ลำดับ |
ยุทธศาสตร์ 20 ปี |
แผนแม่บทไอที |
ปีงบประมาณ |
ชื่อโครงการ |
หลักการและเหตุผล |
วัตถุประสงค์โครงการ |
เป้าหมายโครงการ |
งบประมาณที่ได้รับ |
งบประมาณที่ใช้ไป |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
เริ่มโครงการ |
สิ้นสุดโครงการ |
สถานะโครงการ |
คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 |
1.0.1. |
.. |
2565 |
โครงการปรับปรุงถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก ช่วงจากถนนพุทธมณฑลสาย 3 ถึงซอยทวีวัฒนา - กาญนาภิเษก 30 พื้นที่เขตทวีวัฒนา (โครงการต่อเนื่องปี 64) |
ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก ช่วงจากถนนพุทธมณฑลสาย 3
ถึงซอยทวีวัฒนา - กาญจนาภิเษก 30 พื้นที่เขตทวีวัฒนา ผิวจราจรเดิมเป็นแอสฟัลต์ กว้างประมาณ 6.00 ม. มีไหล่ทางเป็นหินคลุก กว้างข้างละ 1.00 ม. มีเขตทางกว้างประมาณ 13.50-16.00 ม. ความยาวของถนนประมาณ 2,500 ม. ปัจจุบันผิวจราจรแอสฟัลต์ของถนนดังกล่าวชำรุด ทรุดตัว จากการใช้งานมานาน ต้องใช้งบประมาณในการบำรุงรักษาเป็นจำนวนมาก และได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมปี พ.ศ. 2554 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเนื่องจากถนนดังกล่าวไม่มีท่อระบายน้ำ ขณะเกิดฝนตกหนัก มีน้ำท่วมขังสูง ประชาชนสัญจรด้วยความลำบาก เป็นเส้นทางลัดเชื่อมระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 3 กับถนนทวีวัฒนา จึงเสนอวิธีแก้ปัญหาด้วย การปรับปรุงผิวทาง และปรับปรุงระบบระบายน้ำ |
- ปัจจุบันผิวจราจรแอสฟัลต์ของถนนดังกล่าว ชำรุด ทรุดตัว จากการใช้งานมานาน ต้องใช้งบประมาณในการบำรุงรักษาเป็นจำนวนมาก และได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมปี พ.ศ. 2554
- เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเนื่องจากถนนดังกล่าวไม่มีท่อระบายน้ำ ขณะเกิดฝนตกหนักมีน้ำท่วมขังสูง ประชาชนสัญจรด้วยความลำบาก
- เป็นเส้นทางลัดเชื่อมระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 3 กับถนนทวีวัฒนา |
- ทำการยกระดับถนนเพิ่มขึ้นประมาณ 0.60 ม. จาก ระดับถนนเดิม
- สร้างท่อระบายน้ำ ค.ส.ล. ขนาด ø 1.00 ม. พร้อมบ่อพัก
- สร้างทางเท้ากระเบื้องซีเมนต์อัดแรง ขนาด0.30x0.30x0.035 กว้างประมาณ 2.25 ม.
- สร้างกำแพงกันดิน
- สร้างพื้นทางหินคลุก หนา 0.30 ม.
- ถมทรายขยายคันทาง
- ปรับปรุงผิวจราจรเป็น ค.ส.ล. หนา 0.25 ม. กว้าง 9.00 ม.
- ปรับปรุงและขยายสะพานข้ามคลอง ค.ส.ล. จำนวน 5 แห่ง |
98,510,000.00 |
78,246,619.00 |
สํานักการโยธา |
2021-10-01 00:00:00 |
2021-12-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
2 |
1.0.1. |
.. |
2565 |
กิจกรรมการจัดทำฐานข้อมูลอาคารที่ยื่นขอรับใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (แบบ ร.1) |
ตรวจสอบและดำเนินการกับอาคาร ที่ถูกประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง |
การตรวจสอบอาคาร คือ การตรวจสอบสภาพอาคารด้านความมั่นคงแข็งแรง และระบบอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร โดยผู้ตรวจสอบอาคารตามมาตร 32 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้ใช้ประโยชน์อาคาร อาคารที่ต้องตรวจสอบตามกฎหมาย 9 ประเภท ได้แก่ 1. อาคารสูง 2. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ 3. อาคารชุมนุมคน 4. โรงมหรสพ 5. โรงแรม 6. สถานบริการ 7. อาคารอยู่อาศัยรวม 8. โรงงาน 9. ป้าย |
การตรวจสอบอาคาร คือ การตรวจสอบสภาพอาคารด้านความมั่นคงแข็งแรง และระบบอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร โดยผู้ตรวจสอบอาคารตามมาตร 32 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้ใช้ประโยชน์อาคาร อาคารที่ต้องตรวจสอบตามกฎหมาย 9 ประเภท ได้แก่ 1. อาคารสูง 2. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ 3. อาคารชุมนุมคน 4. โรงมหรสพ 5. โรงแรม 6. สถานบริการ 7. อาคารอยู่อาศัยรวม 8. โรงงาน 9. ป้าย |
0.00 |
0.00 |
สํานักการโยธา |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
3 |
1.0.1. |
.. |
2565 |
การซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำและเครื่องจักรกล (กคจ.) |
กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการติดตั้งและตรวจสอบเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ โดยใช้เครื่องจักรกลและเครื่องทุ่นแรงต่างๆ เพื่อรองรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จึงส่งผลให้เกิดการชำรุดเสียหายจากการใช้งาน |
เพื่อซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องจักรกล ให้มีความพร้อมในการนำไปใช้ปฏิบัติงานตลอดเวลา และสำรองเปลี่ยนทดแทนกรณีชำรุดเสียหาย |
การซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องจักรกล เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ |
0.00 |
0.00 |
สํานักการระบายน้ำ |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
4 |
1.0.1. |
.. |
2565 |
การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำแก่สำนักงานเขต (กคจ.) |
กรุงเทพมหานครได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่องรวมถึงรูปแบบการใช้ที่ดินเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งระบบระบายน้ำและการป้องกันน้ำท่วมเดิมไม่สามารถรองรับได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมทวีความรุนแรงขึ้น |
เพื่อให้การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์แก่สำนักงานเขตต่าง ๆ ติดตั้งใช้งานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ที่สำนักงานเขตรับผิดชอบ |
การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์เป็นไปตามแผนการสนับสนุนประจำปี |
0.00 |
0.00 |
สํานักการระบายน้ำ |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
5 |
1.0.1. |
.. |
2565 |
โครงการจัดทำและพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำเชิงรุก (โครงการต่อเนื่อง) (กสน.) |
กองสารสนเทศระบายน้ำ ซึ่งเป็นส่วนราชการที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับภารกิจด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จึงได้จัดทำ โครงการจัดทำและพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำเชิงรุก เพื่อเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร สนับสนุนการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์ของผู้บริหารและบุคลากร มารวบรวมในระบบที่ผู้บริหารและบุคลากรทุกคน สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ และยังเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับภารกิจที่รับผิดชอบ |
เพื่อให้มีระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร สนับสนุนการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ |
มีระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร สนับสนุนการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ |
67,955,000.00 |
17,843,250.00 |
สํานักการระบายน้ำ |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
6 |
1.0.1. |
.. |
2565 |
โครงการพัฒนาระบบประเมินปริมาณฝนและพยากรณ์ฝนล่วงหน้าโดยใช้ข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ (กสน.) |
สำนักการระบายน้ำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการนำเครื่องมือที่มีอยู่เดิมมาพัฒนาเพิ่มเติมให้ครบสมบูรณ์ มีความทันสมัย สามารถรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับใช้ในการควบคุม ติดตาม คาดการณ์ และโต้ตอบ (Control-Monitor-Forecast-Interact) อันจะส่งผลให้ระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วมขังให้แก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครได้อย่างยั่งยืน ฝนที่ตกหนักเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนั้นในการบริหารจัดการน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีข้อมูลการประเมินฝนและการพยากรณ์ฝนที่มีความถูกต้องแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบายน้ำ รวมทั้งเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำท่วม
เทคนิคการสำรวจระยะไกลด้วยเรดาร์ตรวจอากาศได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพื่อนำมาใช้ในการตรวจวัดฝน เนื่องจากเรดาร์ตรวจอากาศสามารถให้ข้อมูลรายละเอียดของฝนครอบคลุมพื้นที่ที่อยู่ภายใต้รัศมีของเรดาร์และสามารถทำการตรวจวัดฝนได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถให้ความละเอียดของข้อมูลฝนในเชิงพื้นที่ได้ละเอียดถึง o.๕ x o.๕ ตารางกิโลเมตร และสามารถตรวจวัดข้อมูลฝนได้ทุกๆ ๕ นาที ข้อมูลตรวจวัดฝนจากเรดาร์ยังสามารถนำมาใช้ได้ในทันทีหรือมีฝนตก นอกจากนี้ข้อมูลที่วัดได้จากเรดาร์ยังมีศักยภาพเพียงพอที่จะถูกนำไปใช้ในการพยากรณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมง (Nowcasting) ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำท่วมได้ในลำดับต่อไป |
๑. เพื่อจัดทำระบบประเมินน้ำฝนและการพยากรณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมง (Nowcasting) ด้วยเรดาร์ตรวจอากาศ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้ข้อมูลจากเรดาร์ ๒ สถานีร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วยสถานีเรดาร์หนองจอก และสถานีเรดาร์หนองแขม โดยวิธี Composite Radar Reflectivity ให้สามารถประเมินข้อมูลฝนเชิงพื้นที่ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครได้
๒ เพื่อเชื่อมโยงระบบการประเมินน้ำฝนและการพยากรณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมง เข้ากับระบบบริหารจัดการน้ำท่วมของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมแบบ Realtime เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำท่วม การประชาสัมพันธ์และการเตือนภัยล่วงหน้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |
๑ การประยุกต์ใช้ข้อมูลตรวจวัดปริมาณฝนด้วยเรดาร์ตรวจอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
๒ มีระบบประเมินปริมาณฝนและคาดการณ์ฝนล่วงหน้า๑-๓ ชั่วโมงที่มีความแม่นยำ น่าเชื่อถือ และได้มาตรฐานในระดับสากล |
0.00 |
0.00 |
สํานักการระบายน้ำ |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
ไม่ได้รับงบประมาณ |
1.00 |
7 |
1.0.1. |
.. |
2565 |
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร (กสน.) |
ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร จะทำหน้าที่ในด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการระบายน้ำ และการป้องกันน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยประกอบด้วย “สถานีแม่ข่าย” (Master Station) ซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้น 6 ของอาคารสำนักการระบายน้ำ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง และ “สถานีเครือข่าย” (Monitoring Station) กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ตามสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ บางแห่ง คลองสายหลักต่าง ๆ และสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต การทำงานของระบบควบคุมการทำงานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ระบบ SCADA ซึ่งมีระบบตรวจวัดข้อมูลระยะไกล และส่งข้อมูลมายังศูนย์กลางอัตโนมัติ
จากประเมินสถานการณ์ในการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกับระบบตรวจวัดข้อมูลด้านต่าง ๆ ของสถานีเครือข่ายศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร พบว่าระบบตรวจวัดข้อมูลยังไม่ครอบคลุมในสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ซึ่งเป็นระบบหลักและสำคัญในการควบคุมและระบายน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีเพียง 75 แห่ง จึงเห็นควรขยายขีดความสามารถของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมสถานีสูบน้ำและประตู ระบายน้ำที่เป็นจุดสำคัญ และเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบควบคุมระบบของศูนย์ควบคุมระบบป้องกัน น้ำท่วมกรุงเทพมหานคร เพื่อให้สามารถรับทราบสถานการณ์การทำงานรวมถึงรองรับการควบคุมการทำงานของสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำได้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวัดข้อมูลของสถานีเครือข่ายเดิม โดยติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดข้อมูลเพิ่มเติม และพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน |
1 ขยายขีดความสามารถของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ให้ครอบคลุมสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำหลักที่สำคัญในการควบคุมน้ำ
2 เพิ่มประสิทธิภาพระบบตรวจวัดข้อมูลของสถานีเครือข่ายเดิมของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครให้มีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ในทุกด้าน
3 เพิ่มประสิทธิภาพระบบการควบคุมและบริหารสั่งการของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร |
- มีระบบตรวจสอบ ควบคุมและบริหารจัดการสถานีสูบน้ำ และประตูระบายน้ำหลักเพื่อควบคุมน้ำและป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ- ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครมีขีดความสามารถในการบริหารจัดการ ควบคุมน้ำและมีข้อมูลที่ครบถ้วน สมบูรณ์ และครอบคลุมระบบระบายน้ำหลัก เพื่อการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ - ติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำในคลองเปรมประชากร คลองสอง คลองแสนแสบ คลองประเวศบุรีรมย์ คลองภาษีเจริญ คลองพระยาราชมนตรี คลองสนามชัยและแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 10 จุด |
0.00 |
0.00 |
สํานักการระบายน้ำ |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
ไม่ได้รับงบประมาณ |
1.00 |
8 |
1.0.1. |
.. |
2565 |
โครงการพัฒนาระบบตรวจสอบและควบคุมเครื่องสูบน้ำอัตโนมัติพื้นที่จุดเสี่ยงน้ำท่วม (กสน.) |
ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครอันเนื่องจากฝนตกในพื้นที่เป็นปัญหาใหญ่ และก่อให้เกิดปัญหาด้านอื่น ๆ ตามมา เช่น ด้านการจราจร ด้านความปลอดภัย ซึ่งปัญหาน้ำรอการระบายในหลายพื้นที่เกิดบ่อยครั้งแม้ปริมาณฝนไม่มากจนกลายเป็นจุดเสี่ยงที่ต้องมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพื่อบรรเทาปัญหาด้านต่าง ๆ จำเป็นต้องเร่งการแก้ไขปัญหาให้คลี่คลายให้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณพื้นที่จุดเสี่ยงน้ำท่วมได้ใช้ระบบพื้นที่ปิดล้อมเพื่อแก้ไขปัญหาและการระบายน้ำที่ท่วมออกจากพื้นที่อาศัยเครื่องสูบน้ำตามบ่อสูบน้ำต่างๆ ในพื้นที่ปิดล้อมเป็นหลักเพื่อสูบระบายน้ำจากจุดน้ำท่วมไปลงสู่คลองและใช้คลองลำเลียงน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา การเปิดเดินเครื่องสูบน้ำ เพื่อเร่งการระบายน้ำบริเวณน้ำท่วมปัจจุบันใช้เจ้าหน้าที่เฝ้าประจำเครื่องสูบน้ำทุกจุดตลอด 24 ชั่วโมง การตรวจสอบการเดินเครื่องสูบน้ำและการสั่งการเดินเครื่องสูบน้ำต้องประสานและสั่งให้เจ้าหน้าที่ที่ประจำ ทำการเดินเครื่องโดยใช้ระบบโทรศัพท์และวิทยุสื่อสารซึ่งการติดต่อประสานงานเพื่อสั่งการ ปัจจุบันการประสานสั่งการมีอุปสรรคในบางครั้งที่ไม่สามารถติดต่อหรือสั่งการไปยังเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องสูบน้ำได้ เป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเกิดความล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์
จึงมีแนวคิดจัดหาระบบเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพกรณีดังกล่าว โดยจัดทำโครงการระบบตรวจและควบคุมเครื่อง สูบน้ำอัตโนมัติพื้นที่จุดเสี่ยงน้ำท่วม โดยติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นในการตรวจสอบสถานะเครื่องสูบน้ำ ระบบควบคุมการเปิดเดินเครื่องสูบน้ำระยะไกล และระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในการตรวจดูสภาพความพร้อมของระบบต่าง ๆ ที่บ่อสูบน้ำ ระบบดังกล่าวจะเชื่อมโยงข้อมูลเข้ามาที่ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมหรือส่วนกลาง ซึ่งทำให้รับทราบสถานการณ์หรือสถานะการทำงานของบ่อสูบน้ำได้ตลอดเวลา รวมถึงระบบสามารถสั่งเปิดเดินเครื่องสูบน้ำได้จากส่วนกลางตามสถานการณ์ฝนหรือน้ำท่วม จะทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาได้รวดเร็วทันต่อสถานการณ์ |
- เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ในการสนับสนุนการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
- เพื่อสำรวจติดตั้งอุปกรณ์สำหรับตรวจสอบการทำงานของเครื่องสูบน้ำและความพร้อมของบ่อสูบน้ำ สถานีสูบน้ำในพื้นที่จุดเสี่ยงและจุดเฝ้าระวังน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
- เพื่อจัดทำระบบการตรวจสอบและควบคุมเครื่องสูบน้ำระยะไกล ในการควบคุมและสั่งเปิดเดินเครื่องสูบน้ำจากส่วนกลาง
- เพื่อรับทราบสถานการณ์ปัจจุบันของเหตุการณ์บริเวณบ่อสูบหรือสถานีสูบน้ำได้เพื่อประเมินและวางแผนการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว |
- จุดเสี่ยงทุกจุดมีระบบตรวจสอบการทำงานของเครื่องสูบน้ำ ที่สามารถตรวจสอบได้จากส่วนกลางได้ทันทีและตลอดเวลา
- มีระบบการควบคุมและสั่งการระยะไกล สามารถสั่งเปิดเดินเครื่องสูบน้ำได้ทันทีจากส่วนกลาง
- ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) แบบ ๒ Mega Pixel Fix Hybrid Camera ชนิด Day/Night Mode จำนวน 80 กล้อง |
0.00 |
0.00 |
สํานักการระบายน้ำ |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
ไม่ได้รับงบประมาณ |
1.00 |
9 |
1.0.2. |
.. |
2565 |
โครงการส่งเสริมการแปรรูปมูลฝอยอินทรีย์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ |
กรุงเทพมหานคร ได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนลดและแยกมูลฝอย โดยการนำมูลฝอยอินทรีย์กลับมาใช้ประโยชน์ โดยการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและร่วมมือในการคัดแยกมูลฝอยออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขยะมูลฝอยทั่วไป ขยะสดที่ย่อยสลายได้ ขยะที่ยังใช้ได้หรือขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย สำนักงานเขตบางคอแหลม โดยฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการแปรรูปมูลฝอยอินทรีย์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณมูลฝอยประเภทเศษอาหารและเศษผักผลไม้ โดยนำมาแปรสภาพให้เป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์หรือเป็นอาหารสัตว์ ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณมูลฝอยเศษอาหารและเศษผักผลไม้ที่กรุงเทพมหานครต้องจัดเก็บและทำลาย และช่วยประหยัดงบประมาณของกรุงเทพมหานคร |
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่เขตบางคอแหลม มีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะเศษอาหาร และเศษผักผลไม้ โดยนำมาทำน้ำหมักจุลินทรีย์ สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก
2 เพื่อก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด
3 เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยอินทรีย์ และลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร |
1 ดำเนินการสาธิตการจัดการมูลฝอยให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนเอกชนในพื้นที่เขตบางคอแหลม ดำเนินการอย่างน้อยกลุ่มเป้าหมายละ 1 แห่ง
2 ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณมูลฝอย ร้อยละ 10 ต่อปี เป็นส่วนหนึ่งของปริมาณที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดและนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560
3 ประชาชนสามารถนำเศษอาหาร เศษผักผลไม้มาทำเป็นน้ำหมักจุลินทรีย์เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ในชุมชน และในครัวเรือนได้ |
50,000.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตบางคอแหลม |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
10 |
1.0.2. |
.. |
2565 |
โครงการค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการแปรรูปมูลฝอยอินทรีย์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ |
กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของความเจริญทางด้านเศรษฐกิจการค้าของประเทศ ทำให้ มีประชากรจากต่างถิ่นต่างพื้นที่เข้ามาพักอาศัยและประกอบอาชีพกันอย่างหนาแน่น จึงส่งผลให้มีปริมาณ มูลฝอยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันมีปริมาณมูลฝอยที่จัดเก็บได้ประมาณ 10,500 ตัน/วัน ซึ่งหากไม่มีมาตรการจัดการที่ดีก็จะส่งผลให้ปริมาณมูลฝอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษได้ และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครในการลดปริมาณมูลฝอยการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นมหานครแห่งสิ่งแวดล้อม
สำนักงานเขตสวนหลวง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการแปรรูปมูลฝอยอินทรีย์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนลดและแยกมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดและเห็นความสำคัญของ การนำวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก โดยการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมและร่วมมือในการคัดแยกมูลฝอยออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ขยะสดที่ย่อยสลายได้ เช่น ขยะเศษอาหารจากครัวเรือน เศษผัก เปลือกผลไม้ ฯลฯ
2. ขยะยังใช้ได้หรือขยะรีไซเคิล เช่น กระดาษ ขวดพลาสติก แก้ว ฯลฯ
3. ขยะอันตราย เป็นขยะที่ก่อให้เกิดสารพิษและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น แบตเตอรี่ หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องยาฆ่าแมลง กระป๋องสีสเปรย์ ฯลฯ |
2.1 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณมูลฝอยอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ โดยนำมาใช้ประโยชน์ เช่น หมักทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ นำไปเลี้ยงสัตว์ หมักทำปุ๋ยอินทรีย์ นำไปเลี้ยงไส้เดือน
2.2 เพื่อลดปริมาณมูลฝอยประเภทเศษอาหารที่กรุงเทพมหานครต้องกำจัดและทำลาย
2.3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาสชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด |
ส่งเสริมให้ประชาชนนำมูลฝอยอินทรีย์กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ โดยดำเนินการในกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
3.1 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 แห่ง
- โรงเรียนวัดใต้
- โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
- โรงเรียนวัดปากบ่อ
- โรงเรียนสุเหร่าใหม่
- โรงเรียนหัวหมาก
- โรงเรียนคลองกลันตัน
- โรงเรียนวัดทองใน
- โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
3.2 สถาบันการศึกษา จำนวน 1 แห่ง
- สถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น
3.3 โรงเรียนเอกชน จำนวน 2 แห่ง
- โรงเรียนมูลนิธิวัดปากบ่อ
- โรงเรียนวัดมหาบุศย์
3.4 ชุมชนในพื้นที่ จำนวน 4 แห่ง
- ชุมชนสวนหลวงก้าวหน้า
- ชุมชนมิตรไมตรี
- ชุมชนธรรมานุรักษ์
- ชุมชนริมคลองหัวหมากใหญ๋
3.5 ตลาด จำนวน 1 แห่ง
- ตลาดเอี่ยมสมบัติ3.6 ประชาชนผู้สนใจทั่วไป |
50,000.00 |
50,000.00 |
สำนักงานเขตสวนหลวง |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
11 |
0.0.0. |
.. |
2565 |
โครงการบูรณาการผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยเชิงพื้นที่ |
กรุงเทพมหานครเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของประเทศไทย และเป็นศูนย์รวมของความเจริญในทุกด้าน ไม่ว่าด้านการปกครอง การทหาร การเศรษฐกิจและการคลัง การคมนาคมขนส่ง การศึกษา การแพทย์และสาธารณสุข การท่องเที่ยว จนมีผู้กล่าวว่า “กรุงเทพมหานคร คือ ประเทศไทย” ประกอบกับ มีการอพยพหลั่งไหลของประชาชนจากทั่วทุกสารทิศเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพ หรือแสวงหาโอกาสในด้านต่างๆ จากการเป็นศูนย์รวมของความเจริญและมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นดังกล่าว กรุงเทพมหานครจึงเป็นมหานครที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับปัญหาด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาจากการก่ออาชญากรรมที่นับวันจะมีแนวโน้มทวีความรุนแรง มีความซับซ้อน และมีจำนวนสถิติการเกิดเหตุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุข ของประชาชนและถือเป็นภัยอันรุนแรงของสังคม
สำนักงานเขตสวนหลวง เป็นหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ให้บริการสาธารณะเกี่ยวกับการส่งเสริมและดูแลให้ประชาชนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและเป็นปกติสุข ซึ่งรวมไปถึงการดูแลและส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากปัญหาอาชญากรรม โดยบทบาทหน้าที่ที่สำคัญ ในการป้องกันปัญหาดังกล่าว คือ การดูแลและปรับแก้ไขสภาพแวดล้อม การดูแลและติดตั้งอุปกรณ์ส่งเสริมความปลอดภัยต่างๆ รวมไปถึงการจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจตราความเรียบร้อยของพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มีความล่อแหลมหรือมีสถิติการเกิดอาชญากรรมบ่อยครั้ง เพื่อเป็นการป้องปราม และตัดโอกาสหรือลดช่องทางในการก่ออาชญากรรม ทั้งนี้ โดยการบูรณาการประสานความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานเขตสวนหลวง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน และประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สำนักงานเขตสวนหลวงจึงได้จัดทำโครงการบูรณาการผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยเชิงพื้นที่ |
9.1 ประชาชนมีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตในพื้นที่เขตสวนหลวง
9.2 ประชาชนมีความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
9.3 สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อหน่วยงานสำนักงานเขตสวนหลวงและองค์กรกรุงเทพมหานคร รวมถึงสร้างความสัมพันธ์และความรู้สึกที่ดีระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตสวนหลวง |
จัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจจุดเสี่ยงวันละ 2 ครั้ง/จุด |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตสวนหลวง |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
12 |
1.0.5. |
.. |
2565 |
ค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย |
|
1. เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะสถานที่ของสถานประกอบการอาหาร
2. เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร
3. เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึก และความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องอาหารปลอดภัย4. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย |
1. ร้อยละของสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เท่ากับหรือมากกว่า ร้อยละ 30
2. ร้อยละของสถานประกอบการอาหารมีมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 (COVID-19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขเท่ากับร้อยละ 100 |
80,900.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตหลักสี่ |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
รวม ->12 โครงการ |
0 |
0.00 |
0.00 |
0 |
0.00 |
0 |
0.00 |
0 |
0 |
0 |
0 |