ลำดับ |
ยุทธศาสตร์ 20 ปี |
แผนแม่บทไอที |
ปีงบประมาณ |
ชื่อโครงการ |
หลักการและเหตุผล |
วัตถุประสงค์โครงการ |
เป้าหมายโครงการ |
งบประมาณที่ได้รับ |
งบประมาณที่ใช้ไป |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
เริ่มโครงการ |
สิ้นสุดโครงการ |
สถานะโครงการ |
คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 |
4.0.1. |
.. |
2565 |
ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบบูรณาการภูมิสารสนเทศ (GI Platform) เพื่อการบริหารจัดการเมืองกรุงเทพมหานคร |
สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองเป็นองค์กรหลักด้านการวางและจัดทำผังเมือง เพื่อชี้นำการบริหารและพัฒนาเมืองไปสู่การปฏิบัติด้วยระบบผังเมืองที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยมีภารกิจหลักในการวางและจัดทำผังเมืองรวม แผนผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะแห่ง อนุรักษ์และฟื้นฟูโบราณสถาน การบังคับใช้กฎหมายผังเมืองและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นศูนย์เทคโนโลยีข้อมูลเมือง เพื่อการบริหารข้อมูลเมือง การให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศ การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำนักงานภูมิสารสนเทศได้จัดทำแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๔,๐๐๐ ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๕๐ เขต จัดเก็บข้อมูลทางกายภาพของกลุ่มข้อมูล เช่น ถนน อาคาร สถานที่ตั้ง ชื่อ และคำอธิบาย ประกอบกับจัดทำแผนที่แสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แต่โครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการจัดหาและปรับปรุงข้อมูลเท่านั้น ประกอบกับข้อมูลที่สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองมีอยู่เป็นจำนวนมาก และหลายช่วงเวลา เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเมือง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีระบบสารสนเทศที่รองรับการจัดการในรูปแบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันยังขาดทรัพยากรด้านเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล และโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่รองรับการให้บริการผ่านระบบเครือข่ายที่จะเกิดขึ้น ให้เพียงพอ และมีประสิทธิภาพในการให้บริการแก่หน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และบริการแก่หน่วยงานภายนอก
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการพัฒนาระบบบูรณาการภูมิสารสนเทศ (GI Platform) เพื่อการบริหารจัดการเมืองกรุงเทพมหานคร โดยจัดหาทรัพยากรในการรองรับการให้บริการข้อมูลแผนที่และภาพถ่ายความละเอียดสูงที่ได้จากโครงการที่สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองกำลังดำเนินการ สามารถให้บริการ การใช้และการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายแก่หน่วยงานภายในกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภายนอก รวมทั้งผู้ขอรับบริการข้อมูลอย่างเพียงพอต่อความต้องการใช้งาน รวมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลเมืองจากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อเป็นระบบข้อมูลกลางเพื่อการบริหารจัดการเมืองกรุงเทพมหานคร อันเป็นการสนับสนุนการดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองการบริหารจัดการมหานคร การบูรณาการ การให้บริการ เชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
1. เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีระบบบูรณาการภูมิสารสนเทศ (GI Platform) เพื่อการบริหารมหานคร การจัดทำและบริการข้อมูลเมือง สนับสนุนการดำเนินการวางและจัดทำผังเมือง และการบริหารจัดการมหานคร การบูรณาการ การให้บริการ เชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อปรับปรุงทรัพยากรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ให้รองรับกับข้อมูลที่สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองดำเนินการอยู่ |
พัฒนาระบบบูรณาการภูมิสารสนเทศ (GI Platform) พร้อมจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำหรับการจัดการข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพและสามารถขยายผลต่อไปในอนาคตได้ในระยะยาว (Longevity) |
26,600,000.00 |
26,220,500.00 |
สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
2 |
4.0.1. |
.. |
2565 |
โครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม |
คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองที่มีศักยภาพในการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ล้อ ราง เรือ ได้แก่ รถโดยสารประจำทาง เช่น สาย 171 (ปอ.) สาย 49 สาย 505 (ปอ.) สาย 511 (ปอ.) และ 53 ซึ่งเชื่อมเส้นทางมายังริม 2 ฝั่งคลอง มีเส้นทางสัญจรทางน้ำด้วยเรือโดยสารไฟฟ้าตามแนวคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือเทเวศร์ มายังสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง รวม 11 ท่าเรือ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 เขตได้แก่ เขตพระนคร เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตปทุมวัน โดยมีเรือด่วนเจ้าพระยาและเรือข้ามฟากบริเวณท่าเรือเทเวศร์ เรือโดยสารคลองแสนแสบซึ่งมาบรรจบกับเส้นทางเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษมบริเวณตลาดโบ๊เบ๊ และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีรถไฟหัวลำโพง และความยาวของคลองยังต่อเนื่องไปถึงพื้นที่ย่านตลาดน้อย ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือข้ามฟากสี่พระยา ในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ และเขตบางรัก แต่ทั้งนี้ ถนนและทางเท้าบริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษมบางช่วงมี สภาพชำรุดเสียหาย รวมทั้งมีการใช้พื้นที่เพื่อประกอบกิจกรรมการค้าขายบนทางเท้า ทำให้ศักยภาพในการใช้ประโยชน์พื้นที่ลดลง จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษมทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างทัศนียภาพสวยงาม ประชาชนสามารถเดินทางสัญจรได้อย่างสะดวก และปลอดภัย ตลอดแนวคลอง
ในปี 2552 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง (สำนักผังเมือง เดิม) ได้นำเสนอผลการศึกษาโครงการปรับปรุงฟื้นฟูย่านคลองผดุงกรุงเกษมทั้ง 2 ฝั่งคลอง ใน 5 บริเวณหลัก ได้แก่ ย่านตลาดเทวราชกุญชร ย่านวัดโสมนัสวรวิหารและย่านตลาดนางเลิ้ง ย่านตลาดสะพานขาวและบริเวณโรงหนังปารีส ย่านตลาดโบ๊เบ๊ และย่านหัวลำโพง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมให้สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและชุมชน และในปี 2563 กรุงเทพมหานครได้แต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงภูมิทัศน์และก่อสร้างทางจักรยานคลองผดุงกรุงเกษม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่ริมคลองให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการใช้งานสำหรับทุกคน (Universal Design) มีความสะดวก ปลอดภัย ในการเดินทาง พัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อน หย่อนใจการฟื้นฟู ส่งเสริม เอกลักษณ์ของแต่ละย่าน ที่มีความสำคัญ การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ต่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ รวมทั้ง การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งของชุมชน ในการดูแลรักษาพื้นที่ นอกจากนี้ สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ยังได้ดำเนินการศึกษาแผนการพัฒนาฟื้นฟูย่าน ตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมโยงกับแนวคลองผดุงเกรงเกษม
เพื่อต่อยอดการพัฒนาพื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม กรุงเทพมหานครจึงดำเนินการผลักดันการพัฒนาพื้นที่ตลอด 2 ฝั่งคลองอย่างบูรณาการรอบด้าน โดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางสัญจร และปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากศักยภาพเพื่อการสัญจรของพื้นที่ ในขณะเดียวกัน กรุงเทพมหานครต้องคำนึงถึงประชาชนริมคลอง โดยส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และ เห็นความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ อันจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาพื้นที่อย่างยั่งยืน |
1) เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่ตลอดแนวคลองผดุงกรุงเกษม
2) เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ประโยชน์ร่วมกันของประชาชนริมคลองผดุงกรุงเกษม
3) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนริมคลองผดุงกรุงเกษม |
1. จำนวนผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
2. มูลค่าทางเศรษฐกิจของพื้นที่/ราคาประเมินที่ดินเพิ่มขึ้น 3. รายได้เฉลี่ยของประชาชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น |
0.00 |
0.00 |
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
40.00 |
3 |
4.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมการลงจุดแสดงตำแหน่งพื้นที่ที่อนุญาตให้มีการก่อสร้างอาคาร |
ตำแหน่งพื้นที่ที่อนุญาตให้มีการก่อสร้างอาคาร หมายถึง ตำแหน่งผู้ยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามแบบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคารระบุไว้ในคำร้องขอ และได้รับการอนุญาตให้มีการก่อสร้างตามคำร้องขอ |
ลงจุดแสดงตำแหน่งผู้ยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามแบบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคารระบุไว้ในคำร้องขอ และได้รับการอนุญาตให้มีการก่อสร้างตามคำร้องขอ |
ลงจุดแสดงตำแหน่งผู้ยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามแบบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคารระบุไว้ในคำร้องขอ และได้รับการอนุญาตให้มีการก่อสร้างตามคำร้องขอ |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตสวนหลวง |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
4 |
4.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมการลงจุดแสดงตำแหน่งอาคารที่มีการออกเลขรหัสประจำบ้าน ที่บ้านตามระบบการรายงานผลการออกเลขรหัสประจำบ้านของสำนักผังเมือง |
1. เพื่อสะดวกต่อการค้นหาในการให้บริการประชาชน
2.เพื่อให่การออกเลขหมายประจำบ้านเป็นปัจจุบัน |
เพื่อลงจุดแสดงตำแหน่งเลขหมายประจำบ้านที่เป็นปัจจุบัน และสะดวกต่อการค้นหาในการให้บริการประชาชน |
มีการลงจุดแสดงตำแหน่งเลขหมายประจำบ้านที่เป็นปัจจุบัน สะดวกต่อการค้นหาในการให้บริการประชาชน |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตสวนหลวง |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
รวม ->4 โครงการ |
0 |
0.00 |
0.00 |
0 |
0.00 |
0 |
0.00 |
0 |
0 |
0 |
0 |