 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลเขตลาดกระบัง |
เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลด้านดิจิทัลของ กทม. |
|
|
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตลาดกระบัง |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
23 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
เปิดโลกกว้างสร้างเส้นทางสู่อาชีพ (ลาดกระบัง) |
การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพนักเรียนให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพครบทุกด้าน สอดคล้องแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 มหานครสำหรับทุกคนประกอบกับนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อรองรับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไปสู่ยุกค Thailand 4.0 และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ(พ.ศ. 2561-2580) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์พัฒนาทักษาการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ ทักษะการทำงาน และการใช้ชีวิตที่พร้อมเข้าสู่ตลาดงาน
|
|
|
178,000.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตลาดกระบัง |
2021-06-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
24 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมนำนวตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเขตจตุจักร |
การปรับปรุงแก้ไขและหรือเพิ่มความสามารถหรือทักษะในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น |
เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและคุณภาพเพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ |
นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตจตุจักร 1 นวัตกรรม |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตจตุจักร |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
25 |
0.0.0. |
.. |
2565 |
โครงการเร่งรัดติดตามผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม |
1. ความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม หมายถึง หน่วยงานสามารถดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวม 5 หมวดรายจ่าย ได้แก่ หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ตินและสิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และหมวดรายจ่ายอื่นรวมทั้งงบกลางทุกประเภทที่ได้รับจัดสรรในงบประมาณ พ.ศ. 2565 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 (ไม่รวมงบประมาณรายจ่ายประจำปี หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว งบกลาง รายการเงินช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง งบกลาง รายการเงินบำเหน็จลูกจ้าง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กันไว้เบิกเหลื่อมปีในปีงบประมาณ พ.ศ.2565)
2. จำนวนเงินงบประจำปีที่เบิกจ่ายจริงสะสม ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 หมายถึง ผลรวมของการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวม 5 หมวดรายจ่าย ได้แก่ หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และหมวดรายจ่ายอื่น รวมทั้งงบกลางทุกประเภทที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 (ไม่รวมงบประมาณรายจ่ายประจำปี หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว งบกลาง รายการเงินช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง งบกลาง รายการเงินบำเหน็จลูกจ้าง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กันไว้เบิกเหลื่อมปีในปีงบประมาณ พ.ศ.2565)
3. งบประจำปีหลังปรับโอน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 หมายถึง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวม 5 หมวดรายจ่ายได้แก่ หมวดคำตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และหมวดรายจ่ายอื่น รวมทั้งงบกลางทุกประเภทที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 (ไม่รวมงบประมาณรายจ่ายประจำปี หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว งบกลาง รายการเงินช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง งบกลาง รายการเงินบำเหน็จลูกจ้าง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กันไว้เบิกเหลื่อมปีในปีงบประมาณ พ.ศ.2565) |
1. การเบิกจ่ายงบประมาณทั้ง 5 หมวดรายจ่าย ในปีงบประมาณ 2565 ของสำนักงานเขตสาทร เป็นไปตามเป้าหมายของสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
2. การเบิกจ่ายเงินฝ่ายการคลังเป็นไปตามแผนการใช้จ่ายเงินของหน่วยงาน |
งบประมาณในภาพรวมตามเกณฑ์ตัวชี้วัดไม่ต่ำกว่าร้อยละ96 |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตสาทร |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
99.00 |
26 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
จัดทำแผนที่จุดเสี่ยงภัยที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินด้วยระบบ BMA GIS PORTAL |
จุดเสี่ยงภัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน เมื่อเกิดเหตุภัยต่างๆ จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือทันที การทำฐานข้อมูลพิกัดจุดเสี่ยงภัยด้วย BMA GIS PORTAL เพื่อใช้ในการวางแผน เข้าถึงจุดเสี่ยงภัยต่างๆ เมื่อเกิดเหตุจะได้ช่วยเหลือระงับเหตุได้ทันเวลา |
1. เพื่อมีฐานข้อมูลจุดเสี่ยงภัยต่างๆ ในเขตสาทร
2. เพื่อนำฐานข้อมูลจุดเสี่ยงภัยในพื้นที่เขตสาทรใช้ประกอบวางแผนแก้ไขจุดเสี่ยงและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุ |
มีและใช้ฐานข้อมูลฐานข้อมูลจุดเสี่ยงภัยในพื้นที่เขตสาทรใช้ประกอบวางแผนช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุ |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตสาทร |
2022-03-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
27 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของสำนักงานเขตสวนหลวง |
สำนักงานเขตสวนหลวง ได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของสำนักงานเขตสวนหลวง เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำฐานข้อมูลที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของสำนักงานเขตสวนหลวง ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี (พ.ศ.2556 - 2575) ในการรักษาเสถียรภาพทางการคลังและเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายการคลัง ด้านการบริหารจัดเก็บรายได้และพัฒนารายได้ เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและงบประมาณที่มีความเป็นเลิศและเกื้อหนุนต่อการพัฒนากรุงเทพมหานครในระยะยาว |
1. ฐานข้อมูลที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด ของสำนักงานเขตสวนหลวง ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน
2. การจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทั่วถึง และเป็นธรรม
3. จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ที่กรุงเทพมหานครกำหนดไว้ |
ร้อยละ 100 |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตสวนหลวง |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-11-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
28 |
7.0.2. |
.. |
2565 |
กิจกรรมศูนย์บริหารราชการ ฉับไว ใสสะอาด |
1.เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
2.เพื่อปรับปรุงการให้บริการของเจ้าหน้าที่ |
เพื่อนำผลประเมินการให้บริการไปปรับปรุงการให้บริการของเจ้าหน้าที่ |
1.เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
2.เพื่อปรับปรุงการให้บริการของเจ้าหน้าที่ |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตสวนหลวง |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
29 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
ดำเนินการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลสำหรับบูรณาการภารกิจของหน่วยงาน |
กรุงเทพมหานครได้กำหนดให้ทุกหน่วยงานจัดทำฐานข้อมูลและนำเข้าข้อมูลในระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตในกรุงเทพมหานคร (District Catalog) |
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของกรุงเทพมหานคร |
-รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงาน-พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงาน |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตวัฒนา |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
30 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
ดำเนินการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน |
กรุงเทพมหานครได้กำหนดให้ทุกหน่วยงานจัดหาวิธีการและรูปแบบใหม่ๆ ในการจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้หน่วยงานนำเสนอนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ นวัตกรรมเชิงนโยบาย นวัตกรรมการบริการ และนวัตกรรมการบริหาร/องค์กร |
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน |
สร้างนวัตกรรมเพื่อนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน จำนวน 1 นวัตกรรม |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตวัฒนา |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
31 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการแปรรูปมูลฝอยอินทรีย์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ |
|
1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณมูลฝอยเศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้และไม้ใบหญ้า โดยนำมาทำเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ขยะหอม) ปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง และเลี้ยงไส้เดือน (เพื่อกำจัดเศษอาหาร) นำมาใช้ประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง ๆ กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดปริมาณมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด
3. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ในการคะดอยดขยะอินทรีย์
4. เพื่อลดปริมาณมูลฝอยที่สำนักงานเขตหลักสี่ ต้องจัดเก็บและนำไปทำลาย |
1. กิจกรรมรณรงค์ ส่งเสริมให้มีการนำมูลฝอยอินทรีย์มาใช้กระโยชน์ด้วยการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ขยะหอม) ปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง และเลี้ยงไส้เดือน (เพื่อกำจัดเศษอาหาร) ให้กับชุมชน วัด หน่วยราชการ สถานศึกษา สถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจในพื้นที่เขตและกระชาชนทั่วไป
2. กิจกรรมเทน้ำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ลงในคลองพื้นที่เขตหลักสี่เพื่อบำบัดน้ำเสีย |
50,000.00 |
49,975.00 |
สำนักงานเขตหลักสี่ |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
32 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร |
|
เพื่อให้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเป็นศูนย์กลางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกฒตรกร สร้างความรู้ มีส่วนร่วมคิดวิเคราะห์ กำหนดทิศทาง และวางแผนได้ด้วยตนเอง |
- จัดกิจกรรมการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำแขวงทุ่งสองห้อง ได้แก่ การจัดประชุมคณะกรรมการศูนย์
- จัดกิจกรรมของศูนย์บริการและถ่ายทอดฯ เช่น การประชุมคณะกรรมการ และจัดตั้งจุดสาธิตการเกษตร จำนวน 2 จุด |
115,100.00 |
115,100.00 |
สำนักงานเขตหลักสี่ |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
33 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
ค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย |
|
1. การตรวจสอบแก้ไขปัญหาทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรืออนามัยสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน
2. การตรวจสอบด้านสุขลักษณะ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบการที่ประกอบการ
3. การให้บริการเผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค และตอบโต้เหตุฉุกเฉินหรืออุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย เป็นต้น
4. การดำเนินงานตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตหลักสี่ หมายถึง การดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล จำนวน 48 ครั้ง
5. การดำเนินงานบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 หมายถึง การดำเนินงานโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง จำนวน 35 ครั้ง |
จำนวนครั้งของการดำเนินงานตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตหลักสี่ และการดำเนินงานบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 จำนวน 83 ครั้ง |
165,100.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตหลักสี่ |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
34 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมพัฒนาระบบฐานข้อมูลของสำนักงานเขต(สะพานสูง) |
ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร มีนโยบายต้องการพัฒนาการให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยให้ทุกสำนักงานเขตรักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานปี พ.ศ.2563 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ |
1.รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานปี พ.ศ.2563
2.พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ |
รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานปี พ.ศ.2563 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการและติดตามรายงานผลผ่านระบบ BMA Digital Plans |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตสะพานสูง |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-10-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
35 |
7.0.1. |
.. |
2565 |
โครงการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลสำหรับบูรณาการภารกิจของหน่วยงาน (One Platform) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 |
เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีการจัดทำฐานข้อมูลของกรุงเทพมหานครสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติงานของข้าราชการและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ สำนักงานเขตสาทรได้ตระหนักถึงความสำคัญของฐานข้อมูลที่สำนักงานเขตสาทรจัดทำขึ้น ดังนั้นทางสำนักงานเขตสาทรมีโครงการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติงานของข้าราชการ และประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
|
|
|
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตคลองสามวา |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
36 |
7.0.1. |
.. |
2566 |
การดำเนินการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลของสำนักการจราจรและขนส่ง |
การดำเนินงานตามภารกิจ จำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลจราจรที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้านจราจรในการบริหารจัดการหรือประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นช่องทางเสริมสร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงานในการสื่อสารและให้บริการข้อมูลจราจรแก่ประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
1 เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศด้านจราจรสำหรับการบริหารจัดการและให้บริการประชาชน
2 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการข้อมูลและเชื่อมต่อระบบต่างๆ ของสำนักการจราจรและขนส่ง
3. เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานและประชาชน
|
พัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ |
0.00 |
0.00 |
สํานักการจราจรและขนส่ง |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
25.00 |
37 |
7.0.1. |
.. |
2566 |
ค่าใช้จ่ายในการจัดงานวันสำคัญ อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณี |
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมประเพณีและวันสำคัญอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบทอดมาช้านานควรแก่การดำรงรักษาอนุรักษ์สืบทอดไว้สำนักงานเขตพญาไทจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่ออนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยให้ดำรงเป็นเอกลักษณ์ของไทยสืบไป |
1. เพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย
2. เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นและตระหนักถึงคุณค่าในการรักษาไว้ให้คงอยู่
3. เพื่อเป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งภาครัฐและเอกชน |
1. ดำเนินการในวันสำคัญต่าง ๆ จำนวน 7 กิจกรรม
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ ข้าราชการลูกจ้าง เด็กและเยาวชน ประชาชน ผู้สูงอายุในพื้นที่เขตพญาไท |
500,000.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตพญาไท |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
40.00 |
38 |
7.0.1. |
.. |
2566 |
ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน |
การพัฒนาชุมชนเป็นกระบวนการเคลื่อนไหวไปสู่การเปลี่ยนแปลงเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนให้สามารถพึ่งพาและช่วยเหลือตนเองได้เป็นการยกระดับชุมชนให้ดีขึ้นรวมไปถึงสังคมที่พัฒนาตามมาด้วย |
1. ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเองได้
2. การจัดกิจกรรมด้านการพัฒนาชุมชนประสบความสำเร็จประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
3. ชุมชนรู้จักการบริหารจัดการและทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน จากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน |
ดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชนในการจัดกิจกรรมด้านพัฒนาชุมชนในพื้นที่เขตพญาไท จำนวน 22 ชุมชน |
1,680,000.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตพญาไท |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
30.00 |
39 |
7.0.1. |
.. |
2566 |
ค่าใช้จ่ายศูนย์ประสานงานธนาคารสมองของกรุงเทพมหานคร (พญาไท) |
เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าคุณประโยชน์ที่ผู้สูงอายุมีต่อสังคม รวมทั้งความรู้ความสามารถและส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิความรู้ประสบการณ์อันดีงามจากผู้อาวุโสสู่คนรุ่นใหม่ |
1. เป็นศูนย์กลางของการประสานและเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านผู้สูงอายุที่มีทั้งความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในสาขาต่าง ๆ อันจะนำมาช่วยงานของส่วนรวมและของกรุงเทพมหานคร
2. เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าและคุณประโยชน์ที่ผู้สูงอายุมีต่อสังคมโดยส่วนรวมและให้เกิดความเคารพยกย่องผู้สูงอายุ อันนำไปสู่แนวทางการลดปัญหาสังคม
3. เป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาที่มีอยู่แก่คนรุ่นหลัง |
ผู้สูงอายุได้รับการเชิดชูยกย่องภูมิปัญญาจำนวน 1 รายและถ่ายทอดภูมิปัญญาที่มีอยู่แก่คนรุ่นใหม่ |
10,000.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตพญาไท |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
10.00 |
40 |
7.0.1. |
.. |
2566 |
ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมกิจการสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร |
สำนักงานเขตพญาไทได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนเขตพญาไท เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานและขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่และสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกอย่างสอดคล้องกับความรู้ ความสามารถที่พัฒนาไปตามวัยเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำในการพัฒนากรุงเทพมหานคร |
1. สภาเด็กและเยาวชนเขตพญาไทมีความเข้มแข็งและยั่งยืน เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชนให้มีการแสดงออกในแนวทางที่เหมาะสม
2. ให้เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมสามารถพัฒนาระบบความคิดและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเพื่อเตรียมพร้อมในการเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าพัฒนากรุงเทพมหานครและประเทศไทยต่อไปในอนาคต |
เด็ก เยาวชนในพื้นที่เขตพญาไท ซึ่งมีความสนใจและขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกของสภาเด็กและเยาวชนในแต่ละสำนักงานเขต |
180,000.00 |
29,664.00 |
สำนักงานเขตพญาไท |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
30.00 |
41 |
7.0.1. |
.. |
2566 |
ดำเนินการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน |
กรุงเทพมหานครได้กำหนดให้ทุกหน่วยงานจัดหาวิธีการและรูปแบบใหม่ๆ ในการจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้หน่วยงานนำเสนอนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ นวัตกรรมเชิงนโยบาย นวัตกรรมการบริการ และนวัตกรรมการบริหาร/องค์กร |
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน |
สร้างนวัตกรรมเพื่อนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตวัฒนา |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตวัฒนา |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
10.00 |
รวม ->41 โครงการ |
0 |
0.00 |
0.00 |
0 |
0.00 |
0 |
0.00 |
0 |
0 |
0 |
0 |