• 001 : กรุงเทพฯ ต้องสว่าง 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :เพิ่มสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร ปลอดภัยต่อการเดินทางสัญจรในเวลากลางคืนให้คนกรุงเทพฯ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- เปิดรับรายงานปัญหาแสงสว่างผ่านฟองดูว์ จากภาคประชาชน และเจ้าหน้าที่ภาคสนามของกทม. - เร่งรัดประสานงานกับการไฟฟ้านครหลวง และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลปัญหาแสงสว่าง - ประสานงานกับการไฟฟ้านครหลวงในการติดตั้งไฟส่องสว่างเพิ่มเติม ในพื้นที่ที่มืด - พิจารณารูปแบบไฟส่องสว่างแบบโคมปิดครอบด้านบน ป้องกันแสงรบกวนผู้อยู่อาศัย นก แมลง และสัตว์ป่าอื่นๆ ในเมืองที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ตัวชี้วัด จำนวนดวงไฟในการติดตั้ง/ซ่อมแซมไฟฟ้าตามแผนที่กำหนด กทม. จะช่วยดูแลร่วมกันดูแลความพร้อมและสภาพความสมบูรณ์ของไฟแสงสว่าง และเป็นเจ้าภาพในการประสานงาน เพื่อสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง และการใช้ชีวิตในเมืองของคนกรุงเทพ โดย 1. เปิดรับรายงานปัญหาแสงสว่างผ่านฟองดูว์ จากภาคประชาชน และเจ้าหน้าที่ภาคสนามของกทม. 2. เร่งรัดประสานงานกับการไฟฟ้านครหลวง และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลปัญหาแสงสว่าง 3. ประสานงานกับการไฟฟ้านครหลวงในการติดตั้งไฟส่องสว่างเพิ่มเติม ในพื้นที่ที่มืด 4. พิจารณารูปแบบไฟส่องสว่างแบบโคมปิดครอบด้านบน ป้องกันแสงรบกวนผู้อยู่อาศัย นก แมลง และสัตว์ป่าอื่นๆ ในเมืองที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้

    5.เป้าหมาย :ดวง : 10000

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 002 : กรุงเทพฯพื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง (สต รีทโชว์) 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สวท. // หน่วยงานสนับสนุน สสล., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :ได้ชมงานแสดงดนตรี ศิลปะการแสดง ฯลฯ ได้รับความสุนทรีนอกบ้านในทุก ๆ วันที่มากกว่าการชมโฆษณาระหว่างทาง ส่งเสริมให้ศิลปินหน้าใหม่มีพื้นที่แสดงผลงาน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :เปิดสวนสาธารณะหลักและรองที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานสวนสาธารณะและสำนักงานเขตทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ส่วนต่อขยาย) รถไฟฟ้าสายสีทอง สกายวอล์ก และป้ายรถเมล์ทั่วกรุงเทพฯ ให้สามารถจัดแสดงงานศิลปะทุกแขนง โดยเฉพาะดนตรีและศิลปะการแสดง (สตรีทโชว์) ให้ศิลปินได้แสดง ได้นำเสนอนำร่องในพื้นที่ที่มีปริมาณผู้คนใช้งานสูง ก่อนจะขยายผลออกสู่วงกว้างเพื่อใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการเดินท่องเที่ยวภายในกรุงเทพฯ โดยกำหนดให้พื้นที่ชั้นในเป็นโอกาสของศิลปินหน้าใหม่ สร้างช่องทางลงทะเบียนออนไลน์ สะดวก ลดขั้นตอน และการประชาสัมพันธ์ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ร่วมมือกับเครือข่ายสื่อ เครือข่ายศิลปิน เพื่อประชาสัมพันธ์สถานที่ เวลา ศิลปิน รวมถึงประชาสัมพันธ์ในช่องทางปฏิทินและแผนที่จัดแสดงงาน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :เป้าประสงค์ คนกรุงเทพฯ - ได้ชมงานแสดงดนตรี ศิลปะการแสดง ฯลฯ ได้รับความสุนทรีนอกบ้านในทุก ๆ วันที่มากกว่าการชมโฆษณาระหว่างทาง - ส่งเสริมให้ศิลปินหน้าใหม่มีพื้นที่แสดงผลงาน จำนวนครั้งที่มีการจัดแสดงดนตรี หรือศิลปะการแสดง (สตรีทโชว์) ในพื้นที่สาธารรณะ ทุกสัปดาห์ โดย อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 มาตรา 14 “ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตพื้นที่ประกาศเป็นการทั่วไปเพื่อกำหนดเขตพื้นที่หรือสถานที่ใดอันเป็นที่สาธารณะ วันเวลา การใช้อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใด ให้ใช้ในการแสดงความสามารถ” โดย - เปิดสวนสาธารณะหลักและรองที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานสวนสาธารณะและสำนักงานเขตทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ส่วนต่อขยาย) รถไฟฟ้าสายสีทอง สกายวอล์ก และป้ายรถเมล์ทั่วกรุงเทพฯ ให้สามารถจัดแสดงงานศิลปะทุกแขนง โดยเฉพาะดนตรีและศิลปะการแสดง (สตรีทโชว์) ให้ศิลปินได้แสดง ได้นำเสนอ - นำร่องในพื้นที่ที่มีปริมาณผู้คนใช้งานสูง ก่อนจะขยายผลออกสู่วงกว้างเพื่อใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการเดินท่องเที่ยวภายในกรุงเทพฯ โดยกำหนดให้พื้นที่ชั้นในเป็นโอกาสของศิลปินหน้าใหม่ สร้างช่องทางลงทะเบียนออนไลน์ สะดวก ลดขั้นตอน และการประชาสัมพันธ์ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ร่วมมือกับเครือข่ายสื่อ เครือข่ายศิลปิน เพื่อประชาสัมพันธ์สถานที่ เวลา ศิลปิน รวมถึงประชาสัมพันธ์ในช่องทางปฏิทินและแผนที่จัดแสดงงาน - พิจารณาเสนอปรับแก้ประกาศและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่ในความรับผิดชอบของ กทม.ให้สามารถแสดงดนตรีและศิลปะแขนงต่าง ๆ ได้ทั้งเพื่อการไม่หารายได้และหารายได้ ตัวชี้วัด จำนวนครั้งของการจัดกิจกรรมดนตรีและศิลปะการแสดง(สตรีทโชว์) เป้าหมาย 48 ครั่้ง/ปี

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 12

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 003 : เพิ่มรถเมล์สายหลักและรอง ราคาถูกราคาเดียว 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :รถเมล์ครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้นทั้งสายหลักและสายรอง โดยมี กทม.เป็นผู้ดำเนินการ - ส่วนลดหรือไม่เสียค่าแรกเข้าเพิ่ม หากเชื่อมต่อ BRT และรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีทอง - รถเมล์ใหม่ ชานต่ำ ปรับอากาศ ควันไม่ดำ - มี GPS เช็กตำแหน่งรถได้

    3.กทม.จะทำอย่างไร :เพิ่ม / ปรับเส้นทางวิ่งรถสาธารณะ 1. พัฒนารถเมล์สายรอง feeder เชื่อมต่อระบบหลัก โดยเริ่มจากเส้นทางที่เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสีทองและ BRT ส่วนเส้นทางที่มีผู้ประกอบการเดิมจะพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเดิมก่อน 2. พัฒนาการเดินรถในเส้นทางหลัก (Main Line/Trunk) สำหรับส่วนที่ยังไม่มีการเดินรถ 3. พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในการเดินทางระดับย่านให้เส้นทางครอบคลุมยิ่งขึ้น 4. พิจารณาเส้นทางจากโครงการปฏิรูปรถเมล์ 269 เส้นทาง 5. พิจารณา “รถเมล์ Event” รถเมล์เฉพาะกิจที่ให้บริการเฉพาะเวลามี Event หรือมีกิจกรรมขนาดใหญ่ เพื่อพาคนเดินทางกลับบ้านหลังงานเลิกอย่างสะดวก พาประชาชนไปเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะหลัก หรือการกระจายคนออกไปจุดต่าง ๆ ลดการกระจุกตัวอยู่หน้าสถานที่จัดงาน ลดการจราจรติดขัด ลดค่าใช้จ่าย 1. ตั้งเป้าค่ารถเมล์ กทม. 10 บาท ตลอดสาย เด็กนักเรียน ผู้สูงอายุ คนพิการ และนักบวชฟรี 2. พัฒนาระบบรถเมล์ที่ใช้ e-ticket สามารถเปลี่ยนรถเมล์ของ กทม.ได้ในเวลาที่กำหนด โดยไม่เสียค่าโดยสารเพิ่ม 3. ผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ที่บริหารจัดการโดย กทม.และต่อด้วยระบบหลักที่ กทม.เป็นเจ้าของ ไม่ต้องเสียค่าแรกเข้าเพิ่ม เพิ่มความสะดวก 1. รถชานต่ำ Universal Design รถปรับอากาศ ใช้พลังงานไฟฟ้า 2. รถขนาดเหมาะสมกับพื้นที่และเส้นทาง หากเป็น feeder ตรอกซอกซอย ขนาดรถต้องไม่เกิน 6 - 7 เมตร 3. เปิดสัญญาณ GPS เป็น open data เพื่อให้ประชาชนวางแผนการเดินทางจากได้แอพพลิเคชั่น เบื้องต้นจะพิจารณาประสานความร่วมมือกับ Google Map เพื่อนำข้อมูลไปเผยแพร่ 4. พิจารณาเปิดระบบการประเมินคุณภาพการให้บริการทั้งตัวรถการให้บริการและผู้ขับขี่ 5. พัฒนาระบบชำระเงินที่สามารถชำระได้หลากหลายรูปแบบ 6. ไม่ติดโฆษณาทับกระจกติดแค่บริเวณตัวถัง เพื่อไม่บดบังทิวทัศน์ของผู้โดยสาร

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนเส้นทาง Feeder (Shuttle Bus)...........เส้น ๑.รถเมล์ครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้นทั้งสายหลักและสายรอง โดยมี กทม.เป็นผู้ดำเนินการ ๒.ส่วนลดหรือไม่เสียค่าแรกเข้าเพิ่ม หากเชื่อมต่อ BRT และรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีทอง ๓.รถเมล์ใหม่ ชานต่ำ ปรับอากาศ ควันไม่ดำ ๔.มี GPS เช็กตำแหน่งรถได้

    5.เป้าหมาย :เส้นทาง : 15

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 004 : พัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัลพื้นที่จุดเสี่ยงความปลอดภัย (BKK Risk Map) 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงทุกรูปแบบเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในหลายมิติของชีวิต ทั้งการเดินทาง การเลือกโซนที่อยู่อาศัย และการอพยพเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน - หน่วยงานต่าง ๆ สามารถจัดการกับจุดเสี่ยงในเมืองได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- รวบรวมฐานข้อมูล เช่น ข้อมูลจุดมืด ข้อมูลสถิติอาชญากรรม ข้อมูลอุบัติเหตุ ข้อมูลน้ำท่วม ข้อมูลพื้นที่ต่ำ ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อจัดทำเป็นแผนที่ความเสี่ยงกรุงเทพฯ (Bkk Risk map) - วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมเพื่อแก้ไข ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันเหตุ หรือเพื่อสนับสนุนการเผชิญเหตุ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :มีการจัดทำแผนที่ความเสี่ยงกรุงเทพมหานคร (Bkk Risk Map) ที่สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงได้

    5.เป้าหมาย :ระบบ : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 005 : ทบทวน BRT เพื่อพิจารณาการดำเนินโครงการ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน -

    2.ประชาชนได้อะไร :หากไม่ดำเนินการ - ได้ช่องจราจรบนถนนสายหลักคืน - ลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จะต้องจ่ายให้กับการดำเนินการ BRT ในอนาคต หากดำเนินการต่อ - รถให้บริการถี่ขึ้น รถให้บริการมากขึ้น รอรถไม่นาน - มีสถานีให้ขึ้น-ลงมากขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะต้องพิจารณาโครงการ BRT ว่าควรดำเนินการต่อหรือไม่ หากยังเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อควรมีการดำเนินการอย่างน้อย - เพิ่มความถี่ในการเดินรถ - เพิ่มรถเพื่อเพิ่มความถี่ เพื่อลดความหนาแน่นในชั่วโมงเร่งด่วน - เพิ่มสถานีโดยใช้ทุนน้อยกว่าปัจจุบัน ออกแบบให้เหมาะสม ขนาดไม่ใหญ่เข้าถึงง่าย เพื่อให้สถานีถี่ขึ้น - เพิ่มรถ รูปแบบชานต่ำ พลังงานไฟฟ้า - ปรับราคาให้ถูกลง จากการลดค่าบริหารจัดการ หากไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการต่อ - กทม.จะดำเนินการเดินรถเมล์พลังงานไฟฟ้า (EV) ปรับอากาศ ชานต่ำ เพื่อทดแทนเส้นทางเดิม เพื่อให้ผู้โดยสารกลุ่มเดิมต้องไม่ได้รับผลกระทบจากการหยุดให้บริการ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :มีรายงานผลกรศึกษาหรือการทบทวนโครงการเดินรถ BRT จำนวน 1 ฉบับ รายงานผลการศึกษาเพื่อให้ทราบควรดำเนินการแบบใด หากไม่ดำเนินการ - ได้ช่องจราจรบนถนนสายหลักคืน - ลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จะต้องจ่ายให้กับการดำเนินการ BRT ในอนาคต หากดำเนินการต่อ - รถให้บริการถี่ขึ้น รถให้บริการมากขึ้น รอรถไม่นาน - มีสถานีให้ขึ้น-ลงมากขึ้น

    5.เป้าหมาย :รายงาน(ฉบับ) : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 006 : ท่าเรือเข้าสะดวก ออกสบาย เชื่อมต่อปลอดภัย 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน สนข., สนย.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ทางเข้าท่าเรือสว่าง ปลอดภัย - ทางเข้าท่าเรือมีข้อมูล - ทางเข้าท่าเรือเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะอื่น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :การเดินเรือในกรุงเทพฯ มี 4 เส้นทางหลัก ได้แก่ เส้นเจ้าพระยา เส้นคลองแสนแสบ เส้นผดุงกรุงเกษม และเรือข้ามฟากซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วพื้นที่กรุงเทพ รวมแล้วมีท่าเรือทั้งสิ้น 102 ท่า การเดินทางทางน้ำเป็นการเดินทางที่มีช่องทางเป็นของตัวเอง (right of way) ทำให้เป็นการเดินทางที่ควบคุมเวลาได้ แต่ข้อจำกัดในการเข้า-ออกท่าเรือ ความปลอดภัยบริเวณท่าเรือ ความสะดวกสบายในการเข้า-ออก ยังคงเป็นข้อจำกัดในการเดินทางทางน้ำ กล่าวคือ ท่าเรือจำนวนหนึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของเอกชนหรือวัด จึงอาจมีอุปสรรคในการพัฒนา ในส่วนการเดินเรือของ กทม. แม้เรือและท่าเรือสามารถรองรับคนพิการได้ แต่ทางเข้าท่าเรือยังไม่รองรับทุกคน ทำให้การเดินทางที่ทุกคนเข้าถึงได้ยังไม่เกิดขึ้นจริง ดังนั้น กทม.จะพัฒนาทางเข้าท่าเรือร่วมกับทั้งเอกชน วัด รัฐ ฯลฯ เพื่อให้การพัฒนาทางเข้าท่าเรือเกิดขึ้นตั้งแต่ริมถนนจนถึงท่าเรือ ดังนี้ 1. พัฒนาทางเข้า-ออกท่าเรือให้สว่างและปลอดภัย 2. พัฒนาทางเดินให้เรียบ สะดวก ถูกหลักการออกแบบเพื่อทุกคน (universal design) 3. มีข้อมูลการเดินทางทั้งระบบที่เข้าถึงง่าย เพื่อให้การเชื่อมต่อการเดินทางเป็นไปได้จริง และส่งเสริมการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของท่าเรือที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุง/ได้มาตราฐาน จำนวนท่าเรือ 102 แห่ง กทม.จะพัฒนาทางเข้าท่าเรือร่วมกับทั้งเอกชน วัด รัฐ ฯลฯ เพื่อให้การพัฒนาทางเข้าท่าเรือเกิดขึ้นตั้งแต่ริมถนนจนถึงท่าเรือ ดังนี้ 1. พัฒนาทางเข้า-ออกท่าเรือให้สว่างและปลอดภัย 2. พัฒนาทางเดินให้เรียบ สะดวก ถูกหลักการออกแบบเพื่อทุกคน (universal design) 3. มีข้อมูลการเดินทางทั้งระบบที่เข้าถึงง่าย เพื่อให้การเชื่อมต่อการเดินทางเป็นไปได้จริง และส่งเสริมการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :-อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลและออกแบบมาตรฐานการปรับปรุงทางเข้าท่าเรือตาม สนข. - ท่าเรือในคลองผดุงเกษมในขั้นตอนดำเนินงานตามสัญญา (5 เมษายน 2565 – 4 เมษายน 2566) ดำเนินการแล้ว 50% คาดว่าจะแล้วเสร็จ วันที่ 4 เมษายน 2566

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 007 : พิจารณาเดินเรือ เพิ่มตัวเลือกเชื่อมต่อการเดินทาง 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน สนข., สนย., สนน.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ประชาชนเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้มากขึ้นและมีคุณภาพยิ่งขึ้นเนื่องจากการเดินทางทางเรือสามารถคำนวณเวลาได้

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ตามแผนโครงข่ายการเดินทางทางน้ำ (W-Map) ที่จัดทำโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้รายงานถึงคลองที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเส้นทางเดินเรือกว่า 30 คลอง ระยะทางกว่า 400 กม. แต่ทุกวันนี้กรุงเทพฯ มีการเดินเรืออย่างเป็นกิจจะลักษณะเพียง 4 สายเท่านั้น ได้แก่ 1. แม่น้ำเจ้าพระยา (เรือด่วนเจ้าพระยา เรือโดยสาร MINE เรือเอกชนท่าสาทร - บิ๊กซี ราษฎร์บูรณะ และเรือข้ามฝาก) 2. คลองแสนแสบ 3. คลองผดุงกรุงเกษม 4. คลองภาษีเจริญ (ปัจจุบัน กทม.เคยเดินเรือตั้งแต่ปี 2560 ได้ยกเลิกการให้บริการไปในช่วงต้นปี 2565) ดังนั้น กทม.จะพิจารณาทบทวนเส้นทางเดิม เส้นทางเดินเรือตามแผน W-Map หรือเพิ่มเส้นทางใหม่ที่เหมาะสม โดย - ให้บริการด้วยเรือไฟฟ้าที่ออกแบบตามหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ไม่ก่อมลพิษอากาศและทางเสียง - ติดตามตำแหน่งเรือแบบเรียลไทม์ - พัฒนาท่าเรือให้ออกแบบตามหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) รวมถึงการพัฒนาทางเข้าทางออกให้ เข้าสะดวก ออกสบาย เชื่อมต่อปลอดภัย - ลดค่าใช้จ่ายผู้โดยสารที่ใช้บริการเรือ กทม. และต่อด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่ กทม.เป็นเจ้าของ โดยไม่ต้องเสียค่าแรกเข้าเพิ่ม รวมถึงพัฒนาระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ e-ticket ที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางได้ภายในเวลาที่กำหนด โดยไม่เสียค่าโดยสารเพิ่มหรือไม่เสียค่าแรกเข้าซ้ำ - เพิ่มเติมรูปแบบการจ่ายเงินให้หลากหลายทั้งการ Scan, Wallet, EMV เป็นต้น

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :3 เส้นทางใน 100 วัน(คลองเปรมประชากร ,คลองลาดพร้าว และคองประเวศบุรีรมย์) ร้อยละเส้นทางเดินเรือ ทบทวนเส้นทางเดิม เส้นทางเดินเรือตามแผน W-Map หรือเพิ่มเส้นทางใหม่ที่เหมาะสม โดย - ให้บริการด้วยเรือไฟฟ้าที่ออกแบบตามหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ไม่ก่อมลพิษอากาศและทางเสียง - ติดตามตำแหน่งเรือแบบเรียลไทม์ - พัฒนาท่าเรือให้ออกแบบตามหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) รวมถึงการพัฒนาทางเข้าทางออกให้ เข้าสะดวก ออกสบาย เชื่อมต่อปลอดภัย - ลดค่าใช้จ่ายผู้โดยสารที่ใช้บริการเรือ กทม. และต่อด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่ กทม.เป็นเจ้าของ โดยไม่ต้องเสียค่าแรกเข้าเพิ่ม รวมถึงพัฒนาระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ e-ticket ที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางได้ภายในเวลาที่กำหนด โดยไม่เสียค่าโดยสารเพิ่มหรือไม่เสียค่าแรกเข้าซ้ำ - เพิ่มเติมรูปแบบการจ่ายเงินให้หลากหลายทั้งการ Scan, Wallet, EMV เป็นต้น

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 008 : รถไฟฟ้าสายสีเขียว ประชาชนต้องได้ประโยชน์สูงสุด 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :เข้าถึงรถไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้นจากการลดค่าโดยสาร ไม่มีค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :รถไฟฟ้าที่ให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ รฟม. หาก รฟม.สามารถกำกับดูแลรถไฟฟ้าทุกสายได้จะทำให้การบริหารรถไฟฟ้าแบบองค์รวมได้ เช่น สามารถเอากำไรจากสายหนึ่งไปอุดอีกสายหนึ่งได้ และประชาชนจะได้รับประโยชน์เนื่องจากความเป็นไปได้ในการทำตั๋วร่วมจะมีมากขึ้น ประชาชนอาจไม่ต้องเสียค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนเมื่อเดินทางข้ามสาย เป็นต้น... ดังนั้น กทม.จะหารือร่วมกับ รฟม.ในฐานะผู้กำกับดูแลรถไฟฟ้าส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ เพื่อหาทางออกร่วมกันเกี่ยวกับรถไฟฟ้าในการกำกับดูแลทั้งหมดของ กทม.ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดอยู่กับประชาชนและเป็นธรรมกับเอกชน เพื่อลดความซ้ำซ้อน ลดค่าแรกเข้าและลดค่าโดยสารลง - ศึกษาสัญญาทุกฉบับ สรุปรายละเอียดของปัญหาในทุกมิติในทุกสัญญา เปิดรายละเอียดของสัญญา และหาแนวทางดำเนินการตามกรอบของข้อสัญญา เพื่อให้การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้นโปร่งใส ถูกต้อง และหาทางลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :รายงานผลการทบทวน ประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรม ได้เเก่ การจัดทำรายละเอียดการพิจารณาจำนวนและรูปแบบการจัดเก็บค่าโดยสาร และกระบวนการพิจารณาเเนวทางการจัดเก็บค่าโดยสารของคณะกรรมการบริหารระบบขนส่งมวลชน กทม. และสภา กทม. กทม.จะหารือร่วมกับ รฟม.ในฐานะผู้กำกับดูแลรถไฟฟ้าส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ เพื่อหาทางออกร่วมกันเกี่ยวกับรถไฟฟ้าในการกำกับดูแลทั้งหมดของ กทม.ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดอยู่กับประชาชนและเป็นธรรมกับเอกชน เพื่อลดความซ้ำซ้อน ลดค่าแรกเข้าและลดค่าโดยสารลง - ศึกษาสัญญาทุกฉบับ สรุปรายละเอียดของปัญหาในทุกมิติในทุกสัญญา เปิดรายละเอียดของสัญญา และหาแนวทางดำเนินการตามกรอบของข้อสัญญา เพื่อให้การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้นโปร่งใส ถูกต้อง และหาทางลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด

    5.เป้าหมาย :สัญญา : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 009 : หน่วยงาน กทม.เข้าใจ สนับสนุนความเท่าเทียม และยอมรับความหลากหลายทางเพศ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สกก. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ ในกทม.ได้รับการยอมรับผ่านความเข้าใจจาก กทม. ในฐานะหน่วยงานรัฐ ประชาชนได้รับการบริการอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ ด้วยความเข้าใจในความอ่อนไหวทางเพศ (gender sensitivity) และความเท่าเทียมทางเพศ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :การยอมรับความหลากหลายทางเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศในสังคมไทยยังคงมีเงื่อนไข ในฐานะหน่วยงานรัฐของประชาชนและนายจ้างของข้าราชการ กทม. การยอมรับและเข้าใจถึงความหลากหลายเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับภาครัฐไทยให้ทัดเทียมกับภาคเอกชนหรือเครือข่ายต่าง ๆ นอกจากเรื่องความหลากหลายทางเพศวิถีแล้วยังมีเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่หน่วยงานกทม. ต้องให้ความสำคัญ ในฐานะที่ กทม.เป็นเจ้าบ้านและนายจ้าง กทม.สามารถริเริ่มการยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขในสังคมและสนับสนุนความเท่าเทียมได้ โดยกำหนดหลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานใน กทม. อบรมให้เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานของ กทม.ปฏิบัติต่อเจ้าหน้าที่และประชาชน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1. กำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 010 : จัดทีม 'นักสืบฝุ่น' ศึกษาต้นตอ PM2.5 0 4 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 4 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :ได้รู้ถึงที่มาและต้นกำเนิดของฝุ่นในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อการจัดการอย่างตรงจุด

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม. จัดทำบัญชีที่มาของฝุ่นจากการมีส่วนร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนบัญชีที่มาของฝุ่นละออง

    5.เป้าหมาย :บัญชี : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 011 : ตรวจสอบคุณภาพอากาศเชิงรุกในโรงงาน 0 6 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 6 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนอ. // หน่วยงานสนับสนุน สนข., สสล.

    2.ประชาชนได้อะไร :โรงงานที่ไม่มีการปล่อยมลพิษเกินค่ามาตรฐาน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม. เป็นเจ้าภาพเข้าไปตรวจสอบการปล่อยมลพิษเชิงรุกของโรงงาน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1.การตรวจประเมินสุขลักษณะและระบบบำบัดมลพิษในสถานประกอบการ 2.การจัดทำฐานข้อมูลแสดงผลเชิงพื้นที่ (Mapping) เพื่อเฝ้าระวัง กำกับ และติดตามสถานประกอบการ (ในปี 2566)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 012 : ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่ปล่อยมลพิษ 0 6 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 6 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :มีมลพิษทางอากาศลดลงจากการดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่ปล่อยมลพิษ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม. บังคับใช้กฎหมาย กับผู้ประกอบการให้ลดมลพิษ (มาตรการเบาไปหาหนัก)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 013 : สนับสนุนให้เกิด ecosystem รถพลังงานไฟฟ้า 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สสล. // หน่วยงานสนับสนุน สนข., สนย., สพส., สจส.

    2.ประชาชนได้อะไร :- เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประชาชน ทั้งการซื้อรถใหม่ และการดัดแปลงรถเดิม - อากาศที่บริสุทธิ์ขึ้น มลพิษทางอากาศลดลง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :หากต้องการให้มลพิษ PM2.5 ลดลงในระยะยาว จำเป็นต้องแก้ไขปัญหามลพิษจากไอเสียที่ยานยนต์ ดังนั้น กทม.จะสนับสนุนให้เกิดสภาพแวดล้อมในการใช้รถขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าให้มากขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญลำดับต้น ๆ คือสถานีชาร์จรถยนต์และสถานีสลับแบตเตอรีมอเตอร์ไซค์ ด้วยวิธีการอย่างน้อยดังนี้ 1. อนุญาตให้เอกชนติดตั้งสถานีชาร์จและสลับแบตเตอรีรถจักรยานยนต์ในพื้นที่หน่วยงาน กทม. เช่น สำนักงานเขต สวนสาธารณะ จอดแล้วจร ฯลฯ 2. ประสานงานกับเอกชนในการผลักดันให้เกิดสถานีชาร์จและสลับแบตเตอรีมากขึ้น 3. พิจารณาข้อบัญญัติควบคุมอาคารให้สถานที่ต่างๆ ต้องมีการติดตั้งสถานีชาร์จและสถานีสลับแบตเตอรี่เพื่อให้ประชาชนใช้บริการได้ 4. ผลักดันให้เกิดหลักสูตร EV Retrofit (หลักสูตรดัดแปลงเครื่องยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง) ร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ที่โรงเรียนฝึกอาชีพ กทม. ที่มีศักยภาพและมีการเปิดสอนหลักสูตรที่เกี่ยวกับยานยนต์อยู่แล้ว 5. เปิดให้ประชาชนนำรถยนต์มาเข้ารับบริการเปลี่ยนเครื่องยนต์สันดาปเป็นเครื่องยนต์ไฟฟ้าได้ในราคาต้นทุน เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนให้เกิดขึ้นจริง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :1. จำนวนสถานีจ่ายไฟฟ้าได้รับการติดตั้ง ณ สถานที่ กทม.หรือ 1 เขต 1 จุด ณ สำนักงานเขต 2. กรุงเทพมหานครเปิดให้บริการอบรมหลักสูตร EV Retrofit และบริการดัดแปลงรถยนต์ EV ประกอบด้วยการดำเนินงาน 3 ส่วน คือ การเปลี่ยนรถราชการเป็นรถพลังงานไฟฟ้า การจัดหาสถานีชาร์จไฟฟ้า และการสนุบสนุนการฝึกอาชีพเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ยานพาหนะเป็นเเบบใช้พลังงานไฟฟ้า สนับสนุนให้เกิดสภาพแวดล้อมในการใช้รถขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าให้มากขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญลำดับต้น ๆ คือสถานีชาร์จรถยนต์และสถานีสลับแบตเตอรีมอเตอร์ไซค์ ด้วยวิธีการอย่างน้อยดังนี้ 1. อนุญาตให้เอกชนติดตั้งสถานีชาร์จและสลับแบตเตอรีรถจักรยานยนต์ในพื้นที่หน่วยงาน กทม. เช่น สำนักงานเขต สวนสาธารณะ จอดแล้วจร ฯลฯ 2. ประสานงานกับเอกชนในการผลักดันให้เกิดสถานีชาร์จและสลับแบตเตอรีมากขึ้น 3. พิจารณาข้อบัญญัติควบคุมอาคารให้สถานที่ต่างๆ ต้องมีการติดตั้งสถานีชาร์จและสถานีสลับแบตเตอรี่เพื่อให้ประชาชนใช้บริการได้ 4. ผลักดันให้เกิดหลักสูตร EV Retrofit (หลักสูตรดัดแปลงเครื่องยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง) ร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ที่โรงเรียนฝึกอาชีพ กทม. ที่มีศักยภาพและมีการเปิดสอนหลักสูตรที่เกี่ยวกับยานยนต์อยู่แล้ว 5. เปิดให้ประชาชนนำรถยนต์มาเข้ารับบริการเปลี่ยนเครื่องยนต์สันดาปเป็นเครื่องยนต์ไฟฟ้าได้ในราคาต้นทุน เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนให้เกิดขึ้นจริง

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 52

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 014 : สร้างจุดเชื่อมต่อการเดินทาง (hub) เพื่อการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่สะดวกสบาย 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน สนย.

    2.ประชาชนได้อะไร :- เดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้นเนื่องจากมีจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สะดวก ไม่เปียก ไม่ร้อน ปลอดภัย มีข้อมูลเชื่อมต่อกับทุกระบบทั้งส่วนตัวและสาธารณะ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กรุงเทพฯ ไม่เคยมีจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางอย่างเป็นระบบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น - การเชื่อมต่อระหว่างขนส่งสาธารณะ รถสองแถว รถเมล์ รถไฟฟ้า เรือ จากสายหนึ่งไปสู่อีกสายหนึ่ง - การเชื่อมต่อจากขนส่งสาธารณะสู่ แท็กซี่ หรือวินมอเตอร์ไซค์ - การเชื่อมต่อจากจักรยานสู่ขนส่งสาธารณะ - การจอดรถรับ-ส่งของรถส่วนตัวให้ไม่รบกวนการจราจร แม้ปัจจุบันเอกชนจะเริ่มมีการพัฒนาพื้นที่ของตัวเองให้เกิดจุดเชื่อมต่อการเดินทางบ้างแล้ว เช่น เมกาบางนา หรือเซ็นทรัลพระราม 2 ที่จะเป็นจุดจอดสำหรับรถเมล์ที่ต้นสายอยู่ ณ สถานที่นั้น แต่รถเมล์สายอื่นที่ผ่านก็ไม่ได้เข้ามาจอดในจุดเชื่อมต่อทำให้ยังไม่เกิดเป็นพื้นที่เชื่อมต่อ (hub) โดยสมบูรณ์ ดังนั้น กทม.จะนำร่องพัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่เชื่อมต่อการเดินทางทั้งระบบ ระหว่างขนส่งสาธารณะสู่ขนส่งสาธารณะ หรือจากรถส่วนตัวสู่ขนส่งสาธารณะ เพื่อความสะดวกในการเดินทาง ได้มาตรฐาน Universal Design ทุกคนใช้งานได้ และลดผลกระทบจากสภาพอากาศ พร้อมมีข้อมูลแนะนำในการเชื่อมต่ออย่างครบถ้วน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนจุดเชื่อมต่อการเดินทาง (hub) ที่ได้รับการพัฒนาตามแนวทางที่กำหนด จัดทำรายงานผลการสำรวจเเละจัดลำดับจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่มีศักยภาพในการพัฒนา ภายใน 100 วัน ซึ่งการเดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้นเนื่องจากมีจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สะดวก ไม่เปียก ไม่ร้อน ปลอดภัย มีข้อมูลเชื่อมต่อกับทุกระบบทั้งส่วนตัวและสาธารณะ รายละเอียด กรุงเทพฯ ไม่เคยมีจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางอย่างเป็นระบบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น 1. การเชื่อมต่อระหว่างขนส่งสาธารณะ รถสองแถว รถเมล์ รถไฟฟ้า เรือ จากสายหนึ่งไปสู่อีกสายหนึ่ง 2. การเชื่อมต่อจากขนส่งสาธารณะสู่ แท็กซี่ หรือวินมอเตอร์ไซค์ 3. การเชื่อมต่อจากจักรยานสู่ขนส่งสาธารณะ 4. การจอดรถรับ-ส่งของรถส่วนตัวให้ไม่รบกวนการจราจร แม้ปัจจุบันเอกชนจะเริ่มมีการพัฒนาพื้นที่ของตัวเองให้เกิดจุดเชื่อมต่อการเดินทางบ้างแล้ว เช่น เมกาบางนา หรือเซ็นทรัลพระราม 2 ที่จะเป็นจุดจอดสำหรับรถเมล์ที่ต้นสายอยู่ ณ สถานที่นั้น แต่รถเมล์สายอื่น ที่ผ่านก็ไม่ได้เข้ามาจอดในจุดเชื่อมต่อทำให้ยังไม่เกิดเป็นพื้นที่เชื่อมต่อ (hub) โดยสมบูรณ์ ดังนั้น กทม.จะนำร่องพัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่เชื่อมต่อการเดินทางทั้งระบบ ระหว่างขนส่งสาธารณะสู่ขนส่งสาธารณะ หรือจากรถส่วนตัวสู่ขนส่งสาธารณะ เพื่อความสะดวกในการเดินทาง ได้มาตรฐาน Universal Design ทุกคนใช้งานได้ และลดผลกระทบจากสภาพอากาศ พร้อมมีข้อมูลแนะนำในการเชื่อมต่ออย่างครบถ้วน

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 5

    6.Action Plan :โครงการพัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทางและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (อยู่ระหว่างบริษัทที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดและจัดทำร่างของเขตของงาน) (เดินทางดี)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 015 : นำร่องพัฒนาคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนพ. // หน่วยงานสนับสนุน สนอ.

    2.ประชาชนได้อะไร :สุขภาพของคนกรุงเทพฯ ที่มีความหลากหลายทางเพศดีขึ้น เนื่องจากการบริการทางสุขภาพทำให้ผู้ใช้บริการไม่กังวลเรื่องการถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นมิตร และเชื่อมั่นในการรักษาและการให้คำแนะนำทางสุขภาพแบบเฉพาะทาง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะนำร่องเปิดศูนย์ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ในประเด็นจำเพาะ เช่น การใช้ยา-ฮอร์โมน และการผ่าตัดแปลงเพศของกลุ่มคนข้ามเพศในศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) หรือโรงพยาบาลในสังกัด กทม. ตามความเหมาะสม เพื่อสร้างสวัสดิการของรัฐที่ครอบคลุมความหลากหลายของมนุษย์

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 11

    6.Action Plan :1. กิจกรรมพัฒนาคลินิกสุขภาพเพศหลากหลายสำนักการแพทย์ 2. คลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 016 : ป้ายรถเมล์มีข้อมูลและสว่างปลอดภัยทุกป้าย 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- เดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้นเนื่องจากมีจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สะดวก ไม่เปียก ไม่ร้อน ปลอดภัย มีข้อมูลเชื่อมต่อกับทุกระบบทั้งส่วนตัวและสาธารณะ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กรุงเทพฯ ไม่เคยมีจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางอย่างเป็นระบบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น - การเชื่อมต่อระหว่างขนส่งสาธารณะ รถสองแถว รถเมล์ รถไฟฟ้า เรือ จากสายหนึ่งไปสู่อีกสายหนึ่ง - การเชื่อมต่อจากขนส่งสาธารณะสู่ แท็กซี่ หรือวินมอเตอร์ไซค์ - การเชื่อมต่อจากจักรยานสู่ขนส่งสาธารณะ - การจอดรถรับ-ส่งของรถส่วนตัวให้ไม่รบกวนการจราจร แม้ปัจจุบันเอกชนจะเริ่มมีการพัฒนาพื้นที่ของตัวเองให้เกิดจุดเชื่อมต่อการเดินทางบ้างแล้ว เช่น เมกาบางนา หรือเซ็นทรัลพระราม 2 ที่จะเป็นจุดจอดสำหรับรถเมล์ที่ต้นสายอยู่ ณ สถานที่นั้น แต่รถเมล์สายอื่นที่ผ่านก็ไม่ได้เข้ามาจอดในจุดเชื่อมต่อทำให้ยังไม่เกิดเป็นพื้นที่เชื่อมต่อ (hub) โดยสมบูรณ์ ดังนั้น กทม.จะนำร่องพัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่เชื่อมต่อการเดินทางทั้งระบบ ระหว่างขนส่งสาธารณะสู่ขนส่งสาธารณะ หรือจากรถส่วนตัวสู่ขนส่งสาธารณะ เพื่อความสะดวกในการเดินทาง ได้มาตรฐาน Universal Design ทุกคนใช้งานได้ และลดผลกระทบจากสภาพอากาศ พร้อมมีข้อมูลแนะนำในการเชื่อมต่ออย่างครบถ้วน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของป้ายรถเมล์ที่ได้รับการปรับปรุง - บำรุงรักษาและทำความสะอาดศาลาที่พักผู้โดยสาร (เดิม) และดำเนินการปรับปรุงป้ายรถเมย์นำร่อง 50 ป้าย ภายใน 100 วัน ปรับปรุงป้ายรถเมล์ทั่วกรุง เพื่อส่งเสริมและเพิ่มโอกาสในการที่ประชาชนจะเลือกเดินทางด้วยรถเมล์ โดย 1. ให้ข้อมูล 1.1 สายรถเมล์ที่ผ่านป้ายนั้น ๆ 1.2 ข้อมูลเส้นทางเดินรถแต่ละสาย 1.3 ข้อมูลจุดเชื่อมต่อ 1.4 ข้อมูลรถคันสุดท้าย 1.5 พิจารณาการให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์พร้อมการคาดการณ์เวลาที่รถเมล์จะมาถึงที่ป้ายรถเมล์ใหม่ 2. เพิ่มแสงสว่าง ทั้งที่ตัวป้ายเอง และบริเวณโดยรอบ 3. ติดตั้ง CCTV เพื่อดูแลความปลอดภัย 5. ออกแบบป้ายรถเมล์ให้มีรูปแบบที่หลากหลายเหมาะสมกับบริบทพื้นที่และขนาดทางเท้าที่แตกต่างกัน 6. กำหนดรอบการดูแลและบำรุงรักษาป้ายรถเมล์ให้พร้อมใช้งานเสมอ 7. พิจารณาการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมที่ผลักดันเรื่องรถเมล์และป้ายรถเมล์ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาป้ายรถเมล์นี้

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :- ศึกษาการปรับปรุงป้ายรถเมล์ให้มีข้อมูลที่มีประโยชน์และรูปแบบทันสมัย - อยู่ในขั้นตอนดำเนินงานตามสัญญา (16 กุมภาพันธ์ 2565 – 15 กุมภาพันธ์ 2566) ดำเนินการแล้ว 25% คาดว่าจะแล้วเสร็จ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 017 : จัดตั้ง Command Center บริหารจราจรร่วมกับตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน สนท., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- การจราจรคล่องตัวขึ้นจากการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมือ แก้ไขปัญหาจราจร และจัดการจราจรสอดคล้องและต่อเนื่องกันยิ่งขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :หน่วยงานที่ดูแลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจราจรมีมากถึง 37 หน่วยงาน [1] แบ่งความรับผิดชอบเป็นหลายส่วน เช่น - กทม.ดูแลโครงสร้างพื้นฐานส่วนหนึ่ง เช่น ไฟจราจร ถนน สะพาน ป้ายรถเมล์ เป็นต้น และโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ก็กระจายความรับผิดชอบไปยังอีกหลายหน่วยงานในสังกัด กทม.ทั้งสำนักโยธา สำนักจราจรและขนส่ง เป็นต้น - กองบังคับการตำรวจจราจร ดูแลเรื่องการบริหารจัดการจราจร จับ/ปรับผู้กระทำผิด - หน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมการขนส่งทางบกดูแลเรื่องสภาพรถ ใบอนุญาตยานพาหนะ กรมทางหลวงชนบทดูแลสะพาน และถนน เป็นต้น ที่ผ่านมาหน่วยงานที่ทำงานด้านจราจรข้างต้นยังคงบริหารจัดการแยกส่วน ต่างฝ่ายต่างดำเนินการตามขอบเขตอำนาจของตนเอง แม้ที่ผ่านมามีการจัดการประชุมร่วมกันแต่ประชุมเป็นครั้ง ๆ ไปตามนัดหมาย ไม่มีศูนย์กลางที่ทุกหน่วยงานเข้ามาร่วมกันบริหารเป็นประจำ จึงส่งผลให้การแก้ไขปัญหาจราจรล่าช้า และไม่ได้รับการจัดการปัญหาอย่างเหมาะสมทันที ดังนั้น กทม.จะจัดตั้งศูนย์ควบคุมสั่งการจราจรกลาง (Command Center) ร่วมกับ กองบังคับการตำรวจจราจร (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารการจราจรเกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน จัดการจราจรโดยภาพรวมอย่างมีประสิทธิภาพ สอดประสาน เป็นเนื้อเดียวกัน ไร้รอยต่อ โดยจัดตัวแทนเจ้าหน้าที่ กทม.เข้าร่วมทำงานกับตำรวจอย่างใกล้ชิด

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :-มีศูนย์ควบคุมสั่งการจราจรกลาง (Command Center) บูรณาการร่วมกับ กองบังคับการตำรวจจราจร (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดการจราจรโดยภาพรวมอย่างมีประสิทธิภาพ กทม.จะจัดตั้งศูนย์ควบคุมสั่งการจราจรกลาง (Command Center) ร่วมกับ กองบังคับการตำรวจจราจร (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารการจราจรเกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน จัดการจราจรโดยภาพรวมอย่างมีประสิทธิภาพ สอดประสาน เป็นเนื้อเดียวกัน ไร้รอยต่อ โดยจัดตัวแทนเจ้าหน้าที่ กทม.เข้าร่วมทำงานกับตำรวจอย่างใกล้ชิด

    5.เป้าหมาย :ศูนย์ : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 018 : ให้การศึกษา พัฒนานักเรียนสู่พลเมืองโลก 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- นักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม.ได้เรียนรู้กระบวนการคิด เรียนรู้ ลงมือทำในฐานะพลเมืองโลก - โรงเรียนสังกัด กทม.สร้างนักเรียนพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ปรับปรุงหลักสูตร โดยเพิ่มการศึกษาประวัติศาสตร์ ประเด็นสังคมต่างๆ พัฒนาทักษะความรู้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกยุคใหม่ เช่น การใช้เทคโนโลยี

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :มากกว่าร้อยละ 50 ของนักเรียน กทม. มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกทั้งในระดับโรงเรียนและ กทม.

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 50

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 019 : บริหารจัดการจราจรด้วยระบบอัจฉริยะ (ITMS) เพื่อบริหารจัดการจราจรทั้งโครงข่ายและกวดขันวินัยจราจร 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน สนท., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- การจราจรคล่องตัวขึ้น - สัญญาณไฟแดงสอดคล้องกับประมาณจราจร - ทราบสภาพการจราจรแบบเรียลไทม์ - ประชาชนมีวินัยจราจรมากขึ้น จากการการสอดประสานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะนำระบบบริหารจัดการจราจรด้วยระบบอัจฉริยะ (Intelligent Traffic Management System: ITMS) มาใช้งาน ควบคู่กับ CCTV โดย - ควบคุมสัญญาณไฟจราจรทั้งโครงข่ายกรุงเทพฯ ให้สอดคล้องกับสภาพจราจรที่เกิดขึ้นจริง เพิ่มประสิทธิภาพการระบายรถ และการบริหารรถขนส่งสาธารณะ - เผยแพร่สภาพการจราจรแบบเรียลไทม์ เพิ่มข้อมูลในการตัดสินใจให้กับประชาชน เชื่อมต่อ API กับแอพพลิเคชั่นแผนที่ที่มีผู้ใช้มาก - บังคับใช้กฎระเบียบ และกวดขันวินัยจราจร ด้วย CCTV จับภาพยานพาหนะที่ทำผิดกฎระเบียบ ออกใบสั่งอัตโนมัติ และเทศกิจจราจร ลงไปช่วยกวดขันวินัยจราจร แก้จุดฝืด ให้การจราจรคล่องตัวขึ้น - เชื่อมต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจับ/ปรับผู้กระทำผิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยะละความสำเร็จของการติดตั้งระบบ ATC เฟส 1 นำระบบบริหารจัดการจราจรด้วยระบบอัจฉริยะ (Intelligent Traffic Management System: ITMS) มาใช้งาน ควบคู่กับ CCTV โดย - ควบคุมสัญญาณไฟจราจรทั้งโครงข่ายกรุงเทพฯ ให้สอดคล้องกับสภาพจราจรที่เกิดขึ้นจริง เพิ่มประสิทธิภาพการระบายรถ และการบริหารรถขนส่งสาธารณะ - เผยแพร่สภาพการจราจรแบบเรียลไทม์ เพิ่มข้อมูลในการตัดสินใจให้กับประชาชน เชื่อมต่อ API กับแอพพลิเคชั่นแผนที่ที่มีผู้ใช้มาก - บังคับใช้กฎระเบียบ และกวดขันวินัยจราจร ด้วย CCTV จับภาพยานพาหนะที่ทำผิดกฎระเบียบ ออกใบสั่งอัตโนมัติ และเทศกิจจราจร ลงไปช่วยกวดขันวินัยจราจร แก้จุดฝืด ให้การจราจรคล่องตัวขึ้น - เชื่อมต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจับ/ปรับผู้กระทำผิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :ศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบการจัดการจราจรเป็นที่ในกรุงเทพมหานคร ด้วยระบบสัญญาณ ไฟจราจรแบบ Area Traffic Control : ATC แล้วเสร็จ - ขอจัดสรรงบประมาณ ปี 2566 เพื่อดำเนินการติดตั้งระบบสัญญาณไฟจราจรแบบ ATC ในพื้นที่นำร่องเกาะรัตนโกสินทร์ 23 ทางแยก

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 020 : พัฒนาระบบติดตามการขออนุญาตกับ กทม. 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สยป. // หน่วยงานสนับสนุน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    2.ประชาชนได้อะไร :-ประชาชนสามารถวางแผนธุรกิจได้จริง ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการรอ กทม.อนุมัติอย่างไร้จุดหมาย -ประชาชนติดตามการทำงานของหน่วยงาน กทม.ได้

    3.กทม.จะทำอย่างไร :พัฒนาระบบติดตามการขออนุญาต (tracking system) โดยเฉพาะในกระบวนการ ที่เป็นการบริการประชาชนของ กทม. โดยระบบที่พัฒนาจะแสดงสถานะความคืบหน้าในการดำเนินงานแต่ของขั้นตอนของ กทม.เปรียบเทียบกับเวลาที่กำหนดไว้ในคู่มือประชาชน เพื่อสร้างความโปร่งใสและผลักดันให้ กทม.สามารถบริการได้ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ระบบ : 1

    6.Action Plan :1. โครงการพัฒนาระบบศูนย์รับคำขออนุญาตของกรุงเทพมหานคร (BMA OSS)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 021 : เทศกิจผู้ช่วยจราจร 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- การจราจรคล่องตัวขึ้นจากการที่มีเทศกิจช่วยดูแลงานด้านจราจรผ่านการสั่งงานที่เป็นระบบ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะดำเนินการจัดการอบรมผู้ช่วยเจ้าพนักงานจราจรให้แก่เทศกิจทุกนาย โดยปัจจุบัน กทม.มีกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจ 2,900 นาย [1] แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักเทศกิจ 389 นาย [2] และเจ้าหน้าที่เทศกิจประจำฝ่ายเทศกิจสำนักงานเขต เพื่อมอบหมายภารกิจให้เป็นผู้ช่วยจราจร โดยการปฏิบัติงานจะมีศูนย์ควบคุมและสั่งการกลาง (Command Center) เป็นผู้มอบหมาย เพื่อให้การบริหารจราจรสอดคล้องกันทั้งระบบ และตัดสินใจบนฐานข้อมูลเป็นหลัก

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของเจ้าหน้าที่เทศกิจของกรุงเทพมหานครได้รับการอบรมและมอบหมายภารกิจเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานจราจร มีการกำหนดจุดอาสาจราจร 500 จุด ในปี 66 มีการอบรมเทศกิจอาสาจราจร จำนวน 960 คน จัดการอบรมผู้ช่วยเจ้าพนักงานจราจรให้แก่เทศกิจทุกนาย โดยปัจจุบัน กทม.มีกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจ 2,900 นาย [1] แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักเทศกิจ 389 นาย [2] และเจ้าหน้าที่เทศกิจประจำฝ่ายเทศกิจสำนักงานเขต เพื่อมอบหมายภารกิจให้เป็นผู้ช่วยจราจร โดยการปฏิบัติงานจะมีศูนย์ควบคุมและสั่งการกลาง (Command Center) เป็นผู้มอบหมาย เพื่อให้การบริหารจราจรสอดคล้องกันทั้งระบบ และตัดสินใจบนฐานข้อมูลเป็นหลัก

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 022 : ลดรถ ลดติด ด้วยจอดแล้วจร 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- การจราจรในภาพรวมมีความคล่องตัวขึ้น - ประชาชนมีโอกาสใช้ขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้นผ่านการสนับสนุนจอดแล้วจรและมาตรการด้านราคา

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะร่วมมือกับภาคเอกชนเพิ่มจอดแล้วจรบริเวณสถานีรถไฟฟ้าปลายทางในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอก ที่สะดวก ปลอดภัย เพื่อลดการนำรถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลเข้าสู่เมืองชั้นใน โดยพิจารณามาตรการจูงใจการจอด เช่น จอดฟรี หรือนำค่าจอดเป็นส่วนลดค่าเดินทาง ฯลฯ เพื่อส่งเสริมการจอด

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนจุดจอดแล้วจรได้รับการพัฒนาเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้า/จุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร (Hub)ได้โดยสะดวก สำนักการจราจรและขนส่ง ต้องจัดทำรายงานผลการศึกษา/สร้างความร่วมมือในการจัดหาที่จอดรถในบริเวณใกล้เคียงจุดเชื่อมต่อขนส่งมวลชน ภายใน 100 วัน ร่วมมือกับภาคเอกชนเพิ่มจอดแล้วจรบริเวณสถานีรถไฟฟ้าปลายทางในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอก ที่สะดวก ปลอดภัย เพื่อลดการนำรถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลเข้าสู่เมืองชั้นใน โดยพิจารณามาตรการจูงใจการจอด เช่น จอดฟรี หรือนำค่าจอดเป็นส่วนลดค่าเดินทาง ฯลฯ เพื่อส่งเสริมการจอด

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 023 : เสริมศักยภาพสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา หาความเป็นไปได้เพิ่มสะพานใหม่ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนย. // หน่วยงานสนับสนุน สจส., สนน.

    2.ประชาชนได้อะไร :- การเดินทางข้ามฝั่งพระนคร-ฝั่งธนฯ มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะเพิ่มขีดความสามารถในการเชื่อมต่อระหว่างฝั่งธนฯ และฝั่งพระนคร โดย 1. การเพิ่มความคล่องตัวในการสัญจรสำหรับสะพานเดิม ด้วยการบริหารการจราจรโดยภาพรวม ผ่านศูนย์ควบคุมและสั่งการกลาง (Command Center) และระบบการบริหารจัดการจราจรอัจฉริยะ (ITMS) พร้อมปรับปรุงจุดต่างๆ ที่ทำให้เกิดการชะลอตัวให้เกิดการไหลเวียนคล่องตัวสูงสุด 2. ศึกษาเส้นทางและพื้นที่ที่เป็นไปได้ในการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำใหม่ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับทุกฝ่าย 3. สะพานข้ามแม่น้ำไหนที่ประชาชนสามารถเดินข้ามได้ พิจารณาออกแบบร่องรางให้สามารถจูงจักรยานข้ามได้

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ปี 2566 ร้อยละของความสำเร็จของการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเกียกกาย ช่วงที่ 2 ปี 2566 ร้อยละ 100 ของความสำเร็จในการเตรียมความพร้อมจ้างที่ปรึกษา ปี 2567 รายงานผลการศึกษา 1 ฉบับ หมายเหตุ สนย. เลือกเพียง 1 ตัวชี้วัด ว่าจะดำเนินการวัดที่สะพานข้ามแม่น้ำโครงการใหม่ หรือจะดำเนินการวัดที่โครงการฯ เกียกกาย กทม.จะเพิ่มขีดความสามารถในการเชื่อมต่อระหว่างฝั่งธนฯ และฝั่งพระนคร โดย 2. ศึกษาเส้นทางและพื้นที่ที่เป็นไปได้ในการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำใหม่ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับทุกฝ่าย 3. สะพานข้ามแม่น้ำไหนที่ประชาชนสามารถเดินข้ามได้ พิจารณาออกแบบร่องรางให้สามารถจูงจักรยานข้ามได้

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 024 : รถหยุด รถติด ลดหยุด ลดติด 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน สนข., สนย.

    2.ประชาชนได้อะไร :- การจราจรในภาพรวมมีความคล่องตัวขึ้น - ประชาชนมีโอกาสใช้ขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้นผ่านการสนับสนุนจอดแล้วจรและมาตรการด้านราคา

    3.กทม.จะทำอย่างไร :จุดที่มีการชะลอตัว มีจุดตัด มีการจอดรอ มีการหยุด จะเป็นจุดที่ก่อให้เกิดแรงเสียดทาน (friction) เล็กๆ ที่ส่งผลให้การจราจรในภาพรวมติดขัดได้ เช่น ในพื้นที่ถนน 2 เลน ที่มีเลนหนึ่งรอไฟเลี้ยวทำให้เลนที่เคลื่อนไหวได้เหลือเพียงเลนเดียว ปัญหาลักษณะนี้พบได้โดยทั่วไม่ว่าจะที่แยก จุดกลับรถ จุดตัดต่างๆ หากเราลดการหยุดได้ ลดแรงเสียดทานได้ รถจะลดการติดขัดลง ดังนั้น กทม.จะปรับกายภาพถนนเพื่อลดแรงเสียดทานบนถนนที่จะส่งผลกระทบต่อกระแสจราจรลง เช่น 1. ปรับปรุงจุดตัด คอขวดต่างๆ บนท้องถนน เช่น เพิ่มการเว้าเกาะกลางในแยกที่มีจุดเลี้ยวรถ เพื่อให้รถที่จะเลี้ยวไปพักหลบตรงที่เว้าได้โดยไม่รบกวนกระแสจราจร 2. ปรับปรุงหัวโค้งหัวมุมให้เกิดการเลี้ยง การตีวงที่ไม่ใช้หลายช่องจราจร 3. ปรับ เพิ่ม/ลด จำนวนช่องทางจราจรเพื่อเพิ่มความจุถนนโดยเฉพาะบริเวณทางแยก 4. การห้ามเลี้ยวในบางกรณี โดยต้องพิจารณาอย่างละเอียด เพื่อให้กระแสจราจรไหลเวียนคล่องตัว 5. เทศกิจจราจร ลงพื้นที่แก้ไขจุดฝืด เช่น กวดขันวินัยจราจรรถจอดริมถนน ที่ทำให้เสียช่องจราจรไป

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :-ร้อยละของจุดที่ได้รับการแก้ไข -ระยะเวลาในการเดินทางผ่านพื้นที่ได้รับการแก้ไขลดลง ดำเนินการ 7 จุด ใน 100 วัน บริหารจัดการภาพรวมจุดที่มีการชะลอตัว มีจุดตัด มีการจอดรอ มีการหยุด จะเป็นจุดที่ก่อให้เกิดแรงเสียดทาน (friction) เล็กๆ ที่ส่งผลให้การจราจรในภาพรวมติดขัดได้ เช่น ในพื้นที่ถนน 2 เลน ที่มีเลนหนึ่งรอไฟเลี้ยวทำให้เลนที่เคลื่อนไหวได้เหลือเพียงเลนเดียว ปัญหาลักษณะนี้พบได้โดยทั่วไม่ว่าจะที่แยก จุดกลับรถ จุดตัดต่างๆ หากเราลดการหยุดได้ ลดแรงเสียดทานได้ รถจะลดการติดขัดลง

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 025 : ประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในโครงการของ กทม. 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- รับรู้ถึงความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณของโครงการต่างๆ ใน กทม. - กทม.ได้รับบทเรียนจากโครงการเก่า ๆ เพื่อนำมากำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะนำโครงการขนาดใหญ่ในอดีตมาวิเคราะห์ในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น - มิติความคุ้มค่าการลงทุน เช่น อัตราและปริมาณน้ำที่ท่อระบายน้ำยักษ์สามารถระบายได้เพิ่มเติมต่อเงินลงทุน เทียบกับการโครงการเกี่ยวกับการระบายน้ำที่ใกล้เคียง เช่น โครงการขุดลอกคูคลอง โครงการขุดลอกท่อระบายน้ำ - มิติประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น ประสิทธิภาพในการจัดการการก่อสร้าง ความตรงเวลาในการส่งมอบงาน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ตัวชี้วัด : จำนวนโครงการที่มีเงินงบประมาณสูงที่ได้รบการตรวจสอบ เป้าหมาย : 1 - 2 โครงการ - รับรู้ถึงความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณของโครงการต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร - กทม. ได้รับบทเรียนจากโครงการเก่า ๆ เพื่อนำมากำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    5.เป้าหมาย :โครงการ : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 026 : กรุงเทพฯ เดินได้ พัฒนาทางเดินเท้าคุณภาพ 1,000 กม. 1 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 1 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนย. // หน่วยงานสนับสนุน สนข., สจส.

    2.ประชาชนได้อะไร :- มีทางเท้าที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ทุกมิติทั้งด้านคุณภาพ มาตรฐานการก่อสร้าง และความร่มรื่น ซึ่งการดำเนินการพัฒนาทางเท้าจะทำอย่างเป็นระบบแบบแผนและมีการรายงานผลให้ประชาชนทราบ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะพัฒนาคุณภาพทางเท้าให้ประชาชนสามารถสัญจร อย่างน้อย 1,000 กิโลเมตร โดย 1. สร้างซ่อมดี เพื่อทางเท้าคุณภาพและคงทน กำหนดแบบก่อสร้างมาตรฐานทางเท้าใหม่ พิจารณาแบบกระเบื้องให้เรียบไม่มีตัดขอบ ให้มีมาตรฐานในการออกแบบ Universal Design มาตรฐานที่ดีในการก่อสร้างเพื่อทางเท้าคงทนแข็งแรง ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างที่กระทบต่อการเดินของประชาชนให้น้อยที่สุด ทางตัดผ่านใหม่ต้องเรียบเสมอทางเท้า และทางเท้าโล่ง สะอาดเป็นระเบียบ 2. ทางเท้ามีคุณภาพ ให้ความร่มรื่น มีการดูแลต้นไม้ริมทางด้วยรุกขกรประจำเขต ส่วนไม้พุ่มเตี้ยที่เบียดบังทางเดินจะพิจารณาปรับเป็นทางเท้าเพื่อขยายทางเดิน และหากพื้นที่ไหนเหมาะสมอาจพิจารณาพัฒนา Covered Walkway 3. จัดลำดับความสำคัญในแต่ละเขต กำหนดแผนการพัฒนาทางเท้าและเป้าหมายสั้น กลาง ยาว ให้ชัดเจน ตามความสำคัญของการใช้งาน ทางเท้าที่ประชาชนมีการสัญจรสูงและพื้นที่ที่ได้รับรายงานปัญหามาจากประชาชน 4. รายงานความก้าวหน้าให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง และติดตาม กำหนดรอบการดูแลคุณภาพการซ่อมแซม

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ตัวชี้วัด ระยะทางของทางเท้าที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพ ปี 2566 จำนวน 250 กม. ปี 2567 จำนวน 250 กม. ปี 2568 จำนวน 250 กม. ปี 2569 จำนวน 250 กม. ทางเท้าได้รับการพัฒนาเป็นทางเดินเท้าคุณภาพ ไม่น้อยกว่า 1,000 กม. 1. สร้างซ่อมดี เพื่อทางเท้าคุณภาพและคงทน กำหนดแบบก่อสร้างมาตรฐานทางเท้าใหม่ พิจารณาแบบกระเบื้องให้เรียบไม่มีตัดขอบ ให้มีมาตรฐานในการออกแบบ Universal Design มาตรฐานที่ดีในการก่อสร้างเพื่อทางเท้าคงทนแข็งแรง ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างที่กระทบต่อการเดินของประชาชนให้น้อยที่สุด ทางตัดผ่านใหม่ต้องเรียบเสมอทางเท้า และทางเท้าโล่ง สะอาดเป็นระเบียบ 2. ทางเท้ามีคุณภาพได้รับการปรับปรุงให้มีพื้นที่สำหรับปลูกไม้ยืนต้นสร้างความร่มรื่น ส่วนไม้พุ่มเตี้ยที่เบียดบังทางเดินจะพิจารณาปรับเป็นทางเท้าเพื่อขยายทางเดิน และหากพื้นที่ไหนเหมาะสมอาจพิจารณาพัฒนา Covered Walkway 3. จัดลำดับความสำคัญในแต่ละเขต กำหนดแผนการพัฒนาทางเท้าและเป้าหมายสั้น กลาง ยาว ให้ชัดเจน ตามความสำคัญของการใช้งาน ทางเท้าที่ประชาชนมีการสัญจรสูงและพื้นที่ที่ได้รับรายงานปัญหามาจากประชาชน 4. รายงานความก้าวหน้าให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง และติดตาม กำหนดรอบการดูแลคุณภาพการซ่อมแซม

    5.เป้าหมาย :กิโลเมตร : 1000

    6.Action Plan :ปรับปรุงทางเท้าที่สำนักการโยธารับผิดชอบ 40 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานข้อมูลกับสำนักงานเขต

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 027 : ทุกถนน ซอย มีทางเดิน-ปั่นสะดวก เชื่อมขนส่งสบาย ลดการใช้รถ 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน สนย., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ทางเดิน ทางจักรยานตามตรอกซอกซอย แม้ไม่มีทางเท้า - สะพานข้ามคลองส่งเสริมการเดินเชื่อมต่อ - มีตัวเลือกในการเดินทางเพิ่มเติม

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะดำเนินการ 1. ดำเนินการปรับปรุงไหล่ทาง และแนวท่อระบายน้ำให้เรียบ ไม่เป็นร่องสามารถแบ่งเป็น ทางเดินและทางจักรยาน 2. ขีดสีตีเส้นถนน พร้อมทำสัญลักษณ์ลงบนพื้นทาง เพื่อให้ชัดเจนถึงสิทธิแห่งทาง 3. นำกล่อง CCTV ร่วมสอดส่องความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทางเดิน ทางปั่น รวมถึงการกวดขันวินัยจราจรและการลุกลำเขตทาง เพื่อเชื่อมต่อเมือง โดยเฉพาะการเชื่อมต่อจากแหล่งชุมชนสู่ระบบขนส่งสาธารณะ (first/last mile) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินและการปั่น รวมถึงเพิ่มสะพานข้ามคลองขนาดเล็ก เพื่อทลาย mega block ของเมือง เพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชนด้วยทางจักรยานและทางเดินสายรอง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของถนนที่ได้รับการปรับปรุงผิวจราจรให้เป็นไปตามรายละเอียดที่กำหนด หมายเหตุ สนย.สำรวจจำนวนถนนที่ต้องแก้ไข แล้วนำมากำหนดเป็นเป้าหมายแต่ละปี 1. ดำเนินการปรับปรุงไหล่ทาง และแนวท่อระบายน้ำให้เรียบ ไม่เป็นร่องสามารถแบ่งเป็น ทางเดินและทางจักรยาน 2. ขีดสีตีเส้นถนน พร้อมทำสัญลักษณ์ลงบนพื้นทาง เพื่อให้ชัดเจนถึงสิทธิแห่งทาง เพื่อเชื่อมต่อเมือง โดยเฉพาะการเชื่อมต่อจากแหล่งชุมชนสู่ระบบขนส่งสาธารณะ (first/last mile) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินและการปั่น รวมถึงเพิ่มสะพานข้ามคลองขนาดเล็ก เพื่อทลาย mega block ของเมือง เพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชนด้วยทางจักรยานและทางเดินสายรอง

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 028 : เลียบคลองเดินได้ ปั่นปลอดภัย ทางเลียบคลองคุณภาพ 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนน. // หน่วยงานสนับสนุน สจส., สนข., สนย.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ทางเดินเลียบคลองปลอดภัย สว่าง น่าเดิน - มีตัวเลือกการเดินทางเพิ่มขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ทม.จะพัฒนาทางเดินเลียบคลอง 1. โครงสร้างพื้นฐานของทางเลียบคลอง พัฒนาให้ครบถ้วน ทั้งความต่อเนื่อง สิ่งกีดขวาง แสงสว่าง รั้ว การบำรุงรักษา กล้องวงจรปิด 2. แผนที่ทางเดินริมคลอง พัฒนาแผนที่ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ประชาสัมพันธ์เส้นทางให้ประชาชนรับทราบ เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางของประชาชน 3. ทางเดินเลียบคลองศักยภาพ คลองไหนมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวจะเสริมสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ด้วย เช่น จุดจอดรถจักรยาน จักรยานยนต์ ร้านค้า ร้านอาหาร ห้องน้ำ 4. กำหนดรอบทำความสะอาดและดูแลรักษาทางเดินเลียบคลองให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของทางเดินเลียบคลองพัฒนาให้มีความปลอดภัย สว่าง น่าเดินตัวเลือกการเดินทางเพิ่มขึ้น (พัฒนาในสายคลองที่มีทางเดินเรียบคลองอยู่แล้วก่อน) พัฒนาทางเดินเลียบคลอง 1. โครงสร้างพื้นฐานของทางเลียบคลอง พัฒนาให้ครบถ้วน ทั้งความต่อเนื่อง สิ่งกีดขวาง แสงสว่าง รั้ว การบำรุงรักษา กล้องวงจรปิด 2. แผนที่ทางเดินริมคลอง พัฒนาแผนที่ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ประชาสัมพันธ์เส้นทางให้ประชาชนรับทราบ เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางของประชาชน 3. ทางเดินเลียบคลองศักยภาพ คลองไหนมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวจะเสริมสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ด้วย เช่น จุดจอดรถจักรยาน จักรยานยนต์ ร้านค้า ร้านอาหาร ห้องน้ำ 4. กำหนดรอบทำความสะอาดและดูแลรักษาทางเดินเลียบคลองให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 029 : อาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) ตัวช่วยด้านเทคโนโลยีสำหรับคนกรุงเทพฯ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สพส. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับการประกอบธุรกิจของรายย่อยในชุมชน - เพิ่มตัวเลือกให้กับผู้บริโภค และได้สนับสนุนผู้ค้ารายย่อย - สร้างงาน สร้างโอกาส สำหรับแรงงานและผู้ประกอบการในกรุงเทพฯ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ในปัจจุบันองค์ความรู้เกี่ยวกับดิจิทัลเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิตในมิติต่าง ๆ เช่น - การรักษาสิทธิและผลประโยชน์จากรัฐ เช่น การลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง การลงทะเบียนโครงการเราเที่ยวด้วยกัน - การประกอบธุรกิจและขยายโอกาสทางธุรกิจ เช่น การขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ ปัญหาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจและการเข้าถึงเทคโนโลยีเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย และ ประชาชนผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปี ในกรุงเทพฯ มีประมาณมากกว่า 1.1 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของประชากรกรุงเทพฯ ทั้งหมด [1] ดังนั้น กทม.จะพัฒนาเครือข่ายคนรุ่นใหม่ให้เป็นอาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางด้านดิจิทัลของประชาชน เช่น - การช่วยเหลือประชาชน และ ผู้สูงอายุในการลงทะเบียนรักษาสิทธิต่าง ๆ ของรัฐ - การช่วยพ่อค้าหาบเร่แผงลอยในการเข้าถึงตลาดออนไลน์ - การช่วยคนขับรถในการเข้าถึงแพลตฟอร์มรับงานขับรถออนไลน์ - การช่วยแรงงานฝีมือในชุมชนเข้าถึงแพลตฟอร์มหางาน และการเก็บข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ - การเก็บข้อมูลผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน - ช่วยเหลือคนในชุมชน (โดยเฉพาะผู้สูงอายุ) ในการใช้บริการ Telemedicine - การช่วยเหลือคนพิการลงทะเบียนบัตรคนพิการ ให้ลดการตกหล่นของคนพิการที่เข้าไม่ถึง รวมถึงการเข้าถึงสิทธิของคนพิการที่มักจะต้องมีบัตรคนพิการในการยืนยันตัวตน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :สร้างหลักสูตรที่เหมาะสมสำหรับการอบรมอาสาสมัครเทคโนโลยีสำหรับคนกรุงเทพฯ

    5.เป้าหมาย :หลักสูตร : 1

    6.Action Plan :1. อยู่ระหว่างการขอจัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดทำโครงการจ้างเหมาบริการอาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) 2. ศึกษา รวบรวม และพัฒนาหลักสูตร Digital Skill ที่เหมาะสม

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 030 : ออกแบบเรื่องราวให้เมือง ผ่าน digital experience economy 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สพส. // หน่วยงานสนับสนุน สปส., สวท., สกต., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ผู้ประกอบการในพื้นที่มีรายได้มากขึ้นจากการขยายโอกาสทางการค้าและกลุ่มลูกค้า - ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวมีโอกาสเข้าถึงสินค้าและการบริการที่หลากหลายมากขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :จากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวลดลง ส่งผลให้กิจการโดยเฉพาะการขายประสบการณ์และวัฒนธรรมในเชิงกายภาพ (physical experience) ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ดังนั้นเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบให้สามารถกลับมามียอดขายและเติบโตได้ในช่วงวิกฤต กทม.จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการสร้างเศรษฐกิจและการค้าผ่านการสร้างประสบการณ์ดิจิทัลให้กับลูกค้า (digital experience economy) เช่น การเพิ่มการสอนเวิร์กช็อปออนไลน์ (เช่น เตรียมอุปกรณ์วัตถุดิบส่งไปให้ลูกค้าก่อน แล้วจัดการสอนออนไลน์) และการจัดทำดิจิทัลคอนเทนต์ช่วยโปรโมตกิจกรรมผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การโฆษณาออนไลน์ การชูกิจกรรมเหล่านี้ให้กับลูกค้าได้เห็นผ่านเครื่องมือทางซอฟต์พาวเวอร์ เช่น ละคร ซีรีส์ หนัง ดนตรี โดยการสอนนี้จะเป็นการสร้าง digital experience economy ให้กับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานฝีมือและงานประดิษฐ์ได้ โดย กทม.จะเข้าไปช่วยผู้ประกอบการ ตั้งแต่การออกแบบกิจกรรม ไปจนถึงการประสานงานกับเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเนื้อหาออนไลน์และการจัดส่งสินค้า (อ้างอิงเนื้อหา digital experience economy จากแนวคิดของ คุณสันติธาร เสถียรไทย)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนกิจกรรมที่ส่งเสริมผู้ประกอบการด้านดิจิทัล

    5.เป้าหมาย :กิจกรรม : 2

    6.Action Plan :จัดกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อยกระดับสู่ผู้ผลิตสินค้าเชิงนวัตกรรม โดยพัฒนาศักยภาพในเชิงธุรกิจดิจิทัลและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 031 : สร้างซ่อมดี เพื่อทางเท้าคุณภาพและคงทน 1 5 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 1 โครงการ กำลังดำเนินการ : 5 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนย. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้รับการส่งเสริมการเดินผ่านทางเท้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอารยสถาปัตย์ (universal design) และการซ่อมแซมที่รวดเร็ว

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะเข้าไปยกระดับ ควบคุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่ 1. รายละเอียดทุกขั้นตอนการก่อสร้างเพื่อให้ถูกต้องและตรงตามแบบที่สุด เช่น วัสดุที่นำมาจัดสร้าง ทางลาด ต้องลาดตามองศาที่ถูกต้อง เบรลล์บล็อกกระเบื้องนำทางผู้มีข้อจำกัดด้านการมองเห็นจะต้องติดตั้งถูกต้อง ฝาท่อจะต้องสมบูรณ์และเรียบเสมอทางเท้า ใช้งานได้จริง และจะไม่รับงานที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน รวมทั้งจะต้องดำเนินกันแบ่งส่วนพื้นที่ทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา 2. ให้ประชาชนช่วยแจ้งปัญหาทางเท้าผ่านฟองดูว์ 3. เมื่อเกิดเหตุต้องซ่อมแซมจะต้องซ่อมให้เร็วและมีคุณภาพ ซ่อมถึงต้นตอปัญหา โดย กทม.จะต้องเร่งรัดและติดตามให้ผู้รับเหมามาดำเนินการแก้ไขให้รวดเร็วที่สุด นอกจากนี้หากพังในระยะเวลาอันสั้นและไม่ได้เกิดจากปัจจัยอื่นๆ กทม.จะขึ้นบัญชีดำผู้รับเหมาไม่ให้ประมูลงานอีก 4. การจัดการพื้นที่ก่อสร้างจะต้องติดป้ายเตือนชัดเจน ล้อมกั้นพื้นที่ก่อสร้างให้ชัดและเท่าที่จำเป็น เบียดบังทางเดินสัญจรให้น้อยที่สุด และต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ทาง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของทางเท้าที่ได้ดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด หมายเหตุ สนย.กำหนดจำนวนโครงการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด มากำหนดเป็นเป้าหมายแต่ละปี สนย.บริหารจัดการภาพรวมยกระดับ ควบคุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่ 1. รายละเอียดทุกขั้นตอนการก่อสร้างเพื่อให้ถูกต้องและตรงตามแบบที่สุด และจะไม่รับงานที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน รวมทั้งจะต้องดำเนินกันแบ่งส่วนพื้นที่ทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา 2. ให้ประชาชนช่วยแจ้งปัญหาทางเท้าผ่านฟองดูว์ 3. เมื่อเกิดเหตุต้องซ่อมแซมจะต้องซ่อมให้เร็วและมีคุณภาพ ซ่อมถึงต้นตอปัญหา โดย กทม.จะต้องเร่งรัดและติดตามให้ผู้รับเหมามาดำเนินการแก้ไขให้รวดเร็วที่สุด นอกจากนี้หากพังในระยะเวลาอันสั้นและไม่ได้เกิดจากปัจจัยอื่นๆ กทม.จะขึ้นบัญชีดำผู้รับเหมาไม่ให้ประมูลงานอีก 4. การจัดการพื้นที่ก่อสร้างจะต้องติดป้ายเตือนชัดเจน ล้อมกั้นพื้นที่ก่อสร้างให้ชัดและเท่าที่จำเป็น เบียดบังทางเดินสัญจรให้น้อยที่สุด และต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ทาง

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :ซ่อมทางเท้าแล้วจำนวน 241 จุด ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจทางเท้า

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 032 : ขยายระบบการติดตามและแจ้งเตือนฝุ่นสู่ระดับแขวง 1,000 จุด 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :ได้รับรู้ถึงสถานการณ์ฝุ่นที่ละเอียดในระดับแขวงและย่าน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม. จะเพิ่มจุดตรวจวัดมลพิษผ่านการติดตั้งเซนเซอร์ต้นทุนไม่สูง (low cost sensor) โดย กทม. ติดตั้งเองหรือให้เอกชนมีส่วนร่วม

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศหรือเซนเซอร์วัดฝุ่นละอองที่กระจายอยู่ในระดับแขวง จำนวน 512 จุด ภายใน 100 วัน

    5.เป้าหมาย :จุด : 1000

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 033 : ทางตัดผ่านใหม่ต้องเรียบเสมอทางเท้า 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนย. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้บางทางตัดผ่านและทางข้าม เรียบเสมอทางเท้า - ได้ทางตัดผ่านและทางข้าม เรียบและลาดเอียงถูกต้อง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะเข้มงวดเรื่องทางตัดผ่านโดยเฉพาะทางตัดใหม่ที่ต้องดำเนินให้ตรงตามระเบียบเพื่อให้ความสำคัญกับการเดินเท้า ในส่วนทางตัดเดิมจะตรวจสอบเก็บข้อมูล ดูองศาเพื่อพิจารณาหาทางปรับปรุงให้เป็นมิตรกับคนสัญจรทางเท้าต่อไป

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของทางเท้าได้รับการปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานของ UD. (สนย.สำรวจทางเท้าที่ต้องมีการแก้ไขตัดให้เรียบเสมอ และนำมากำหนดเป็นเป้าหมายแต่ละปี) -ทางตัดใหม่ที่ต้องดำเนินปรับปรุงทางตัดผ่านให้ตรงตามระเบียบเพื่อให้ความสำคัญกับการเดินเท้า -ทางตัดเดิมจะตรวจสอบเก็บข้อมูล ดูองศาเพื่อพิจารณาหาทางปรับปรุงให้เป็นมิตรกับคนสัญจรทางเท้าต่อไป กทม.จะเข้มงวดเรื่องทางตัดผ่านโดยเฉพาะทางตัดใหม่ที่ต้องดำเนินให้ตรงตามระเบียบเพื่อให้ความสำคัญกับการเดินเท้า ในส่วนทางตัดเดิมจะตรวจสอบเก็บข้อมูล ดูองศาเพื่อพิจารณาหาทางปรับปรุงให้เป็นมิตรกับคนสัญจรทางเท้าต่อไป

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 034 : ลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในชั่วโมงเร่งด่วนบริเวณ Low Emission Zone 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สสล. // หน่วยงานสนับสนุน สจส., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองที่ลดความเสี่ยงด้านมลพิษ - ได้รับสิทธิประโยชน์จากการใช้รถขนส่งสาธารณะ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :1. กทม. ร่วมมือกับเอกชนย่านธุรกิจ ผลักดัน work from home หรือเหลื่อมเวลา 2. กทม. หารือภาคเอกชน โดยเฉพาะไซต์งานก่อสร้าง และธุรกิจขนส่งเลี่ยงเส้นทางรถบรรทุกใน Low Emission Zone

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :พื้นที่มีมลพิษเกินมาตรฐาน.........แห่ง มลพิษจากไอเสียรถยนต์เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของ PM2.5 ในกรุงเทพฯบริหารจัดการภาพรวมในการประสานงานกับเอกชนเพื่อลดปริมาณรถยนต์บนท้องถนน ผลักดันให้เกิด Low Emission Zone โดย 1. กทม. ร่วมมือกับเอกชนในย่านธุรกิจเพื่อผลักดันให้เกิดการ work from home หรือเหลื่อมเวลาการทำงาน 2. กทม. หารือกับภาคเอกชน โดยเฉพาะไซต์งานก่อสร้าง และธุรกิจขนส่งสินค้าในการเลี่ยงเส้นทางของรถบรรทุกในบริเวณ Low Emission Zone หรือบริเวณที่มีมลพิษสูงอื่นในเขตกรุงเทพมหานคร

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 035 : นำร่อง covered walkway หลังคาทางเดินกันเปียกกันร้อนในจุดเชื่อมต่อ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน สนย.

    2.ประชาชนได้อะไร :- สามารถใช้ขนส่งสาธารณะได้ครอบคลุมทุกสภาพอากาศมากยิ่งขึ้น - ได้สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเดิน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะนำร่องสร้าง covered walkway หลังคาเพื่อป้องกันแดดและฝนให้กับผู้สัญจร 1. โครงสร้างไม่เกะกะทางเท้า หากมีอาคารหรือรั่วเดิมจะพิจารณาอาศัยโครงสร้างเดิมให้การสร้าง covered walkway 2. ออกแบบให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา 3. ติดตั้งไฟให้สว่างสามารถเดินในยามคำคืนอย่างปลอดภัย โดยใช้พลังงานจาก Solar Cell 4. พิจารณานำร่องในเส้นทางที่มีปริมาณการใช้งานหนาแน่น หรือเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :สำนักการจราจรและขนส่งต้องจัดทำรายงานการศึกษา พร้อมจัดลำดับความสำคัญพื้นที่ที่จำเป็นต้องสร้างหลังคาคลุมทางเดิน โดยเฉพาะจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง 1 รายงาน แสดงจำนวนพื้นที่เหมาะสมเพื่อดำเนินการ...........แห่ง บริหารจัดการในการกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการนำร่องสร้าง covered walkway หลังคาเพื่อป้องกันแดดและฝนให้กับผู้สัญจร 1. โครงสร้างไม่เกะกะทางเท้า หากมีอาคารหรือรั่วเดิมจะพิจารณาอาศัยโครงสร้างเดิมให้การสร้าง covered walkway 2. ออกแบบให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา 3. ติดตั้งไฟให้สว่างสามารถเดินในยามคำคืนอย่างปลอดภัย โดยใช้พลังงานจาก Solar Cell 4. พิจารณานำร่องในเส้นทางที่มีปริมาณการใช้งานหนาแน่น หรือเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ

    5.เป้าหมาย :1 แห่ง : 2

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 036 : ดึงอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจ 50 ย่านทั่วกรุงเทพฯ 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้มีส่วนร่วมกับย่านต่าง ๆ ตลอดทั้งปี ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียน - ผู้บริโภคเข้าถึงสิ่งใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มตัวเลือกในการจับจ่ายใช้สอย - ผู้ประกอบการได้โอกาสเพิ่มช่องทางหารายได้ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- กทม. จะส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ (hard infrastructure) เช่น พัฒนาการเชื่อมต่อของย่านให้เข้าถึงได้ง่าย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมองค์ความรู้ ข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้อง การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ (soft infrastructure) - ตั้งต้นจากต้นทุนเดิมที่แต่ละละแวกมี เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของย่าน เช่น การสนับสนุนรวมกลุ่มของผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ การช่วยประสานงานกับสถาบันทางการเงินเพื่อหาสินเชื่อต้นทุนต่ำ ช่วยส่งเสริมการจัดการกิจกรรมเพื่อดึงดูดลูกค้าและนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้จ่ายที่ย่าน (เช่น การจัด one day trip การจัดถนนคนเดิน) และการเสริมกิจกรรมจนกลายเป็น ‘ย่าน’ ที่แข็งแรง ดึงดูดผู้คนเข้ามาและเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ แนวทางการพัฒนา ได้แก่ -ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy District) -ย่านธุรกิจ-เศรษฐกิจการค้า -ย่านรับจ้างผลิต OEM (Original Equipment Manufacturer) -ย่านสตรีทฟู้ด -ย่านที่เป็น Node สำคัญ -ย่านนวัตกรรม

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนย่านที่ได้รับการพัฒนาให้มีอัตลักษณ์ทั้ง กทม.

    5.เป้าหมาย :ย่าน : 20

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 037 : ตรวจจับรถควันดำจากต้นตอ 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สสล. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :ได้อากาศที่มลพิษน้อยลงจากการตรวจจับมลพิษที่ต้นทาง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :1. ตรวจสอบรถบรรทุกเชิงรุกจากต้นทางพร้อมกับออกใบรับรองฯ ส่วนรถบรรทุกที่ไม่ผ่านมาตรฐานจะมีการจำกัดการใช้งานจนกว่าจะแก้ไขแล้วเสร็จ 2. ตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างและรถบรรทุกที่เข้ามาในพื้นที่ หากตรวจพบผู้กระทำความผิดจะพิจารณากำหนดโทษ ตั้งแต่การตักเตือน ไปจนถึงหยุดก่อสร้าง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :1) ร้อยละของจานวนยานพาหนะเป้าหมายได้รับการตรวจสอบ (ร้อยละ 100 ต่อปี) 2) ร้อยละของการให้ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐาน (ร้อยละ 100 ต่อปี) 3) ร้อยละของจานวนรถราชการในสังกัด กทม. ได้รับการตรวจสอบ/ปรับปรุงแก้ไขให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ 100 ต่อปี)

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1. การประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ 2. การมีส่วนร่วมของประชาชน 3. X-ray รถควันดำ 4. กิจกรรมตรวจร่วมวัดรถยนต์ปล่อยควันดำในพื้นที่กรุงเทพมหานครและรับการตรวจรถสายตรวจเทศกิจตามรอบเวลาที่กำหนด

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 038 : ส่งเสริมให้ผู้ค้าแผงลอยมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้โอกาสสำหรับหาบเร่ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน พื้นที่ และการบริหารจัดการที่มั่งคง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :หาบเร่แผงลอยเป็นกลไกที่สำคัญในเชิงเศรษฐกิจต่อคนกรุงเทพฯ ทั้งในแง่การเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจฐานรากและการเป็นแหล่งอาหารราคาประหยัดเพื่อลดค่าครองชีพให้กับคนเมือง (อ้างอิงจากกิจกรรม ‘ชัชชาติชวนคิด’ ที่สอบถามความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับมุมมองที่มีต่อหาบเร่แผงลอย [1]) ดังนั้น เพื่อพัฒนาให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยมั่นคงขึ้น สามารถต้านทานสภาวะทางเศรษฐกิจที่ผันผวนสูงได้ กทม.จะสนับสนุนให้ผู้ค้ามีความมั่นคงในการค้า (social mobility) ผ่านการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ 1. การจัดหาเงินทุน - กทม.ประสานข้อมูลการค้า ข้อมูลการดำเนินการในอดีต และขีดความสามารถในการทำการค้าของผู้ค้าให้กับสถาบันทางการเงินของรัฐและเอกชนเพื่อจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ลดต้นทุนในการทำธุรกิจ 2. การบริหารจัดการ - กทม.ประสานงานกับ อสท. (อาสาเทคโนโลยี) ประจำชุมชนให้ช่วยเหลือในด้านการบริหารจัดการภายในร้านค้า (เช่น จัดการสินค้าคงคลัง การจัดการรายรับ-รายจ่าย) ผ่านการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการควบคุม 3. การจัดหาพื้นที่ - กทม.ประสานงานกับเอกชนและภาครัฐในพื้นที่เพื่อจัดหาพื้นที่เช่าราคาประหยัดสำหรับผู้ค้าที่ต้องการพื้นที่ทำการค้าถาวร

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนแนวทางการส่งเสริมให้ผู้ค้าแผงลอยมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ

    5.เป้าหมาย :แนวทาง : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 039 : สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ค้าแผงลอย ภาคประชาชน และเอกชนในพื้นที่ ช่วยดูแลพื้นที่การค้า 0 5 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 5 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบของการทำพื้นที่การค้าขายหาบเร่ในเขตที่อยู่อาศัยและใช้ชีวิต - ได้หาบเร่แผงลอยที่สวยงามสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของพื้นที่

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะพัฒนาการมีส่วนร่วมของของภาคประชาชน ทั้งผู้ค้าและประชาชนในพื้นที่ ดังนี้ 1. พิจารณาปรับเพิ่มสัดส่วนคณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยระดับเขต ในส่วนผู้แทนการค้าและภาคประชาชน ได้แก่ ตัวแทนผู้ค้าหาบเร่แผงลอย ตัวแทนประชาชนในพื้นที่ และตัวแทนผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อให้แต่ละพื้นที่มีอิสระในการกำหนดลักษณะของแผงค้า หรือจำนวนแผงค้าที่เหมาะสมและเป็นระเบียบเรียบร้อยสำหรับย่าน 2. เพิ่มการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ผ่านการประยุกต์ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้การบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในย่านนั้นๆ 3. เพิ่มการเผยแพร่ข้อมูลพื้นที่การค้าให้โปร่งใสตั้งแต่วิธีการกำหนดลักษณะของพื้นที่ค้า ไปจนถึงจำนวนและประเภทการค้าในพื้นที่ 4. ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาลักษณะร้านค้า เช่น ลักษณะสีของร้าน ร่ม ให้สอดคล้องกับที่คณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยระดับเขตกำหนด โดยคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นกำลังสำคัญในการกำหนดหลักการที่เหมาะสมสำหรับการทำการค้าในแต่ละพื้นที่ เช่น ขนาดของทางเท้าที่เหมาะสม (แต่ต้องไม่น้อยกว่าหลักการตามมาตรฐานอารยสถาปัตย์ (universal design)) รูปแบบของการค้าและจำนวนแผงค้า หลักเกณฑ์ในการเข้าร่วม (แต่ต้องมีความเป็นธรรมให้กับทุกคนในพื้นที่)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนพื้นที่ที่ได้ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการกำหนดรูปแบบการค้า

    5.เป้าหมาย :พื้นที่ : 55

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 040 : ทำฐานข้อมูลผู้ค้าแผงลอยพร้อมติดตามการดำเนินการ 0 7 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 7 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนท. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :ได้เมืองที่มีแหล่งสินค้าและอาหารแผงลอยที่ได้รับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะทำการขึ้นทะเบียนหาบเร่แผงลอยในพื้นที่ทั้งหมด โดยเก็บข้อมูล เช่น - พิกัดจุดขาย สำหรับการติดตามและดูแลให้ผู้ค้าประกอบกิจการภายในพื้นที่ที่กำหนดไว้ - ข้อมูลผู้ค้าและผู้ช่วยการค้า สำหรับการดูแลอบรมผู้ค้าเพิ่มศักยภาพในการขาย (เช่น การอบรมแนวทางการรักษาความสะอาดของพื้นที่ สุขอนามัยอาหาร) และการป้องกันการสวมสิทธิของผู้ค้าที่ไม่ได้รับอนุญาต - ข้อมูลรายละเอียดสินค้าและบริการที่ทำการจำหน่าย สำหรับการเก็บสถิติและข้อมูลของกทม. เพื่อนำมาพัฒนาโครงการเพื่อส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่ายและลดต้นทุนให้กับผู้ค้า - ข้อมูลการร้องเรียนจากประชาชนและปัญหาจากการลงพื้นที่สุ่มตรวจคุณภาพการให้บริการของหาบเร่แผงลอย สำหรับการประเมินการต่อใบอนุญาตการทำการค้าในพื้นที่

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนผู้ค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน

    5.เป้าหมาย :ราย : 3500

    6.Action Plan :1. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดระเบียบการค้าหาบเร่ – แผงลอย

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 041 : เตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมรองรับพื้นที่การค้าหาบเร่แผงลอย 0 5 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 5 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนท. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- พื้นที่การค้าหาบเร่แผงลอยที่มีการจัดการด้านความสะอาดอย่างเป็นระบบ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะพัฒนาโครงสร้างพื้นที่จำเป็นโดยเฉพาะด้านความสะอาด ได้แก่ การจัดตั้งจุดทิ้งและจุดแยกขยะรวม บ่อดักไขมัน (รูปแบบสามารถเป็นรถเข็นที่มีบ่อดักไขมันและจุดทิ้งขยะได้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บสำหรับบางพื้นที่) พร้อมกับกำหนดแนวทางในการทำความสะอาดพื้นที่ร่วมกันระหว่าง กทม.และผู้ประกอบการในพื้นที่ โดย กทม.และกลุ่มผู้ค้าจะเป็นกำลังหลักในการช่วยกันดูแลพื้นที่สาธารณะให้สะอาดอยู่เสมอ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :พื้นที่การค้าหาบเร่แผงลอยที่มีการจัดการด้านความสะอาดอย่างเป็นระบบ

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 55

    6.Action Plan :โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดระเบียบการค้า หาบเร่ แผงลอย ไม่ใช้งบประมาณ

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 042 : หาพื้นที่ของเอกชนหรือหน่วยงานราชการที่สามารถจัดเป็นพื้นที่ขายของสำหรับหาบเร่หรือศูนย์อาหาร (hawker center) 0 5 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 5 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนท. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :พื้นที่การค้าสำหรับหาบเร่ที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบไม่กีดขวางการสัญจร

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะเป็นตัวกลางในการร่วมมือกับรัฐและเอกชนในการจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาเป็นศูนย์อาหาร

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนพื้นที่ขายของสำหรับหาบเร่หรือศูนย์อาหาร พื้นที่การค้าสำหรับหาบเร่ที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบไม่กีดขวางการสัญจร

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 125

    6.Action Plan :โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดระเบียบการค้า หาบเร่ แผงลอย ไม่ใช้งบประมาณ

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 043 : ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมิน ผอ.เขต และผู้ว่าฯ กทม. 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :มีโอกาสประเมินผลการทำงานของ ผอ.เขต และผู้ว่าฯ กทม. ทำให้ประชาชนมีส่วนกำหนดทิศทางการทำงานของ กทม. และทำให้การเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น ด้านผู้ปฏิบัติงานได้รับฟีดแบกการทำงานจากประชาชน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการการจัดลำดับความสำคัญของโครงการและการใช้งบประมาณทั้งในระดับเขตและระดับ กทม. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ว่าฯ กทม. และ สำนักงานเขต โดยผลการประเมินจะถูกใช้เป็นหนึ่งในมิติการประเมินผลรอบด้าน (360 degree feedback)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ครั้งในการประเมินความพึงพอใจการปฎิบัติงานของ ผอ.เขต และ ผว.กทม.

    5.เป้าหมาย :หน่วยงาน : 77

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 044 : สร้างการสื่อสารสองทางระหว่าง กทม.และประชาชนผ่านสภาคนเมืองประจำเขต 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สพส. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :-ได้สื่อสารถึงปัญหาที่พบในพื้นที่ -รับฟังความคืบหน้าในการปฏิบัติงานของสำนักงานเขต

    3.กทม.จะทำอย่างไร :พัฒนาการประชุมสภาคนเมืองประจำเขตขึ้น โดยขยายขอบเขตการพูดคุยเพื่อให้ครอบคลุมประชาชนกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ด้วยโครงสร้างประชาคมเขต ซึ่งจะเป็นการรวบรวมตัวแทนประชาชน การประชุมสภาคนเมืองนี้จะจัดขึ้นทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้มากที่สุด

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนสำนักงานเขตที่มีเครือข่ายประชาสังคมร่วมเป็นสภาคนเมือง

    5.เป้าหมาย :เขต : 10

    6.Action Plan :1. โครงการสร้างการสื่อสารสองทางระหว่าง กทม.และประชาชนผ่านเครือข่ายประชาสังคม ประจำเขต

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 045 : พัฒนาแพลตฟอร์มรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับนโยบาย 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางนโยบายของกรุงเทพฯ - ได้นโยบายที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :นโยบายทั้งหมดที่พัฒนาจะนำเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเพื่อให้ได้นโยบายกรุงเทพฯ ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนแพลตฟอร์มรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

    5.เป้าหมาย :แพลตฟอร์ม : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 046 : ให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดงบประมาณ กทม. (participatory budgeting) 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สงม. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการใช้งบประมาณของเขตและ กทม.

    3.กทม.จะทำอย่างไร :1. เปิดช่องทางในการนำเสนอแนวความคิดและข้อเสนอแนะจากภาคประชาชนโดย กทม. จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางรวบรวมและจัดกลุ่มแนวความคิดที่มีความคล้ายคลึงกัน 2. ประสานงานกับกลุ่มประชาชนและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อนำแนวคิดมาเขียนเป็นโครงการพัฒนาเมืองเพื่อให้เนื้อหามีความครบถ้วนขึ้น 3. จัดเวทีในการนำเสนอโครงการต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากแนวคิดของประชาชนเพื่อนำไปสู่การลงคะแนนคัดเลือกโครงการจากภาคประชาชน โดยการลงความคิดเห็นจะต้องมีการกำหนดปริมาณ ขั้นต่ำของประชาชนที่จะมาลงคะแนนเพื่อป้องกันปัญหาการในเชิงการดำเนินการที่อาจเกิดขึ้นได้ 4. กำหนดเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณที่จะถูกนำมาใช้ลงทุนในโครงการ ที่ได้รับการคัดเลือกจากประชาชนจากนั้น นำกลุ่มโครงการที่ได้รับเลือกจากประชาชนมากที่สุดไปปฏิบัติจริงโดยตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่าง กทม. และประชาชนเจ้าของโครงการ พร้อมกับรายงานความคืบหน้าของการปฏิบัติงานให้ประชาชนทั่วไปและผู้ว่า กทม. ได้รับทราบเป็นระยะ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ตัวชี้วัด : กรุงเทพมหานครมีการวิเคราะห์จัดสรรงบประมาณแบบมีส่วนร่วมก่อนจัดสรรงบประมาณปีถัดไป เพื่อจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ของ 50 เขต เฉพาะงบลงทุน ประเภทค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่โครงการ/รายการผูกพัน ในการเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567

    5.เป้าหมาย :ชุด : 1

    6.Action Plan :1. การจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วมของ ประชาชน Participatory Budgeting

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 047 : สภาเมืองคนรุ่นใหม่ 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สวท. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- พื้นที่ในการรับฟังเสียงและความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ - ได้โครงการที่ดำเนินการโดยคนรุ่นใหม่เพื่อคนรุ่นใหม่

    3.กทม.จะทำอย่างไร :1. สื่อสารให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่รับรู้ถึงโครงสร้างสภาเด็กและเยาวชนเขตและกรุงเทพมหานครผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การประกาศตามโรงเรียน รัฐและเอกชน การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อทั้งขยายโครงสร้างของสภาเยาวชนให้ครอบคลุมมากเด็กและเยาวชนกลุ่มต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น 2. ส่งเสริมหน้าที่ให้สภาเด็กและเยาวชนเป็นพื้นที่ปลอดภัย (ทั้งออนไลน์ และ ออฟไลน์ ตัวแทนสภาเยาวชนตามสถาบันการศึกษา การจัดสภาเด็กและเยาวชนสัญจรตามพื้นที่ต่าง ๆ) ในการนำเสนอปัญหาและประเด็นต่าง ๆ ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษา ปัญหาเกี่ยวกับการทุจริตในโรงเรียน 3. เอาใจใส่ในการรับฟังความคิดเห็นของสภาเด็กและเยาวชน โดยสร้างช่องทางการสื่อสารโดยตรงกับ ผู้ว่าฯ กทม. และ ผอ.เขต เพื่อสร้างเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ 4. จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีอิสระ สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ได้ (เพิ่มเติมจากที่กรมกิจการเด็กและเยาวชน และ กทม. มีให้ในปัจจุบัน) โดยงบประมาณเหล่านี้จะต้องสามารถเบิกและใช้ได้จริงจากเด็กและเยาวชน 5. เพิ่มการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนในโครงการและการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนของ กทม. 6. อำนวยความสะดวกในการทำงานของสภาเด็กและเยาวชนโดยจัดเตรียมสถานที่ที่เหมาะสมให้กับการประชุมกันของสภาเด็กและเยาวชนโดยให้มีที่ทำการอย่างน้อยครอบคลุมครบทั้ง 50 เขต

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1. โครงการ/กิจกรรมค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมกิจการสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 048 : พัฒนาพื้นที่ปลอดฝุ่น (BKK Clean Air Area) ด้วยต้นไม้สำหรับพื้นที่เปิด ด้วยเครื่องฟอกอากาศสำหรับพื้นที่ปิด 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สสล. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :ได้พื้นที่ที่มีอากาศสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :1. พื้นที่เปิดโดย กทม.จะปลูก (ปลูกเองและสนับสนุนให้เอกชนนำกล้าไปปลูก) และบำรุงรักษาต้นไม้ที่ช่วยดักจับและกรองฝุ่นที่จะเข้ามาในพื้นที่ เช่น ต้นไม้ที่ลักษณะใบมีขนหรือขรุขระ 2. พื้นที่ปิดผ่านการสนับสนุนการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศโดยเฉพาะในสถานที่ที่มีกลุ่มเปราะบางและประชาชนหนาแน่น เช่น ห้องเรียน โรงพยาบาล รถสาธารณะ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 049 : ปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง 0 5 1 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 5 โครงการ แล้วเสร็จ : 1 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สสล. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :-ได้พื้นที่สีเขียวและร่มเงาในเมือง -ได้กำแพงกรองฝุ่นจากต้นไม้ในพื้นที่ประชาชนหนาแน่น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :1. ปลูกเพื่อลดฝุ่นและมลพิษ 2. ปลูกให้เกิดร่มเงาในการใช้ชีวิต 3. ปลูกเพื่อส่งเสริมความหลากหลายของระบบนิเวศน์เมือง 4. ปลูกให้ชุมชนมีรายได้ 5. ปลูกให้คนและต้นไม้โตไปพร้อม ๆ กัน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ต้น : 1000000

    6.Action Plan :1. โครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 050 : พยากรณ์ แจ้งเตือน ป้องกันฝุ่น PM2.5 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ปลอดภัยจากฝุ่น PM2.5 โดยเฉพาะประชาชนในกลุ่มเปราะบางและประชาชนที่ต้องทำงานกลางแจ้ง - รับรู้ถึงสถานการณ์ฝุ่นได้อย่างสะดวกไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไรอยู่ - รับข้อมูลการพยากรณ์ฝุ่นที่แม่นยำในระดับชั่วโมงและระดับพื้นที่

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม. จะต้องดำเนินการเรื่องฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่พยากรณ์ แจ้งเตือน และป้องกัน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 051 : เปิดเผยข้อมูลศักยภาพสูงของ กทม. (Open Bangkok) 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สยป. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :เข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพจากหน่วยงานภาครัฐ สามารถนำไปตรวจสอบ พัฒนา และต่อยอดได้จริง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :จัดระบบการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมให้มีคุณภาพ ไม่ซ้ำซ้อน เป็นปัจจุบัน และครอบคลุมข้อมูลศักยภาพสูง (High Value Dataset ของ DGA เช่น ข้อมูลด้านการศึกษา ด้านการเงิน ด้านสุขภาพ ข้อมูลสถิติ) หรือตามมาตรฐาน OCDS

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :กิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลสำคัญของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ตามตัวชี้วัดขององค์ประกอบที่ 5.2

    5.เป้าหมาย :ชุดข้อมูล : 150

    6.Action Plan :1. การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐหน่วยงานสังกัด กทม. 2. โครงการจัดหาระบบสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 1 (งบประมาณปี 2567 จำนวน 50,000,000)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 052 : พัฒนาแบบจำลองเสมือนกรุงเทพฯ (Digital Twin) เพื่อใช้วางแผนและแก้ปัญหาเมือง 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :1. คุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ดีขึ้นจากการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เช่น การไหลเวียนของฝุ่น ผลกระทบจากการซ่อมแซมถนน (โดยใช้ข้อมูลจำลองจากแบบจำลองเสมือนกรุงเทพฯ ที่รวบรวมข้อมูลสาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งหมดเข้าด้วยกัน) 2. มีระบบฐานข้อมูลที่ช่วยในการบริหารจัดการเมือง 3. วางแผนพัฒนากรุงเทพฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :1.ใช้ข้อมูลแสดงตำแหน่งที่ตั้งอาคารที่อยู่อาศัยของประชาชนมาประกอบเป็นปัจจัยในการตัดสินใจก่อนอนุมัติกา รซ่อมบำรุงถนน 2. เลือกจุดสำหรับการขุดเจาะไม่ให้กระทบกับทางเข้า-ออกตัวอาคาร เพื่อลดผลกระทบต่อการสัญจรของประชาชนให้มากที่สุด

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ฐานข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์และเชื่อมโยงเพื่อการบริหารจัดการเมือง

    5.เป้าหมาย :ฐานข้อมูล : 90

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 053 : เปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างครอบคลุมทั้งของ กทม.และกรุงเทพธนาคม 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สกก. // หน่วยงานสนับสนุน กรุงเทพธนาคม, ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :เปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างที่ครอบคลุมทั้งข้อมูลของ กทม. และองค์การที่อยู่ในการดูแลของ กทม. เช่น กรุงเทพธนาคม โดยอ้างอิงการเปิดเผยข้อมูลตาม OCDS ซึ่งครอบคลุมรายละเอียดข้อมูลตั้งแต่ การวางแผนโครงการ การยื่นซองเสนอราคา การตัดสินผู้ชนะ การจัดทำสัญญา และการดำเนินโครงการ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :หน่วยงานมีการรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี

    5.เป้าหมาย :หน่วยงาน : 78

    6.Action Plan :1. กิจกรรรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 054 : วิเคราะห์ข้อมูลเมือง ต่อยอดสู่การแก้ไขปัญหา 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- นโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาเมืองที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้าน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะนำข้อมูลมาพัฒนาอย่างน้อยตามประเด็นดังนี้ 1. พัฒนา BKK Risk Map แผนที่จุดความเสี่ยงประเภทต่างๆ ของเมือง เช่น บริเวณจุดเสี่ยงน้ำท่วม บริเวณที่เกิดอาชญากรรม บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ 2. วิเคราะห์การกักตัวหรือจุดอันตรายฝุ่น PM2.5 หนาแน่น 3. วิเคราะห์การเข้าถึงบริการของภาครัฐ (เช่น สาธารณสุข) 4. ขึ้นทะเบียนต้นไม้บันทึกสินทรัพย์ของ กทม. โดยใช้แอพพลิเคชั่นที่สามารถบันทึกต้นไม้ หรือ green spot ใน กทม.ได้

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :นโยบาย : 40

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 055 : เปรียบเทียบต้นทุนการจัดซื้อจัดจ้างภายใน กทม. 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สตน. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :ได้ต้นทุนในการจัดซื้อจัดจ้างที่สมเหตุสมผล

    3.กทม.จะทำอย่างไร :การนำข้อมูลมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ กทม. เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ ดังนั้นเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงานของเมือง กทม. จะนำข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดของหน่วยงานในสังกัด กทม. มาเปรียบเทียบเพื่อสร้างความโปร่งใส โดยเฉพาะการจัดซื้อจังจ้างสินค้าพื้นฐาน เช่น ถนน ทางเท้า อุปกรณ์สำนักงาน โดยใช้ข้อมูลเหล่านั้นประกอบการกำหนดราคากลาง นอกเหนือจากการเปรียบเทียบข้อมูลแล้ว กทม. จะดำเนินการเชิงรุกในเข้าร่วมกับโครงการเพื่อสนับสนุนความโปร่งใสของภาครัฐ ได้แก่ การเข้าร่วมข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact (IP)) สำหรับโครงการที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท และการเข้าร่วมโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างของรัฐ (CoST) สำหรับโครงการก่อสร้างโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของ กทม.

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :โครงการ : 25

    6.Action Plan :1. การตรวจสอบการดำเนินงาน (โครงการ) 2. การกำหนดแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้าง และแจ้งให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติ (โดยพิจารณาข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบภายในประกอบการดำเนินการ) 3. การเชื่อมโยงฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อใช้ในการตรวจสอบ

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 056 : ลดเสี่ยงโกงผ่านความร่วมมือภาคีเครือข่ายประชาชน 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สกก. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างและการดำเนินการอย่างโปร่งใส

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชนต่างๆ ที่เป็นอิสระจาก กทม.ให้มาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการดำเนินโครงการและจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะในมิติการตรวจสอบ ตั้งแต่การออกแบบกระบวนการทำงาน ไปจนถึงการร่วมตรวจสอบรายโครงการร่วมกัน (เริ่มจากการออก TOR ไปจนถึงการส่งมอบงาน)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1. การพัฒนาเครือข่ายธรรมาภิบาล และส่งเสริมคุณธรรมประจำหน่วยงาน (เครือข่าย STRONG)และจัดตั้งชมรม BMA STRONG 2. โครงการเฝ้าระวังและต่อต้าน การทุจริตและสแกนพื้นที่เสี่ยงการทุจริตและสแกนพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 057 : รายงานปัญหาโดยประชาชน แก้ปัญหาโดย กทม.ผ่านแพลตฟอร์มทราฟฟีฟองดูว์ 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สผว. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :-มีระบบในการรายงานปัญหาของ กทม.ที่ใช้งานสะดวก สามารถแจ้งและติดตามการแก้ไขปัญหาได้ -ได้รับการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ที่สอดคล้องกับความเดือดร้อนของประชาชนจริง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ต่อยอดระบบการรายงานปัญหาออนไลน์ทราฟฟี่ฟองดูว์ ที่พัฒนาโดย สวทช. เพื่อให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยแจ้งปัญหาต่าง ๆ ตั้งแต่การแจ้งปัญหา การติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานของ กทม. และการดูสถิติการแจ้งเรื่องร้องเรียนทั่วกรุงเทพฯ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :การแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนผ่านระบบ Traffy Fondue ที่ได้รับการประสาน/แก้ไข

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 70

    6.Action Plan :1. โครงการจ้างผู้ให้บริการศูนย์กทม. 1555 - กิจกรรมเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานของศูนย์ กทม. 1555

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 058 : ย้ายระบบราชการที่เกี่ยวข้องกับประชาชนขึ้นสู่ระบบออนไลน์ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :ติดต่อราชการได้สะดวกโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สำนักงานเขต

    3.กทม.จะทำอย่างไร :พัฒนาระบบราชการออนไลน์ในทุกบริการที่เกี่ยวข้องกับ กทม. เช่นการขออนุญาต การชำระค่าธรรมเนียม การชำระภาษี เพื่อให้กิจกรรมเหล่านี้สามารถดำเนินการจากที่บ้านได้

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :กระบวนงาน : 109

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 059 : พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนำการพัฒนาเมือง 2 4 2 0 0

    ยังไม่รายงาน : 2 โครงการ กำลังดำเนินการ : 4 โครงการ แล้วเสร็จ : 2 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สวพ. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    2.ประชาชนได้อะไร :- โครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมกับการพัฒนาเมือง เพิ่มทางเลือกในการใช้เส้นทาง บรรเทาปัญหาจราจร - พื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวที่มีขนาดและจำนวนที่เหมาะสม

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับการกำหนดการพัฒนาเมืองตามแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อให้เมืองมีความหนาแน่นที่เหมาะสม และมีโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :มีข้อมูลกายภาพสนับสนุนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับสำนักงานเขต และมีข้อมูลถนน ตรอก ซอยฯ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 100 ตามบัญชีถนน ตรอก ซอย ของสำนักการโยธา และสำนักงานเขต อยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อขอจัดสรรงบประมาณ 2565 เพิ่มเติม หรือ งบประมาณ 2566 (ค่าเป้าหมายได้ปรึกษากับรผว.กทม. วิศณุ ทรัพย์สมพล เป็นที่เรียบร้อยแล้ว)

    5.เป้าหมาย :เขต : 50

    6.Action Plan :การจัดทำข้อมูลกายภาพสนับสนุนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับสำนักงานเขต (ไม่ใช้งบประมาณ)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 060 : วางแผนแนวคิดเมืองใหม่ที่ได้มาตรฐานในพื้นที่ชานเมือง 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ศูนย์พาณิชยกรรมกระจายไปยังพื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพฯ เพิ่มโอกาสให้เกิดแหล่งงานในบริเวณย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง ลดการเดินทางเข้าศูนย์พื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน - พื้นที่ตัวอย่างในการพัฒนาเมืองที่ได้มาตรฐาน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ใช้เครื่องมือทางผังเมืองที่สำคัญต่อการพัฒนาเมืองคือ การจัดทำผังเมืองเฉพาะและการจัดรูปที่ดิน เพื่อให้มีการใช้เครื่องมือทางผังเมืองที่มีอยู่อย่างครบถ้วน กทม.จะพิจารณาพื้นที่ชานเมืองในการพัฒนาเมืองใหม่ เช่น บริเวณพื้นที่ว่างบริเวณการเคหะร่มเกล้า (มีพื้นที่ว่างเปล่าไม่มีการใช้ประโยชน์มากกว่า 700 ไร่) โดยอาศัยแนวคิดการทำเมืองบริวาร (satellite city) เพื่อลดความแออัดของพื้นที่ชั้นในและชั้นกลางของกรุงเทพฯ และทำให้เกิดศูนย์กลาง (hub) หลักในจุดต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ เพื่อกระจายแหล่งงานไปยังพื้นที่ชานเมือง เกิดการนำแหล่งงานไปใกล้ย่านที่อยู่อาศัยชานเมืองมากขึ้น ลดการเดินทางจากพื้นที่ชานเมืองเข้าสู่พื้นที่ชั้นในและชั้นกลางของกรุงเทพฯ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ศูนย์กลางพาณิชยกรรมกระจายไปยังพื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพมหานครเพิ่มแหล่งงานในย่านที่อยู่อาศัยชานเมืองลดการเดินทางเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นใน

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 061 : ปรับปรุงข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับผังเมืองและการควบคุมอาคารให้ทันสมัย 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สวพ. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    2.ประชาชนได้อะไร :- เปิดโอกาสในการพัฒนาเมืองและอาคารที่เหมาะสมและอยู่บนพื้นฐานของหลักความปลอดภัยสาธารณะและหลักวิศวกรรม

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองมีหลายฉบับด้วยกัน แต่ที่มีส่วนสำคัญคือ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 โดยกรุงเทพมหานครใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติทั้งสองผ่าน กฎหมายลูกสองฉบับ กทม.จะพิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองหรือการควบคุมอาคารให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการพัฒนาเมืองในปัจจุบัน รวมถึงผลักดันกระบวนการในการจัดทำกฎกระทรวงผังเมืองฉบับ ปรับปรุงครั้งที่ 4 ให้ลุล่วง โดยให้เนื้อหาต่างๆ มีกรอบการบังคับใช้สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองในปัจจุบัน อยู่บนพื้นฐานของหลักความปลอดภัยสาธารณะ หลักวิศวกรรม ภายใต้กรอบอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2562

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน

    5.เป้าหมาย :ฉบับ : 5

    6.Action Plan :กิจกรรมการปรับปรุง ยกเลิกกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง (ไม่ใช้งบประมาณ)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 062 : ส่งเสริมแนวคิดการจัดรูปที่ดินในบริเวณที่เหมาะสม 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- พื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดรูปที่ดินและบริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนมีโครงสร้างพื้นฐานเหมาะสมกับการพัฒนา - พื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจรจากระบบขนส่งมวลชนทางรางกับระบบขนส่งมวลชนรอง (feeder) ที่เหมาะสม

    3.กทม.จะทำอย่างไร :การจัดรูปที่ดินเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาเมือง โดยอาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. 2547 วิธีนี้จะช่วยให้เกิดการจัดรูปแปลง/กรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมต่อการพัฒนา การจัดรูปที่ดินยังเป็นเครื่องมือทางผังเมืองที่มุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม เพราะเจ้าของแปลงที่ดินในพื้นที่จะต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินในกระบวนการจัดรูปแปลงที่ดินและการวางตำแหน่งหรือเส้นทางของโครงสร้างพื้นฐาน พื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนทางรางและจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นพื้นที่นำร่องในการจัดรูปที่ดินและพัฒนาตามหลักการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (transit-oriented development: TOD) ซึ่งบริเวณรอบสถานีที่มีรูปแปลงที่ดินและโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมต่อการพัฒนา เช่น แปลงที่ดินทางการเกษตร หรือบริเวณรอบสถานีที่เจ้าของแปลงที่ดินมีความเป็นไปได้ที่จะรวมตัวกันและเจรจาในการจัดรูปที่ดินเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี การจัดรูปที่ดินเป็นไปเพื่อทำให้รูปแปลงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน สวนสาธารณะ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการอื่นๆ ให้เหมาะสมต่อการพัฒนาให้เมืองมีความหนาแน่นและโครงสร้างพื้นฐานที่สอดคล้องกันตามที่ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครกำหนดไว้

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ด้วยวิธีการจัดรูปที่ดินตามแผนแม่บทและพื้นที่เป้าหมายการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร โดยการจัดประชุมคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร

    5.เป้าหมาย :ครั้ง : 2

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 063 : เรียนฟรี ชุดฟรี ไม่มีเก็บเพิ่ม 0 0 1 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 1 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายในการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นค่าเรียน ค่าชุด ค่าอุปกรณ์ทางการศึกษาต่าง ๆ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :เพิ่มเติมเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ 1. เพิ่มเงินอุดหนุนค่าชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนให้สอดคล้องกับราคาตลาด (ครอบคลุมราคา เสื้อ กางเกง ถุงเท้า รองเท้า กระเป๋า และอุปกรณ์การเรียนอื่น ๆ) 2. เพิ่มจำนวนการอุดหนุนให้สอดคล้องและครอบคลุมกับการใช้งานจริง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :โรงเรียน : 437

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 064 : โรงเรียนเป็นแหล่งโภชนาการที่มีคุณภาพให้กับเยาวชนทั้งมื้อเช้าและมื้อกลางวัน 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- อาหารถูกหลักโภชนาการสำหรับนักเรียน กทม.ฟรี ทั้งสำหรับช่วงเวลาปกติและในช่วง study from Home

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- ผลักดันให้โรงเรียนเป็นตัวกลางในการแจกจ่ายอาหารให้กับนักเรียนและชุมชนในพื้นที่ - ร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในการออกแบบเมนูอาหารอย่างสร้างสรรค์ โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการช่วยเลือก

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :โรงเรียน : 437

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 065 : After School Program เรียน เล่น หลังเลิกเรียน 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- พื้นที่ในการดูแลความปลอดภัยของเด็กนักเรียนขณะรอผู้ปกครองเลิกงาน - ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลบุตรหลานให้กับผู้ปกครอง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- จัดกิจกรรมหลังเลิกเรียน พร้อมสนับสนุนอุปกรณ์ บุคลากร และค่าตอบแทนสำหรับคุณครูที่อยู่ดูแลนักเรียน และในช่วงเวลาดังกล่าว (พิจารณาจัดร่วมกับโรงเรียนอื่นเพื่อสร้างให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันและสร้างสังคมใหม่ ๆ ให้กับนักเรียนเพิ่มเติมได้ด้วย) - ให้เครือข่ายและอาสามาช่วยดูแลจัดกิจกรรมในโรงเรียน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :โรงเรียนเปิดพื้นที่กิจกรรมหลังเลือกเรียน ตามความสนใจของนักเรียน จำนวนอย่างน้อย 300 โรงเรียน

    5.เป้าหมาย :โรงเรียน : 300

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 066 : เปิดโรงเรียนวันหยุดเป็นพื้นที่กิจกรรม พื้นที่การเรียนรู้สำหรับนักเรียนและชุมชน 0 4 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 4 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- พื้นที่สาธารณะ พื้นที่กิจกรรม พื้นที่การเรียนรู้ใกล้บ้านในวันหยุด - เพิ่มพื้นที่พบปะ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ของเยาวชนและชุมชนใกล้เคียงในชุมชน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จึงจะเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็นพื้นที่การเรียนรู้ของโรงเรียนให้กลายเป็นพื้นที่กิจกรรม พื้นที่แห่งการเรียนรู้ของชุมชนและคนในพื้นที่ โดยการพัฒนากิจกรรมในโรงเรียนสำหรับวันหยุดร่วมกันระหว่างโรงเรียน นักเรียน และชุมชน (เช่น การแข่งขันกีฬา การจัดการแสดงดนตรี การจัดตลาดนัด การจัดกิจกรรมฝึกอาชีพ) ให้สอดคล้องกับความสนใจของประชาชนในพื้นที่

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :โรงเรียนเปิดพื้นที่กิจกรรมหลังเลือกเรียน ตามความสนใจของนักเรียน จำนวนอย่างน้อย 300 โรงเรียน

    5.เป้าหมาย :โรงเรียน : 300

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 067 : ยกระดับห้องแล็บคอมพิวเตอร์ทุกโรงเรียนให้ทันสมัยและเพียงพอ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนศ. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- แล็บคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนที่ใช้งานได้จริงและสอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบัน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :จัดสรรงบประมาณเพื่อปรับปรุงห้องแล็บคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนให้มีความทันสมัยใช้งานได้จริงทั้งในด้าน Hardware และ Software ที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นปัจจุบัน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :นักเรียนมีคอมพิวเตอร์ใช้ทุกโรงเรียน

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1. โครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ต่อเนื่อง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2571

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 068 : พัฒนาฟรี Wi-Fi ทุกโรงเรียน รองรับการสอนผ่านสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ และการสืบค้นข้อมูล 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- แหล่งการเรียนรู้ของชุมชนพร้อม Wi-Fi ฟรี

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- ติดตั้ง Wi-Fi ฟรีสำหรับทุกโรงเรียนในกรุงเทพฯ - เปิดให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามาใช้งานได้ในวันหยุด เพื่อผลักดันโรงเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :โรงเรียนสังกัด กทม. ทั้งหมด 437 มี Internet/Wifi ใช้อย่างเพียงพอและทั่วถึง ทั้งด้านความเร็วและความคลอบคลุม

    5.เป้าหมาย :โรงเรียน : 437

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 069 : ร่วมกับเอกชนในการจัดหาแท็บเล็ตให้นักเรียนใช้ โดยเฉพาะในช่วงการ study from home 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- โอกาสในการเข้าถึงการศึกษารูปแบบออนไลน์สำหรับนักเรียนที่ขาดแคลน ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ร่วมมือกับเอกชนในการจัดหาแท็บเล็ตสำรองและจัดเตรียมซิมให้นักเรียนที่ขาดอุปกรณ์สามารถยืมกลับไปบ้านเพื่อใช้งานได้

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :เครื่อง : 437

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 070 : คืนครูให้นักเรียน ลดภาระงานเอกสารด้วยเทคโนโลยี 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- การจัดเก็บข้อมูลด้านการศึกษาอย่างเป็นระบบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูและนำมาใช้ได้ง่าย - การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพจากคุณครูที่มีเวลาดูแลนักเรียนอย่างเต็มที่

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ลดภาระงานเอกสารของคุณครู ดังนี้ - Digitalization : เปลี่ยนการทำงานมาเป็นระบบดิจิทัล - มี Digital Talent เป็นผู้ช่วยฝึกและให้คำปรึกษาคุณครูด้านเทคโนโลยี - คืนข้อมูลให้คุณครู : หน่วยงานหรือต้นสังกัดต้องสรุปข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์แล้วกลับไปให้โรงเรียนและคุณครูเห็นผลลัพธ์เพื่อพัฒนาต่อยอด และลดการเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปใช้งาน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวน User ครู และ Log in เข้ามาใช้งานของครู อย่างน้อย 10,000 คน ภายในสิ้นปี 2565

    5.เป้าหมาย :คน : 10000

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 071 : เพิ่มสวัสดิการครูให้เหมาะสม 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ระบบสวัสดิการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายของครู - ครูในสังกัด กทม.ที่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :เพิ่มสวัสดิการของครูในมิติต่าง ๆ ได้แก่ 1. การจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับครู 2. ช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :มีออกกฎหมายที่ให้สิทธิและสวัสดิการแก่ข้าราชการครูฯ

    5.เป้าหมาย :สวัสดิการ : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 072 : เพิ่มครูผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ช่วยครู สำหรับวิชาเฉพาะทาง เช่น ภาษา เทคโนโลยี 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- หลักสูตรของโรงเรียนสังกัด กทม.​ที่สอดคล้องกับยุคสมัยและยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง - โอกาสในการเข้าถึงการเรียนการสอนที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- พัฒนาครูผู้เชี่ยวชาญต้นแบบในประเด็นต่างๆ โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา - จัดทำโครงการครูแลกเปลี่ยนระหว่างครูไทยและครูต่างชาติ เพื่อให้ครูผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เวียนไปยังโรงเรียนต่างๆ หรือสอนผ่านออนไลน์ - เพิ่มนักจิตวิทยาโรงเรียนเพื่อเวียนให้คำปรึกษาคุณครูและนักเรียนในโรงเรียน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :คน : 437

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 073 : ปรับหลักเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะให้สอดคล้องกับการสอน ลดภาระการทำเอกสาร 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีการประเมินผลงานบุคลากรทางการศึกษาที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ศึกษาแนวทางในการประเมินผลวิทยฐานะใหม่โดยมุ่งลดภาระงานให้กับครู เช่น ระบบการตั้งเป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรครูร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ระบบการประเมินผลงานตามสมรรถนะ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ฉบับ : 437

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 074 : Digital Talent ผู้ช่วยด้านเทคโนโลยีให้กับคุณครู 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้คุณครูที่มีเวลาให้กับการเตรียมการเรียนการสอนและการดูแลนักเรียนมากยิ่งขึ้น - ได้ตัวแทนในการช่วยแบ่งเบาภาระงานเอกสารให้กับครู

    3.กทม.จะทำอย่างไร :สร้างทีม Digital Talent 1 คน/ 5 โรงเรียน เพื่อช่วยเหลือในด้านความรู้และสร้างความคุ้นเคยสำหรับการใช้เทคโนโลยีให้กับครูกทม. จัดกลุ่มโรงเรียนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น ระดับชั้น พื้นที่เดียกวัน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :มีอาสาสมัครสนับสนุนคุณครูให้สามารภใช้เทคโนโลยี้เพื่อการศึกษา ประจำโรงเรียน ครบทั้ง 437 โรงเรียน

    5.เป้าหมาย :โรงเรียน : 437

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 075 : ขอดูภาพจากกล้อง CCTV ออนไลน์ได้สะดวกรวดเร็ว 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน -

    2.ประชาชนได้อะไร :- สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อต้องติดต่อขอภาพ CCTV จาก กทม. ลดความซ้ำซ้อนของขั้นตอนดำเนินการ - ประชาชนเข้าถึงความปลอดภัยได้ดียิ่งขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะดำเนินการเกี่ยวกับการขอดูภาพ CCTV ดังนี้ 1. เพิ่มช่องทางการดำเนินการขอภาพ CCTV ผ่านระบบออนไลน์ กทม. 1.1 หาเลขกล้อง CCTV ได้ผ่านระบบออนไลน์ ไม่ต้องลงสำรวจ ณ จุดเกิเดเหตุ 1.2 แจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ 1.3 กรอกและส่งเอกสารทั้งหมดผ่านระบบออนไลน์ของ กทม.และรอรับภาพทางออน์ไลน์ 2. ศึกษาความเป็นไปได้ในการประสานงานร่วมกับตำรวจ ในการส่งต่อข้อมูลลดขั้นตอนการขอภาพของประชาชน 2.1 หาเลขกล้อง CCTV ได้ผ่านระบบออนไลน์ ไม่ต้องลงสำรวจ ณ จุดเกิดเหตุ 2.2 แจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ และตำรวจประสานงานส่งต่อเอกสารกับ กทม. 2.3 กทม.จัดส่งภาพ CCTV ให้ประชาชนผ่านระบบออนไลน์โดยที่ประชาชนไม่ต้องติดต่อ กทม.

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :วัน : 1

    6.Action Plan :1. โครงการปรับปรุงเวปไซต์การยื่นขอคัดลอกภาพแบบออนไลน์ 2. โครงการปรับปรุงเวปไซต์การยื่นขอคัดลอกภาพแบบออนไลน์ ระยะที่ 2 (เพิ่มแผนที่และพิกัดกล้อง)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 076 : ยกระดับคุณภาพกล้องวงจรปิด ป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :เพิ่มประสิทธิภาพในการคาดการณ์ ติดตาม และแก้ไขหรือระงับการเกิดเหตุอาชญากรรม

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลภาพที่สามารถช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพของกล้องวงจรปิดในมิติของการป้องกันเหตุไม่คาดฝันต่าง ๆ เช่น การช่วยตรวจสอบข้อบกพร่องในสภาพแวดล้อมของเมือง หรือการวิเคราะห์ภาพเมื่อมีลักษณะคล้ายกับการทะเลาะวิวาท การทำร้ายร่างกาย - ศึกษาความเป็นไปได้ให้มีการเชื่อมต่อข้อมูลภาพและระบบกล้องวงจรปิดป้องกันอาชญากรรมของกองบัญชาการตำรวจนครบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ภาพใบหน้าแบบเรียลไทม์ในการเฝ้าระวังเหตุอาชญากรรม บุคคลอันตรายร้ายแรง โดยเฉพาะในพื้นที่ย่านเศรษฐกิจ และย่านชุมชนที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 077 : กำหนดค่ามาตรฐานความสว่างป้ายโฆษณา 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนย. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :มีมาตรฐานอ้างอิงการควบคุมความสว่างของพื้นที่ต่างๆ ของเมือง ลดมลภาวะทางแสงที่เกินจำเป็นจากแหล่งกำเนิดแสงต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร

    3.กทม.จะทำอย่างไร :จัดทำค่ามาตรฐาน และมาตรการระดับต่างๆในการควบคุมค่าความสว่างของแหล่งกำเนิดแสง ป้ายโฆษณาของเมืองโดยรวม ให้เป็นมิตรกับประชาชนผู้สัญจรและผู้อยู่อาศัย

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ปี 2566 ร้อยละ 100 ของความสำเร็จในการจัดทำค่ามาตรฐานความสว่างของแหล่งกำเนิดแสงของป้ายโฆษณา LED ปี 2567-2569 ร้อยละ 100 ของความสำเร็จในการแก้ไขป้ายโฆษณาที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หมายเหตุ สนย. กำหนดขั้นตอนงานเป็นร้อยละ เพื่อการติดตามและรายงานผล จัดทำค่ามาตรฐานและมาตรการระดับต่าง ๆ ในการควบคุมค่าความสว่างของแหล่งกำเนิดแสงของป้ายโฆษณา LED โดยผลที่ได้ ค่ามาตรฐานและมาตรการของความสว่างของแหล่งกำเนิดแสงของป้ายโฆษณา LED 1. จัดทำค่ามาตรฐาน และมาตรการระดับต่างๆ ในการควบคุมค่าความสว่างของแหล่งกำเนิดแสง ป้ายโฆษณาของเมืองโดยรวม ให้เป็นมิตรกับประชาชนผู้สัญจรและผู้อยู่อาศัย 2. กำหนดให้เจ้าหน้าที่ กทม.มีหน้าที่ดำเนินตรวจสอบติดตามให้ความสว่างของป้ายให้ตามมาตรการที่กำหนด

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1. กิจกรรมแต่งตั้งคณะทำงานในการศึกษาจัดทำค่ามาตรฐานและมาตรการระดับต่างๆ ในการควบคุมค่าความสว่างของแหล่งกำเนิดแสงของป้ายโฆษณา LED

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 078 : ใช้ข้อมูลอาชญากรรมกำหนดพิกัดอันตราย เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนท. // หน่วยงานสนับสนุน สจส., สนข., สนย.

    2.ประชาชนได้อะไร :ลดและแก้ไขปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดความกลัว และความเสี่ยงอาชญากรรมได้อย่างทันท่วงที มีการสอดส่องดูแลเพิ่มเติมนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :รวบรวมข้อมูลสถิติอาชญากรรมและข้อมูลการรายงานจุดเสี่ยงที่รวบรวมมาจากฐานข้อมูลในแผนที่ความเสี่ยงกรุงเทพฯ (Bangkok Risk Map)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :พื้นที่เขต : 50

    6.Action Plan :1. โครงการบูรณาการผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยเชิงพื้นที่

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 079 : พัฒนาบัญชีอุปกรณ์ในการเผชิญเหตุสาธารณภัยฉุกเฉินระดับย่าน 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สปภ. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :เพิ่มความปลอดภัยทั้งย่านจากการเข้าถึงอุปกรณ์ระงับเหตุ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- พัฒนาบัญชีอุปกรณ์ดับเพลิงในระดับย่าน เพื่อให้ทราบถึงประเภท จำนวน และตำแหน่งที่อยู่ของอุปกรณ์ - ใช้บัญชีดังกล่าวในการสำรวจความพร้อมของอุปกรณ์ ทำการทบทวนให้รายการอุปกรณ์มีความเที่ยงตรงกับความเป็นจริง ใช้งานได้อยู่เสมอ - สนับสนุนการเพิ่มเติม ซ่อมแซม หมุนเวียนอุปกรณ์ที่ขาดตกบกพร่อง - เมื่อเกิดเหตุผู้อยู่อาศัยในย่าน อปพร. อาสาสมัครกู้ภัย และเจ้าหน้าที่ สปภ. ตรวจสอบและเรียกใช้อุปกรณ์ในละแวกใกล้เคียง สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ได้ทันท่วงทีเพื่อลดความสูญเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพการระงับเหตุ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :มีระบบบัญชีอุปกรณ์ระงับเหตุสาธารณภัยฉุกเฉินระดับเขตแบบออนไลน์

    5.เป้าหมาย :ระบบ : 1

    6.Action Plan :1. กิจกรรมการสำรวจ รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลด้านสาธารณภัย 2. กิจกรรมการพัฒนาบัญชีอุปกรณ์ฯ ให้สามารถใช้งานได้แบบออนไลน์

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 080 : เพิ่มประปาหัวแดง โดยเฉพาะเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่น 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สปภ. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :ปลอดภัยมากขึ้นจากการที่สามารถลดเวลาในการเข้าระงับเหตุ จำกัดวงความเสียหาย และลดข้อจำกัดในการเข้าถึงของยานพาหนะบรรทุกน้ำขนาดใหญ่

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- เพิ่มจำนวนประปาหัวแดง โดยเฉพาะในเขตเมืองขยายในบริเวณกรุงเทพฯ ชั้นกลาง กรุงเทพฯ ชั้นนอก และชุมชนแออัดตรอกซอกซอย ในบริเวณพื้นที่ชั้นในที่ยังขาดการติดตั้ง และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบสถานะความพร้อมของประปาหัวแดงในจุดต่าง ๆ เช่น การติดเซนเซอร์ - ตรวจสอบสถานะและสภาพความพร้อมในการใช้งานอยู่เสมอ โดยพิจารณาศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น การติดเซนเซอร์เพื่อติดตามตรวจสอบสถานะความพร้อมของประปาหัวแดงจุดต่าง ๆ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละความครอบคลุมของประปาหัวแดงตามมาตรฐาน (เขตเมืองต้องมีทุก 200 เมตร และพื้นที่รอบนอกต้องมีทุก 500 เมตร)

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1. กิจกรรมตรวจสอบจำนวนและตรวจสภาพความพร้อมในการใช้งานของประปาหัวแดงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2. กิจกรรมสำรวจความต้องการติดตั้งประปาหัวแดงเพิ่มเติม

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 081 : จัดหายานพาหนะเพื่อดับเพลิงในที่คับแคบ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สปภ. // หน่วยงานสนับสนุน -

    2.ประชาชนได้อะไร :การเข้าระงับเหตุอย่างรวดเร็ว ลดความเสียหายและความสูญเสีย

    3.กทม.จะทำอย่างไร :จัดหารถดับเพลิงขนาดเล็ก เรือดับเพลิงขนาดเล็ก หรืออุปกรณ์เครื่องลากจูงหาบหาม ที่มีความจุน้ำ ปั๊มน้ำ และอุปกรณ์การระงับเหตุและช่วยเหลือขั้นเบื้องต้นในการเผชิญเหตุอัคคีภัยและสาธารณภัย ที่สามารถเพิ่มความคล่องตัว และลดระยะเวลาในการเข้าระงับเหตุให้ได้ตามมาตรฐานสากล

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละความครอบคลุมของยานพาหนะขนาดเล็กและอุปกรณ์การระงับเหตุเบื้องต้น

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1. กิจกรรมการสำรวจและจัดทำบัญชียานพาหนะและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการดับเพลิงในที่คับแคบ

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 082 : พัฒนาหลักสูตรและการฝึกอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานสาธารณภัย 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะครอบคลุมในการกู้ภัย และช่วยชีวิต ลดความสูญเสีย

    3.กทม.จะทำอย่างไร :พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน อาสาสมัคร ให้มีความสามารถในการรับมือสอดคล้องกับบริบทของเมือง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละผู้ปฏิบัติงานสาธารณภัยมีทักษะการกู้ภัยและช่วยชีวิตเพิ่มขึ้น

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 083 : พัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัลแบบก่อสร้างและแปลนอาคารสนับสนุนการเผชิญเหตุให้มีประสิทธิภาพ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ลดขั้นตอนในการทำงานเฉพาะหน้า เพิ่มความคล่องตัวในการระงับเหตุ ลดความสูญเสีย

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- ยกระดับฐานข้อมูลอาคารสู่ระบบดิจิทัลเพื่อลดขั้นตอนในการทำสำเนา เพิ่มความคล่องตัวในการเรียกดูข้อมูลของเจ้าหน้าที่ในยามคับขัน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ปี 2566 ร้อยละ 100 ของความสำเร็จการจัดทำฐานข้อมูลดิจิทัลแบบก่อสร้างและแปลนอาคาร ปี 2567 ร้อยละ 100 ของความสำเร็จในการเชื่อมโยงข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปี 2568 ร้อยละ 100 ของการจัดทำแผนความเสี่ยงและดำเนินการอาคารเสี่ยงให้ดำเนินการถูกต้อง หมายเหตุ สนย.กำหนดขั้นตอนงานแต่ละปีเป็นร้อยละ เพื่อการรายงานและติดตามผล กทม.จะยกระดับฐานข้อมูลอาคารสู่ระบบดิจิทัลเพื่อลดขั้นตอนในการทำสำเนา เพิ่มความคล่องตัวในการเรียกดูข้อมูลของเจ้าหน้าที่ในยามคับขัน โดย 1. นำข้อมูลแบบอาคารเข้าสู่ระบบออนไลน์ 2. ผลักดันให้อาคารใหม่ ๆ ส่งข้อมูลแบบอาคารในรูปแบบออนไลน์ 2. เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเผชิญสาธารณภัยสามารถเรียกดูข้อมูลออนไลน์ เพื่อวางแผนการกู้ภัยได้ 4. เชื่อมต่อฐานข้อมูลแบบอาคารออนไลน์กับฐานข้อมูลของหน่วยงานเผชิญสาธารณภัยต่าง ๆ

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 084 : ดำเนินการเชิงรุกในการตรวจสอบอาคารเก่าและอาคารสาธารณะให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนย. // หน่วยงานสนับสนุน สนข., สปภ

    2.ประชาชนได้อะไร :1. ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากอาคารเก่า อาคารที่มีการต่อเติม 2. ลดขั้นตอนในการทำงานเฉพาะหน้ากับการต้องคาดเดาสภาพแวดลัอม เพิ่มความคล่องตัวในการระงับเหตุ ลดความสูญเสีย

    3.กทม.จะทำอย่างไร :แผนผังโครงสร้างอาคารซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการตรวจประเมิน และเรียกใช้ประกอบการตัดสินใจในการเผชิญเหตุไม่คาดฝันนั้นมีความจำเป็นกับการป้องกัน ระงับ ช่วยเหลือประชาชนจากเหตุอัคคีภัย สาธารณภัยเป็นอย่างมาก จึงควรมีการทำการสำรวจทบทวนแบบเชิงรุกของอาคารเก่า อาคารอาศัยรวม หรืออาคารสาธารณะขนาดใหญ่ที่ไม่มีการเก็บแผนผังอาคาร หรืออาคารมีอายุมาก และไม่มีการสำรวจการต่อเติมเพิ่มเติม

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ปี 2566 ร้อยละ 100 ของความสำเร็จในการจัดทำฐานข้อมูล ปี 2567 ร้อยละ 100 ของความสำเร็จในการเชื่อมโยงข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปี 2568 ร้อยละ 100 ของการใช้ข้อมูลเป็นหนึ่งในปัจจัยการประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ใน BKK RISK MAP หมายเหตุ สนย.กำหนดขั้นตอนงานแต่ละปีเป็นร้อยละ เพื่อการรายงานและติดตามผล 1. ทำการสำรวจทบทวนแบบเชิงรุกของอาคารเก่า อาคารอาศัยรวม หรืออาคารสาธารณะขนาดใหญ่ที่ไม่มีการเก็บแผนผังอาคาร หรืออาคารมีอายุมาก และไม่มีการสำรวจการต่อเติมเพิ่มเติม 2. ผลักดันให้เกิดการเรียกเก็บและเรียกดูข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล รวมถึงใช้ข้อมูลเป็นหนึ่งในปัจจัยการประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ใน BKK RISK MAP

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :จัดทำฐานข้อมูลอาคาร 9 ประเภท ที่กฎหมายกำหนดให้ยื่นรายงานการตรวจสอบอาคารประจำปี (ไม่ใช้งบฯ)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 085 : ช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเชิงรุก 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :ลดและยับยั้งผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนและผู้ปฏิบัติงานเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- การจัดหาที่พักพิงชั่วคราว - การจัดสรรเงินสงเคราะห์ การเยียวยาความเสียหายของทรัพย์สิน ตลอดจน - การตรวจสุขภาพต่อเนื่องแก่ผู้เสียหาย ผู้ได้รับผลกระทบ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของผู้ประสบภัยที่ได้รับการช่วยเหลือและเยียวยาภายในระยะเวลาที่กำหนด

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 086 : ผลักดันการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านการบรรเทาสาธารณภัย 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สปภ. // หน่วยงานสนับสนุน สนย.

    2.ประชาชนได้อะไร :ลดงบประมาณในการฝึกฝนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยรายบุคคลในระยะยาว และเมืองมีความปลอดภัยมากขึ้นจากการที่บุคลากรมีประสิทธิภาพในการระงับเหตุสาธารณภัยและอัคคีภัย

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- ผลักดันโครงการก่อสร้างให้สำเร็จตามแผน - จัดเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร หลักสูตรการฝึก เพื่อให้ครอบคลุมสาธารณภัยทุกรูปแบบ และพร้อมสำหรับการฝึกหลายระดับ ทั้งระดับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1. โครงการก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรมดับเพลิงและกู้ภัยกรุงเทพมหานคร - ระยะที่ 1 งบประมาณ 685,300,000.- บาท - ระยะที่ 2 งบประมาณ 1,600,000,000.- บาท - ระยะที่ 3 งบประมาณ 402,890,000.- บาท

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 087 : ซ้อมการเผชิญเหตุให้ครอบคลุมทุกระดับ ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สปภ. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ประชาชนมีความพร้อม รู้ขั้นตอนการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดสาธารณภัยหรืออัคคีภัย - กลุ่มเปราะบางมีการฝึกฝนการปฏิบัติตัวในการเอาตัวรอดให้ปลอดภัย - เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยมีความพร้อมในการระงับเหตุในพื้นที่ต่างๆ กับเหตุการณ์รูปแบบที่หลากหลาย - เจ้าหน้าที่ระดับบริหารมีความคุ้นเคยกับขั้นตอน หน้าที่ และในการบริหารจัดการระงับเหตุ และสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- ฝึกฝนประชาชนในการเผชิญสาธารณภัย เพื่อสร้างความตระหนักถึงข้อปฏิบัติในการระงับเหตุเบื้องต้น การเอาตัวรอดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ความคุ้นชินกับสถานที่ - ฝึกฝน รวมถึงพัฒนาหลักสูตรในการเอาตัวรอด ที่เหมาะสมกับกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ เช่น นักเรียนประถม-มัธยม ครอบครัวเด็กอ่อน ชุมชนแออัด อาคารชุดสูง หรือผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแล โดยให้มีการฝึกฝนเป็นประจำทุกปี มีการสาธิตเหตุการณ์และฝึกการภาคปฏิบัติ อย่างทั่วถึง - จัดให้มีการซักซ้อมระหว่างเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร ผู้ปฏิบัติงานภาคสนามในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้มีความคล่องตัว เพิ่มความต่อเนื่อง ลดข้อจำกัดระหว่างหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติการแข่งกับเวลา - ฝึกฝนการบูรณาการระหว่างผู้บัญชาการสถานการณ์ (ผู้อำนวยการเขต หรือผู้ว่าราชการจังหวัด) และทีมงานสนับสนุน (ศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ Situation Awareness Team : SAT และ Damage Assessment and Needs Analysis : DANA) ทั้งในระดับเขตและระดับจังหวัด เพื่อบริหารจัดการสถานการณ์เฉพาะหน้า และประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนครั้งของการฝึกซ้อมการเผชิญเหตุในแต่ละปี (ตามระดับความรุนแรงของสาธารณภัย)

    5.เป้าหมาย :ครั้ง/ปี : 2

    6.Action Plan :1. กิจกรรมการฝึกอบรมฝึกซ้อมอพยพหนีไฟให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในชุมชน 2. กิจกรรมประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแก่เด็กนักเรียนและประชาชน

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 088 : ใช้ CCTV กวดขันวินัยจราจร 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ความปลอดภัยในการเดินทาง การใช้รถใช้ถนนเพิ่มขึ้นจากการกวดขันที่เข้มข้นขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จึงต้องบูรณาการนำกล้องวงจรปิดและเทคโนโลยีวิเคราะห์ภาพมาใช้ในวงกว้างเพื่อบังคับใช้กฎระเบียบ และกวดขันวินัยจราจรอย่างเคร่งครัดโดยใช้ระบบปฏิบัติการในการวิเคราะห์ และส่งต่อข้อมูลเพื่อจับ/ปรับผู้กระทำผิดอัตโนมัติ ตั้งแต่การตรวจจับความเร็ว การหยุดชะลอรถตรงทางข้าม รวมถึงการขยายการใช้งานไปยังกล้องวงจรปิดบนทางเท้า โดยติดตั้งกล้องในทิศทางที่สามารถบันทึกทะเบียนรถได้อย่างชัดเจน ในการเพิ่มประสิทธิภาพการตามจับ/ปรับรถจักรยานยนต์และรถยนต์ที่ฝ่าฝืนกฎการจราจร เช่น การจอดขวางทางเท้า การจอดในที่ห้ามจอด ขับขี่สวนทาง การไม่เคารพสัญญาณไฟและเครื่องหมายจราจร การขับขี่รถบนทางเท้า การขับรถเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด ที่อาจส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ร่วมสัญจรได้

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :-ร้อยละของทางแยกได้รับการติดตั้ง CCTV เพื่อตรวจจับผู้ฝ่าฝืนกฏจราจร -จำนวนสถิติการตรวจจับผู้กระทำความผิดกฏจราจรได้มากขึ้น จำนวนกล้อง CCTV เพื่อกวดขันวินัยจราจร ที่ดำเนินการติดตั้ง บูรณาการนำกล้องวงจรปิดและเทคโนโลยีวิเคราะห์ภาพมาใช้ในวงกว้างเพื่อบังคับใช้กฎระเบียบ และกวดขันวินัยจราจรอย่างเคร่งครัดโดยใช้ระบบปฏิบัติการในการวิเคราะห์ และส่งต่อข้อมูลเพื่อจับ/ปรับผู้กระทำผิดอัตโนมัติ (ตั้งแต่การตรวจจับความเร็ว การหยุดชะลอรถตรงทางข้าม รวมถึงการขยายการใช้งานไปยังกล้องวงจรปิดบนทางเท้า โดยติดตั้งกล้องในทิศทางที่สามารถบันทึกทะเบียนรถได้อย่างชัดเจน ในการเพิ่มประสิทธิภาพการตามจับ/ปรับรถจักรยานยนต์และรถยนต์ที่ฝ่าฝืนกฎการจราจร เช่น การจอดขวางทางเท้า การจอดในที่ห้ามจอด ขับขี่สวนทาง การไม่เคารพสัญญาณไฟและเครื่องหมายจราจร การขับขี่รถบนทางเท้า การขับรถเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด ที่อาจส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ร่วมสัญจรได้)

    5.เป้าหมาย :กล้อง : 97

    6.Action Plan :1. โครงการกวดขันรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จอดหรือขับขี่บนทางเท้า 2. โครงการจัดหาพร้อมติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เพื่อบริหารจัดการการฝ่าฝืนกฎหมายของยานพาหนะบนทางเท้าในเส้นทางพื้นที่กลุ่มกรุงเทพใต้

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 089 : ตรวจสอบและปรับปรุงทางข้ามทั้งกรุงเทพฯ ให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ความปลอดภัยในการเดินเท้าเพิ่มมากขึ้น - กายภาพถนน ทางข้ามรูปแบบต่างๆ และสภาพแวดล้อมมีความเป็นมิตรต่อการเดินมากขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :เพื่อคุ้มครองสิทธิพื้นฐานในการเดินเท้าของประชาชนทุกคน กทม. จึงจะปรับปรุงทางข้ามให้มีความปลอดภัย ดังนี้ 1. ทาสีแถบทางข้ามให้ชัดเจน เห็นได้จากระยะไกล 2. กำหนดเขตชะลอและหยุดรถ 3. ติดตั้งแสงสว่างให้เพียงพอ 4. ติดตั้งสัญญาณไฟกะพริบ 5. ติดตั้งกล้อง CCTV 6. ติดตั้งป้ายสัญญาแสดงความเร็วยานพาหนะ และความเร็วที่กำหนด 7. จุดที่มีคนข้ามจำนวนมากและถนนหลัก ติดตั้งสัญญาณไฟทางข้ามชนิดปุ่มกดพร้อมเสียงเตือน 8. กำหนดรอบการดูแลและบำรุงรักษาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทางข้ามให้พร้อมอยู่เสมอ 9. พิจารณาเพิ่มทางข้ามบริเวณที่มีปริมาณการข้ามถนนสูงแต่ไม่มีทางม้าลาย เช่น บริเวณสถานศึกษา ตลาด สวนสาธารณะ เป็นต้น นอกจากนี้ กทม. ยังจะต้องเน้นให้ความสำคัญกับการพิจารณาการทำทางข้ามถนนที่สามารถใช้ได้ทุกคน ทุกสภาพร่างกาย (ยกเว้นพื้นที่ที่มีข้อจำกัดด้านการจราจร เช่น ถนนที่มีขนาดใหญ่ มีความเร็วรถสูง)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :- ร้อยละของทางข้ามทั่วกรุงเทพฯ ได้รับการปรับปรุงเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับประชาชน - จำนวนสถิติอุบัติเหตุในบริเวณทางข้ามถนนลดลง จำนวน 136 ทางข้าม ติดตั้งปุ่มกด 86 เเห่ง ติดตั้งไฟกระพรับเตือน 50 เเห่ง

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 090 : ปลูกฝังจิตสำนึก ส่งเสริมการสร้างระเบียบ กวดขันวินัยจราจรอย่างเข้มงวด 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :วินัยจราจรเป็นระเบียบมากขึ้น มีตัวอย่างชัดเจนของเจ้าหน้าที่ กทม.ในการรณรงค์กวดขันระเบียบวินัยการจราจร

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะรณรงค์จิตสำนึกวินัยจราจร กฎหมายจราจร ระเบียบการใช้ยานพาหนะโดยเริ่มจาก 4 ส่วน ประสานความร่วมมือเพื่อให้เกิดคุณลักษณะการขับขี่ที่มีวินัย ปลอดภัย เป็นวงกว้าง 1. โรงเรียน ให้มีการอบรม ให้ความรู้ ปลูกฝั่งระเบียบวินัยจราจร ตั้งแต่ระดับเด็กและเยาวชน 2. เจ้าหน้าที่หน่วยงานและลูกจ้างในสังกัด กทม. 3. ขนส่งมวลชนในการกำกับดูแลของรัฐ รถเมล์ รถแท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ 4. บริษัทขนส่ง เดินทาง ส่งอาหารต่างๆ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนสถิติบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการกระทำผิดกฏจราจรลดลงจากปีที่ผ่านมา รณรงค์จิตสำนึกวินัยจราจร กฎหมายจราจร ระเบียบการใช้ยานพาหนะโดยเริ่มจาก 4 ส่วน ประสานความร่วมมือเพื่อให้เกิดคุณลักษณะการขับขี่ที่มีวินัย ปลอดภัย เป็นวงกว้าง 1. โรงเรียน ให้มีการอบรม ให้ความรู้ ปลูกฝั่งระเบียบวินัยจราจร ตั้งแต่ระดับเด็กและเยาวชน 2. เจ้าหน้าที่หน่วยงานและลูกจ้างในสังกัด กทม. 3. ขนส่งมวลชนในการกำกับดูแลของรัฐ รถเมล์ รถแท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ 4. บริษัทขนส่ง เดินทาง ส่งอาหารต่างๆ (กยภ.) กำหนดเป้าหมาย proxy เป็นจำนวนครั้งของการรณรงค์เรื่องการขับขี่ปลอดภัยและวินัยจราจร

    5.เป้าหมาย :ครั้ง : 6

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 091 : ลดความเร็ว ลดความเสี่ยง ในย่านชุมชนและถนนสายรอง 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- เขตชุมชน ถนนสายรอง ถนนขนาดเล็ก มีความปลอดภัยในการสัญจรมายิ่งขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จึงจะต้องดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนที่มากขึ้น เป็นการส่งเสริมการควบคุมความเร็วที่มีประสิทธิภาพ สัมพันธ์กับทั้งบริบทของเมืองในระดับย่าน เพื่อความปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุและการสูของผู้สัญจร ดังนี้ ผลักดันกฎหมายควบคุมความเร็ว 1. สำนักการจราจรและการขนส่ง กทม. เป็นเจ้าภาพในการออกแบบจัดโซนนิ่ง ประเภทถนนในการกำหนดเขตความเร็วต่ำ เช่น บริเวณย่านชุมชน บริเวณถนนรอง บริเวณย่านจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร บริเวณย่านธุรกิจเมืองชั้นใน ร่วมกับ ประชาชน ภาคประชาสังคม และตำรวจในฐานหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งสามารถประกาศพื้นที่กำหนดอัตราความเร็วที่ใช้ได้ 2. ผลักดันและประสานงานกับกองบังคับการจราจร และตำรวจนครบาลในการผลักดันให้มีการออกประกาศหัวหน้าเจ้าพนักงานควบคุมความเร็ว ปรับปรุงกายภาพสนับสนุนการขับขี่ตามที่กฎหมายกำหนด 1. ติดตั้งอุปกรณ์ทางกายภาพในการช่วยลดความเร็ว ในย่านความเร็วต่ำเช่น การตีเส้นนูน เส้นทะแยง การปรับลดขนาดเลน ป้ายจำกัดความเร็ว ฯลฯ 2. บูรณาการการใช้กล้องวงจรปิด ในการช่วยลดความเร็วเช่น การติดตั้งไฟกระพริบ สัญญาณเตือน ป้ายบอกความเร็ว รวมถึงการใช้ภาพร่วมในการกวดขันวินัยจราจรและลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎ ร่วมกับตำรวจ เช่น การขับขี่ย้อนศร ขับขี่บนทางเท้า ขับขี่เกินความเร็วที่กำหนด การฝ่าสัญญาณไฟจราจร การจอดในที่ห้ามจอด

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :-ร้อยละของเป้าหมายที่ได้รับการปรับปรุงมาตรการเพื่อลดความเร็ว -สถิติผู้กระทำความผิดจากกรณีความเร็วลดลง สจส. ต้องสรุปข้อมูลจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ และจัดทำประกาศกำหนดความเร็วรถ ภายใน 100 วัน -ผลักดันกฎหมายควบคุมความเร็ว 1. สำนักการจราจรและการขนส่ง กทม. เป็นเจ้าภาพในการออกแบบจัดโซนนิ่ง ประเภทถนนในการกำหนดเขตความเร็วต่ำ เช่น บริเวณย่านชุมชน บริเวณถนนรอง บริเวณย่านจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร บริเวณย่านธุรกิจเมืองชั้นใน ร่วมกับ ประชาชน ภาคประชาสังคม และตำรวจในฐานหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งสามารถประกาศพื้นที่กำหนดอัตราความเร็วที่ใช้ได้ 2. ผลักดันและประสานงานกับกองบังคับการจราจร และตำรวจนครบาลในการผลักดันให้มีการออกประกาศหัวหน้าเจ้าพนักงานควบคุมความเร็ว -ปรับปรุงกายภาพสนับสนุนการขับขี่ตามที่กฎหมายกำหนด 1. ติดตั้งอุปกรณ์ทางกายภาพในการช่วยลดความเร็ว ในย่านความเร็วต่ำเช่น การตีเส้นนูน เส้นทะแยง การปรับลดขนาดเลน ป้ายจำกัดความเร็ว ฯลฯ 2. บูรณาการการใช้กล้องวงจรปิด ในการช่วยลดความเร็วเช่น การติดตั้งไฟกระพริบ สัญญาณเตือน ป้ายบอกความเร็ว รวมถึงการใช้ภาพร่วมในการกวดขันวินัยจราจรและลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎ ร่วมกับตำรวจ เช่น การขับขี่ย้อนศร ขับขี่บนทางเท้า ขับขี่เกินความเร็วที่กำหนด การฝ่าสัญญาณไฟจราจร การจอดในที่ห้ามจอด

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 092 : พนักงาน กทม.ตรวจสอบความพร้อมใช้สาธารณูปโภคเมืองเชิงรุก 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนท. // หน่วยงานสนับสนุน สนย., สจส., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- สภาพแวดล้อมความปลอดภัยของการเดินทางได้รับการตรวจสอบและแก้ไขเป็นประจำ - ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.มีพนักงานที่ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่อยู่จำนวนมาก ทั้งพนักงานความสะอาด หรือเจ้าหน้าที่เทศกิจ ซึ่งมีรอบการปฏิบัติงานในพื้นที่ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร หมุนเวียนกันไปทั้งกลางวันและกลางคืน พนักงานเหล่านี้จึงทำงานกับสาธารณูปโภคเมืองอยู่แล้ว เพื่อให้กทม. ดูแลสาธารณูปโภคได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น กทม.จะมอบหมายหน้าที่ให้เจ้าพนักงานกำหนดหน้าที่รับผิดชอบสิ่งต่าง ๆ โดย 1. กำหนดหน้าที่ในการตรวจสอบและรายงานสภาพถนน แสงสว่าง ทางเท้า การจัดการขยะ และสาธารณูปโภคอื่น ๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่ภาคสนาม ของ กทม. 2. จัดเตรียมระบบ และอุปกรณ์เครื่องมือในการรายงานปัญหาต่าง ๆ ให้

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ตัวชี้วัด ระบบการตรวจสอบและรายงานผลสภาพสาธารณูปโภคที่ชำรุดเสียหายในพื้นที่ (ร้อยละของเรื่องร้องเรียนจากปัญหาโครงสร้างพื้นฐานเมืองลดลง) ตัวชี้วัดระดับนโยบาย บริหารจัดการในภาพรวมให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามซึ่งปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ ตรวจสอบดูแลสาธารณูปโภค โดย 1. จัดวางระบบการตรวจสอบและรายงานผลสภาพสาธารณูปโภคในพื้นที่ กทม. เช่น ถนน แสงสว่าง ทางเท้า การจัดการขยะ และสาธารณูปโภคอื่น ๆ 2. จัดเตรียมระบบ และอุปกรณ์เครื่องมือในการรายงานปัญหาต่าง ๆ ให้

    5.เป้าหมาย :ระบบการตรวจสอบและรายงานผล : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 093 : กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนย. // หน่วยงานสนับสนุน สนข., สวพ., สจส., สนน.

    2.ประชาชนได้อะไร :- โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ปลอดภัย - การร้องเรียนเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานแต่ละครั้งมีผู้รับผิดชอบแน่ชัด

    3.กทม.จะทำอย่างไร :หน่วยงานและพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ต่างมีหน่วยงานในสังกัด กทม.รับผิดชอบอยู่แล้ว เพื่อเป็นการจัดการไม่ให้เกิดการทับซ้อน จนเว้นว่างในการดูแล ซ่อมบำรุง และรับรู้กันโดยสาธารณะ กทม. จะมีการกำหนดและประกาศหน่วยงานที่รับผิดชอบในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ทางข้าม สะพานลอย สะพานและถนน โดยอาจระบุหน่วยงานไว้ในป้ายสัญลักษณ์ต่าง ๆ หรือระบุลงในแผนที่ Dashboard ของกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละความสำเร็จในการจัดทำแผนที่ GIS ระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในพื้นที่ กทม. หมายเหตุ : สนย.กำหนดขั้นตอนงานเป็นร้อยละ เพื่อสำหรับการรายงานและติดตามผลงาน (ร้อยละของเรื่องร้องเรียนจากปัญหาโครงสร้างพื้นฐานเมืองลดลง) (ตัวชี้วัดระดับนโยบาย) บูรณาการให้เกิดการประสานสาธารณูปโภคหน่วยงานและพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มีการกำหนดและประกาศหน่วยงานที่รับผิดชอบในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ทางข้าม สะพานลอย สะพานและถนน โดยอาจระบุหน่วยงานไว้ในป้ายสัญลักษณ์ต่าง ๆ หรือระบุลงในแผนที่ Dashboard ของกรุงเทพมหานคร เป็นต้น หมายเหตุ สนย.ต้องจัดทำขั้นตอนงาน เป็นร้อยละ เพื่อสำหรับการรายงานผลการดำเนินงาน

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 094 : รณรงค์สิทธิและระเบียบวินัยพลเมืองในเรื่องจราจร ความสะอาด คอร์รัปชั่น สิ่งแวดล้อม 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- สังคมที่ประชาชนเคารพในสิทธิของกันและกัน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :สร้างจิตสำนึกส่วนรวมในการอยู่ร่วมกัน รักษาสิทธิร่วมกัน และวินัยของพลเมือง ทั้งด้านจราจร ความสะอาด ความโปร่งใส และสิ่งแวดล้อม เช่น การรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อมเมือง การแยกขยะ การเคารพกฎจราจร ความโปร่งใสและสิทธิในการตรวจสอบ โดยรณรงค์กับทั้งโรงเรียนในสังกัด กทม. เจ้าหน้าที่และบุคลากร อาสาสมัครของกรุงเทพมหานคร และกลุ่มประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเยอะ เช่น - วินมอเตอร์ไซค์ คนขับรถขนส่ง ในมิติจราจร - แม่บ้าน นิติบุคคล ในมิติด้านความสะอาด (การแยกขยะ) - เด็กนักเรียน อบรมในทุก ๆ มิติเพื่อให้เป็นส่วนช่วยสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนกรุงเทพฯ นอกเหนือจากการรณรงค์แล้ว กทม. จะปรับปรุงการออกแบบเมืองควบคู่ไปด้วยเพื่อช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน เช่น - การออกแบบมาตรฐาน สี รูปแบบของถังขยะใหม่ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจการแยกขยะมากยิ่งขึ้น เช่น จุดเทน้ำทิ้งคู่กับที่ทิ้งแก้วพลาสติก จุดวางไม้เสียบลูกชิ้น - เพิ่มความสว่าง เพิ่มสัญญาณเตือน และจัดการกับสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางทำให้มองไม่เห็นผู้ข้าม

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :-ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี สร้างจิตสำนึกส่วนรวมในการอยู่ร่วมกัน รักษาสิทธิร่วมกัน และวินัยของพลเมือง 1) ด้านจราจร 2) ความสะอาด 3) ความโปร่งใส และ 4) สิ่งแวดล้อม โดยรณรงค์กับทั้ง 1. โรงเรียนในสังกัด กทม. เจ้าหน้าที่และบุคลากร อาสาสมัครของกรุงเทพมหานคร 2. กลุ่มประชาชน เช่น - วินมอเตอร์ไซค์ คนขับรถขนส่ง ในมิติจราจร - แม่บ้าน นิติบุคคล ในมิติด้านความสะอาด (การแยกขยะ) - เด็กนักเรียน อบรมในทุก ๆ มิติเพื่อให้เป็นส่วนช่วยสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนกรุงเทพฯ

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 095 : พัฒนาโรงเรียน 3 ภาษา สอนผ่านหลักสูตรไทย ต่างประเทศและเทคโนโลยีเพื่อการทำงาน 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- นักเรียนมีทักษะรอบด้าน สอดคล้องกับสถานการณ์โลกและการประกอบอาชีพในปัจจุบัน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- พัฒนาหลักสูตร 3 ภาษาโดยเพิ่มการเรียนบางวิชาที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เพื่อให้นักเรียนคุ้นชินกับคอมพิวเตอร์ - ขยายความครอบคลุมของของหลักสูตร 2 และ 3 ภาษาให้ครอบคลุมโรงเรียนของ กทม. ให้ได้มากที่สุด

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :โรงเรียน : 437

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 096 : สร้างเครือข่ายร่วมกับภาคเอกชน โครงการพี่สอนน้องนอกเวลาเรียน 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- นักเรียนในสังกัด กทม.ได้เรียนรู้และทดลองนอกห้องเรียน - นิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กๆ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :สนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ และประชาชนทั่วไปเข้ามาออกแบบหลักสูตรร่วมกัน ทั้งในมิติวิชาการการเสริมในมิติการใช้ชีวิตและวิชาชีพ (เช่น design thinking, ร้องเพลง, เต้น)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะชีวิตและอาชีพที่หลากหลาย อย่างน้อย 12,000 คน จากอย่างน้อย 250 โรงเรียน

    5.เป้าหมาย :คน : 12000

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 097 : โรงเรียนประสิทธิภาพสูงด้วย open data 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนศ. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ข้อมูลของโรงเรียนสังกัด กทม.ที่เปิดเผยและประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้

    3.กทม.จะทำอย่างไร :เปิดเผยข้อมูลของโรงเรียนในมิติต่างๆ เช่น งบประมาณ แผนการดำเนินการ ตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ผลการประเมินคุณภาพโรงเรียน ขึ้นอยู่บน Cloud พร้อมกับการแสดงผลบน Dashboard ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ชุดข้อมูล : 100

    6.Action Plan :1. ระบบฐานข้อมูลกลางด้านการศึกษาออนไลน์ Bangkok of Education Management Information System (BEMIS)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 098 : พัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วยแนวคิด 'โรงเรียนแห่งการเรียนรู้' (Learning School) 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- สมรรถนะของผู้เรียนที่สูงขึ้นทั้งในแง่วิชาการและการใช้ชีวิต - พื้นที่แลกเปลี่ยนและพัฒนาทักษะของคุณครู

    3.กทม.จะทำอย่างไร :นำแนวทาง โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (Learning School) มีแนวทางคือ - เน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง นักวิชาการ ชุมชน และภาคส่วนต่าง ๆ (school as a learning community) - ส่งเสริมการเรียนรู้ ผ่านการลงมือปฏิบัติ (action-oriented) และเรียนรู้ร่วมกันจากเพื่อนๆ ในระดับชั้นเรียน เพื่อให้เกิดสมรรถนะผู้เรียน (competency) ที่ทันต่อการเรียนรู้และการทำงานแห่งอนาคต - การพัฒนาครูจากหน้างาน ‘ครูทุกคนเก่งขึ้นจากห้องเรียนของตนเอง’ ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ ‘ครูช่วยครู’ ทั้งภายในโรงเรียน ระหว่างโรงเรียนและจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันของเครือข่ายคุณครูต่าง ๆ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :โรงเรียน : 437

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 099 : พัฒนาศูนย์เด็กอ่อน-เด็กเล็กใกล้ชุมชนและแหล่งงาน 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ลดค่าใช้จ่ายและแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองหลังช่วงลาคลอด - มีพื้นที่ให้ผู้ปกครองได้ปรึกษาและแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับการดูแลเด็กอ่อน-เด็กเล็ก - มีบุคลากรที่พร้อมดูแลเด็กอ่อน-เด็กเล็กให้มีพัฒนาการสมวัย

    3.กทม.จะทำอย่างไร :เกิดช่องว่างระหว่างช่วงที่ขาดการดูแลจากรัฐสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึง 2 ขวบครึ่ง ซึ่งในบางครั้งพ่อแม่ไม่สามารถดูแลได้ ในยุคนี้ที่ค่าใช้จ่ายในการมีลูกสูงขึ้น และอัตราการเกิดของประชากรน้อยลง การพัฒนาศูนย์ดูแลเด็กอ่อน-เด็กเล็กจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและภาระของผู้ปกครอง โดยเฉพาะแม่ลูกอ่อนที่ยังต้องทำงานและเลี้ยงดูลูกไปพร้อมกัน และเสริมคุณภาพชีวิตของเด็ก นอกเหนือจากเรื่องจำนวนศูนย์ฯ และการบริการแล้ว แม้บุคลากรของศูนย์จะได้รับเงินเดือน แต่อยู่ในอัตราที่ค่อนข้างต่ำและไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพและค่าตอบแทนของตลาด ซึ่งอาจทำให้ขาดแคลนบุคลากรมากขึ้นในอนาคต ดังนั้น กทม.จะพัฒนาศูนย์ดูแลเด็กอ่อน-เด็กเล็กในประเด็นดังต่อไปนี้ 1. เพิ่มปริมาณ – เพิ่มการจัดตั้งศูนย์ดูแลเด็กอ่อน-เด็กเล็กโดยเฉพาะศูนย์ขนาดเล็กในชุมชน ศูนย์บริการตามแหล่งงานให้มีความครอบคลุมกับความต้องการ 2. เพิ่มการบริการ – ขยายการดูแลให้ครอบคลุมเด็ก เริ่มตั้งแต่ 3 เดือน หรือ 6 เดือน โดยในช่วง 3-6 เดือนจะเป็นการสนับสนุนให้แม่นำบุตรมาเลี้ยงที่ศูนย์และเป็นการช่วยดูแลไปพร้อมกัน เนื่องจากในช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่นมแม่มีความสำคัญต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก ส่วนสำหรับช่วงอายุ 6 เดือน-2 ขวบครึ่ง จะเป็นการฝากรับเลี้ยงตั้งแต่ 7-8 โมงเช้า จนถึง 5-6 โมงเย็น และไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลเด็กอ่อน เพื่อให้สอดคล้องกับเวลาเข้างานและเลิกงานของผู้ปกครองในพื้นที่ รวมถึงแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองเด็กอ่อน 3. เพิ่มหนังสือ - จัดหาหนังสือดี มีคุณภาพ เหมาะสมสำหรับเด็ก 3 - 6 เดือน - 3 ปี (กรมอนามัยได้มีการคัดสรรนิทานที่เหมาะสำหรับเด็กอายุ 0 - 3 ปี จำนวน 100 เรื่อง) โดยให้มีเพียงพอต่อเด็กในการดูแลอย่างน้อยเด็ก 1 คนต้องมีหนังสือ 3 เล่ม ให้สามารถยืมกลับบ้านหรืออ่านที่ศูนย์ฯ ได้ 4. เพิ่มบุคลากรและค่าตอบแทน - เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลเด็กเล็ก กทม.จะร่วมมือกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาและอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการดูแลเด็กเล็ก เด็กอ่อน และเสริมความเชี่ยวชาญในการใช้หนังสือเพื่อพัฒนาเด็กให้เหมาะสมตามช่วงวัย พร้อมกับปรับค่าตอบแทนบุคลากรตามการฝึกฝนให้เหมาะสมกับค่าครองชีพและสอดคล้องกับค่าตอบแทนของตลาด 5. เพิ่มค่าอาหารสำหรับเด็กอ่อนและเด็กเล็ก - เพิ่มเงินสนับสนุนค่าอาหารแก่ศูนย์เด็กอ่อน-เด็กเล็ก [2] ให้เป็น 40 บาท/วัน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับค่าอาหารของระดับอนุบาล-มัธยมของโรงเรียนในสังกัด กทม. [3] 6. ส่งเสริมหลักสูตร - เน้นให้เด็กทำเป็น เล่นเป็น เรียนรู้เป็น

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :อาสาสมัครผู้ดูแลเด็กฯ ได้รับการส่งเสริมความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    5.เป้าหมาย :คน : 278

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 100 : ทางเท้าเดิมโล่ง สะอาด เป็นระเบียบ 0 5 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 5 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้เมืองที่เป็นมิตรต่อการเดิน เนื่องจากอุปสรรคบนทางเท้าลดลง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะดำเนินการปรับปรุงทางเท้าเดิม โดย 1. ร่วมกับหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคเหล่านั้น หากสิ่งใดสามารถรื้อถอนได้จะดำเนินการรื้อออกให้หมด หากสิ่งใดยังต้องมีอยู่จะต้องปรับตำแหน่งให้ตามแบบที่กำหนด 2. ศึกษาข้อกฎหมายแนวกันสาดและแนวใต้ชายคา การใช้พื้นที่สาธารณะนอกตัวอาคาร ว่าสามารถใช้ได้หรือไม่ได้ และหาแนวทางออกร่วมกับประชาชนริมทางเท้า 3. ศึกษาการจัดการแนวระบบสาธารณูปโภคให้เป็นแนวเดียวกันและกำหนดแนวทางการเข้าบำรุงให้ชัดเจน เพื่อทางเท้าที่น่าเดินสำหรับทุกคน 4. รวบป้ายทั้งหมดที่ยังจำเป็นต้องมีอยู่ให้อยู่บนเสาเดียว ให้เหลือเสาน้อยที่สุด 5. ป้ายไหนผิดกฎหมายจะต้องรื้อออกไปทั้งหมด 6. ไม่มีการต่อใบอนุญาตป้ายโฆษณาอีกต่อไป 7. ปรับรูปแบบจุดทิ้งขยะให้เพียงพอต่อปริมาณการทิ้ง โดยปรับรูปแบบให้เป็นภาชนะที่มิดชิด ไม่ให้ความสกปรกแพร่กระจายลงสู่ทางเท้า 8. ดำเนินการกับผู้กระทำความผิดทั้งรื้อขยะและทิ้งไม่ลงถังเพื่อไม่ให้พฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นอีกซ้ำซาก 9. ทำความสะอาดจุดทิ้งขยะและทางเท้าอย่างสม่ำเสมอเพราะทางเท้าจะเดินดีได้ต้องสะอาดด้วย 10. ดำเนินการให้ห้องแถวริมทางเท้าแก้ไขการทิ้งน้ำ ระบายน้ำจากอาคารลงสู่ทางเท้า ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของทางเท้าที่ได้รับการจัดระเบียบ ถนน 265 เส้นทาง ใน 100 วัน บริหารจัดการภาพรวม การปรับปรุงทางเท้าเดิม โดย 1. ร่วมกับหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคเหล่านั้น หากสิ่งใดสามารถรื้อถอนได้จะดำเนินการรื้อออกให้หมด หากสิ่งใดยังต้องมีอยู่จะต้องปรับตำแหน่งให้ตามแบบที่กำหนด (สนย.) 2. ศึกษาข้อกฎหมายแนวกันสาดและแนวใต้ชายคา การใช้พื้นที่สาธารณะนอกตัวอาคาร ว่าสามารถใช้ได้หรือไม่ได้ และหาแนวทางออกร่วมกับประชาชนริมทางเท้า (สนย.) 3. ศึกษาการจัดการแนวระบบสาธารณูปโภคให้เป็นแนวเดียวกันและกำหนดแนวทางการเข้าบำรุงให้ชัดเจน เพื่อทางเท้าที่น่าเดินสำหรับทุกคน (สนย.) 4. ดำเนินการให้ห้องแถวริมทางเท้าแก้ไขการทิ้งน้ำ ระบายน้ำจากอาคารลงสู่ทางเท้า ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522(สนย.) 5. ป้ายไหนผิดกฎหมายจะต้องรื้อออกไปทั้งหมด(สนท.) 6. ดำเนินการกับผู้กระทำความผิดทั้งรื้อขยะและทิ้งไม่ลงถังเพื่อไม่ให้พฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นอีกซ้ำซาก (สนท.) 7. ปรับรูปแบบจุดทิ้งขยะให้เพียงพอต่อปริมาณการทิ้ง โดยปรับรูปแบบให้เป็นภาชนะที่มิดชิด ไม่ให้ความสกปรกแพร่กระจายลงสู่ทางเท้า (สสล.) 8. ทำความสะอาดจุดทิ้งขยะและทางเท้าอย่างสม่ำเสมอเพราะทางเท้าจะเดินดีได้ต้องสะอาดด้วย(สสล.) 9. รวบป้ายทั้งหมดที่ยังจำเป็นต้องมีอยู่ให้อยู่บนเสาเดียว ให้เหลือเสาน้อยที่สุด(สจส.) 10. ไม่มีการต่อใบอนุญาตป้ายโฆษณาอีกต่อไป (สนข.)

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 101 : ส่งเสริมหลักสูตร คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น สำหรับเด็กช่วง 0-8 ปี 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- พัฒนาการในการเรียนรู้ของเด็กเล็กโดยเฉพาะในด้าน การคิด การเรียนรู้ และลงมือทำที่นอกเหนือจากด้านวิชาการ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :นำแนวทาง คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น เข้ามาเป็นส่วนประกอบหลักในการดูแลเด็กทั้งในศูนย์ดูแลเด็กอ่อน เด็กเล็ก อนุบาล ในสังกัด กทม. โดยมีหลักการ เช่น 1. ตั้งคำถามแทนตอบคำถาม 2. ทำแทนการเรียนอย่างเดียว 3. วางแผนการทำงาน (วางแผนการทำอาหาร / วางแผนการเที่ยว) 4. ท้าทาย ลองผิดลองถูก 5. ทบทวนประสบการณ์ สรุปบทเรียน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จัดทำคู่มือการส่งเสริมและพัฒนาเด็กปฐมวัย กทม. (2 - 3 ปี)

    5.เป้าหมาย :ฉบับ : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 102 : จัดหารุกขกรมืออาชีพดูแลต้นไม้ประจำเขต 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :ได้ทางเดินเท้าที่มีต้นไม้ให้ร่มเงาและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับพื้นที่

    3.กทม.จะทำอย่างไร :1. จัดการอบรมรุกขกรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ดูแลต้นไม้เดิมของ กทม.ให้เป็นรุกขกร 2. จัดให้เจ้าหน้าที่ผ่านการอบรมเป็นรุกขกรประจำเขต มีหน้าที่ในการดูแลต้นไม้เป็นการเฉพาะ 3. จัดทำทะเบียนต้นไม้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกรุงเทพฯ สำรวจและประเมินสุขภาพต้นไม้ อยู่เป็นประจำ 4. กำหนดแนวทางและกำหนดรอบการดูแลรักษาต้นไม้ให้กับแต่ละเขต 5. กำหนดต้นไม้ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพเมือง และสภาพทางเท้า 6. ตัดแต่งต้นไม้ให้เป็นไปตามหลักการ โดยไม่รบกวนสายไฟ ให้ร่มเงา ปลอดภัย และแข็งแรง 7. หากมีเหตุจำเป็นให้ต้องย้ายต้นไม้ จะดำเนินการด้วยการล้อม โดยผู้เชี่ยวชาญ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :1. จัดทำข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานภายนอกที่ดูแลต้นไม้ร่วมกับกรุงเทพมหานคร 2. จัดทำคู่มือการตัดแต่งต้นไม้

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 103 : พัฒนาห้องสมุดและห้องการเรียนรู้เคลื่อนที่ 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ห้องสมุดเคลื่อนที่ตามโรงเรียน ชุมชน และพื้นที่สาธารณะ อำนวยความสะดวกให้นักเรียนและประชาชนทั่วไป

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- เพิ่มรถห้องสมุด - เพิ่มรถห้องสมุดขนาดเล็กให้สามารถเข้าออกได้หลากหลายที่ - ขยายการให้บริการเป็น 7 วัน - ขยายภารกิจให้บริการหลากหลายพื้นที่เพิ่มเติม เช่น สวนสาธารณะ ลานกีฬา เป็นต้น - เพิ่มบริการยืม-คืนหนังสือเคลื่อนที่เพิ่มเติม โดยเด็กและประชาชนทั่วไปสามารถยืมหนังสือจากห้องสมุดใด ๆ ก็ได้ของ กทม. และมารับที่ห้องสมุดเคลื่อนที่ได้ - เพิ่มหนังสือนิทาน หนังสือภาพสำหรับเด็ก ให้มากและหลากหลายขึ้น รวมถึงการส่งเสริมกิจกรรมการอ่าน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ครั้ง : 30

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 104 : สายสื่อสารลงดินไม่ซ้ำซ้อน สะท้อนต้นทุน ไม่กระทบประชาชน 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนย. // หน่วยงานสนับสนุน สจส., สนน.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้ทางเดินเท้าที่ปลอดภัยและมีทัศนียภาพที่ดีขึ้น ปลอดสายสื่อสารไร้ระเบียบ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินที่ไม่ซ้ำซ้อนกับระบบเดิม และให้ผู้ประกอบการทำการรื้อถอนสายเก่าและสายที่ไม่ได้ใช้งานที่แขวนอยู่บนเสาไฟฟ้า พร้อมกับพัฒนาแนวทางการนำสายสื่อสารลงดินอย่างเป็นระบบเพื่อลดผลกระทบกับประชาชน และสร้างภาพลักษณ์ ภูมิทัศน์ที่สวยงามให้กับเมือง โดย 1. สนับสนุนให้คิดค่าบริการเช่าท่อร้อยสายใต้ดินในราคาที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายตกอยู่กับผู้ประกอบการมากเกินควร ไม่เกิดการผูกขาด มีความโปร่งใสในทุกขั้นตอน เพื่อให้ไม่ส่งผลต่อค่าบริการระบบโทรคมนาคมของประชาชน 2. กำหนดจุดเชื่อมต่อกับผิวดิน (riser) ร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ เพื่อให้ครอบคลุมการให้บริการประชาชน และป้องกันการสร้างจุดไรเซอร์ที่ไม่ตรงกับลักษณะการใช้งาน 3. หารือร่วมกับ กสทช. และกระทรวงดิจิทัลฯ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือทุกภาคส่วนในการลดต้นทุน ทั้งต้นทุนการบริหารและต้นทุกการจัดการสายสื่อสายลงท่อร้อยสายใต้ดิน เช่น การนำเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน USO) มาช่วยในการอุดหนุนค่าบริการ และกทม.สนับสนุนในเรื่องขั้นตอนการขออนุญาตและค่าธรรมเนียม 4. สำหรับสายสื่อสารในถนนสายรองที่ไม่สามารถนำลงดินได้ เพราะอาจไม่มีท่อร้อยสายใต้ดินรองรับ กทม.จะผลักดันการดำเนินการร่วมกับ กฟน.เพื่อรวมสายสื่อสารทุกเส้นบนเสาไฟฟ้าเข้าไว้ด้วยกัน โดยจะให้ผู้ประกอบการร่วมกันออกแบบสายสื่อสารไฟเบอร์ออพติกร่วมแบบ Micro Fiber Sharing ให้เพียงพอต่อการรองรับการใช้งานในปัจจุบันและอนาคต พร้อมกับกำหนดกรอบเกี่ยวกับการบริการและการบำรุงรักษาร่วมกัน ส่วนสายสื่อสารเดิมจะมีการขอความร่วมมือผู้ให้บริการในการสำรวจและรื้อถอนออก

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ระยะทางที่มีการจัดระเบียบนำสายต่าง ๆ ลงใต้ดิน ...........กิโลเมตร (หมายเหตุ สนย.ติดตามแผนงานของ กฟน. และอื่น ๆ โดยกำหนดจำนวนที่จะดำเนินการได้แต่ละปี มากำหนดเป้าหมายแต่ละปี) ร้อยละของถนนที่มีการจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสาร ...........กิโลเมตร (ปี 2566-2567 -จำนวนการนำสายสื่อสารลงดินของ กฟน. ........ กม. -จำนวนการนำสายสื่อสารลงดินในพื้นที่ที่มีท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินอยู่แล้ว ........ กม. -จำนวนการนำสายสื่อสารลงดินและจัดระเบียบสายสื่อสารบางส่วนที่ไม่สามารถลงดินได้ ..........กม.) ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินที่ไม่ซ้ำซ้อนกับระบบเดิม และให้ผู้ประกอบการทำการรื้อถอนสายเก่าและสายที่ไม่ได้ใช้งานที่แขวนอยู่บนเสาไฟฟ้า พร้อมกับพัฒนาแนวทางการนำสายสื่อสารลงดินอย่างเป็นระบบเพื่อลดผลกระทบกับประชาชน และสร้างภาพลักษณ์ ภูมิทัศน์ที่สวยงามให้กับเมือง

    5.เป้าหมาย :กิโลเมตร : 1000

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 105 : จุดจอดจักรยานคุณภาพ ปลอดภัย ทุกจุดเชื่อมต่อขนส่ง 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน สนข., สนย.

    2.ประชาชนได้อะไร :- สามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้ง่ายขึ้นโดยใช้จักรยานเป็นตัวเชื่อมต่อจากที่พักอาศัยสู่ระบบขนส่งสาธารณะหลัก - มีความมั่นใจในการใช้จักรยานเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทาง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะพัฒนาจุดจอดรถจักรยานที่มีคุณภาพและปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้จักรยาน และส่งเสริมการใช้จักรยานเป็นขนส่งสาธารณะระดับรอง (feeder) มาเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะ และเพิ่มจำนวนจุดจอดบริเวณหน้าปากซอยบริเวณป้ายรถเมล์ บริเวณจุดเชื่อมต่อการเดินทาง (hub) และสถานีขนส่งสาธารณะต่างๆ และกำหนดรอบการดูแลบำรุงรักษาอย่างชัดเจน เพื่อให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยมีโจทย์เบื้องต้น คือ 1. พิจารณาออกแบบที่จอดให้มีลักษณะหลากหลาย เช่น จอดจักรยานแนวตั้ง จอดจักรยานแนวนอนขนานถนน จอดจักรยานเฉียง จอดจักรยาน 2 ชั้น โดยยืดหยุ่นตามความเหมาะสมกับพื้นที่ 2. โครงสร้างของที่จอดจักรยานต้องยึดติดกับพื้น 3. ออกแบบที่จอดจักรยาน โดย 3.1 ให้ยึดจักรยานติดกับพื้นทางเท้า หรือพื้นที่จอดจักรยาน พื้นต้องมีร่องไม่ให้ขยับล้อได้ และยกจากพื้นไม่ได้ 3.2 ให้คล้องโซ่ได้ทั้งล้อและท่อนอนจักรยาน (Top Tube) 3.3 ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับรถจักรยานหลากหลายประเภท จักรยานแม่บ้าน ไปจนจึงจักรยานเพื่อการนันทนาการ 3.4 ให้มีหลังคาคลุม 4. ติดตั้ง CCTV 5. ติดตั้งแสงสว่าง 6. ติดตั้งครอบคลุมทุกจุดเปลี่ยนถ่ายขนส่งสาธารณะ 7. พิจารณาติดตั้งที่สูบลมจักรยาน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของจุดจอดจักรยานปลอดภัยได้รับมาตรฐานตามกำหนด ประกอบด้วย การสำรวจและกำหนดมาตรฐานการปรับปรุงจุดจอดจัดกรยานที่มีอยู่เดิม และการศึกษาความต้องการในการใช้จุดจอดจักรยานของผู้ใช้จักรยานกลุ่มต่าง ๆ พัฒนาจุดจอดรถจักรยานที่มีคุณภาพและปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้จักรยาน และส่งเสริมการใช้จักรยานเป็นขนส่งสาธารณะระดับรอง (feeder) มาเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะ และเพิ่มจำนวนจุดจอดบริเวณหน้าปากซอยบริเวณป้ายรถเมล์ บริเวณจุดเชื่อมต่อการเดินทาง (hub) และสถานีขนส่งสาธารณะต่างๆ และกำหนดรอบการดูแลบำรุงรักษาอย่างชัดเจน เพื่อให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยมีโจทย์เบื้องต้น คือ 1. พิจารณาออกแบบที่จอดให้มีลักษณะหลากหลาย เช่น จอดจักรยานแนวตั้ง จอดจักรยานแนวนอนขนานถนน จอดจักรยานเฉียง จอดจักรยาน 2 ชั้น โดยยืดหยุ่นตามความเหมาะสมกับพื้นที่ 2. โครงสร้างของที่จอดจักรยานต้องยึดติดกับพื้น 3. ออกแบบที่จอดจักรยาน โดย 3.1 ให้ยึดจักรยานติดกับพื้นทางเท้า หรือพื้นที่จอดจักรยาน พื้นต้องมีร่องไม่ให้ขยับล้อได้ และยกจากพื้นไม่ได้ 3.2 ให้คล้องโซ่ได้ทั้งล้อและท่อนอนจักรยาน (Top Tube) 3.3 ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับรถจักรยานหลากหลายประเภท จักรยานแม่บ้าน ไปจนจึงจักรยานเพื่อการนันทนาการ 3.4 ให้มีหลังคาคลุม 4. ติดตั้ง CCTV 5. ติดตั้งแสงสว่าง 6. ติดตั้งครอบคลุมทุกจุดเปลี่ยนถ่ายขนส่งสาธารณะ 7. พิจารณาติดตั้งที่สูบลมจักรยาน

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 106 : แจ้งปัญหาวินฯ ผ่านแพลตฟอร์มฟองดูว์ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนท. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้วินมอเตอร์ไซค์ที่ให้บริการดีขึ้น ขับรถปลอดภัย ครบกฎจราจรและคิดค่าโดยสารถูกต้อง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :จากหนังสือคำสั่งคณะกรรมการประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่ 1/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประจำกรุงเทพมหานคร ได้กำหนดหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ จากรายละเอียด กทม.ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูและวินมอเตอร์ไซค์โดยตรง แต่ในฐานะเจ้าบ้าน กทม.จะละเลยปัญหาหลักของเรื่องวินมอเตอร์ไซค์ไม่ได้ เช่นประเด็นค่าโดยสารที่แพงกว่าที่ป้ายและแพงกว่าข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก และการขับรถอันตราย ผิดกฎจราจร เป็นต้น ดังนั้น กทม.จะเพิ่มฟังก์ชั่นการแจ้งปัญหาวินมอเตอร์ไซค์ในเครื่องมือแจ้งปัญหาเมืองฟองดูว์ เพื่อให้ประชาชนสามารถแจ้งปัญหาวินมอเตอร์ไซค์ที่พบเจอได้ โดย กทม.จะดำเนินการส่งเรื่องต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอาศัยกลไกคณะอนุกรรมการในการผลักดันรายงานวินฯ ที่ได้รับการร้องเรียนเพื่อให้คณะอนุกรรมการออกมาตรการดำเนินการ หน้าที่คณะอนุกรรมการมีดังนี้ 1. กำหนดสถานที่รอรับคนโดยสาร (วิน) กำหนดเส้นทางหรือท้องที่ในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ออกหนังสือรับรองการจัดตั้งสถานที่รอรับคนโดยสาร (วิน) และออกหนังสือรับรองการใช้จักรยานยนต์สาธารณะตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประจำกรุงเทพกำหนด 2. กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารในแต่ละเส้นทางหรือท้องที่ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง 3. ถอดชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ 4. เสนอแนะเกี่ยวกับการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์สาธารณะให้คณะกรรมการประจำกรุงเทพมหานครทราบ 5. ดำเนินการอื่นที่คณะกรรมการประจำกรุงเทพมหานครมอบหมาย 6. ดำเนินการอื่นที่จำเป็นในการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์สาธารณะแล้วรายงานให้คณะกรรมการประจำกรุงเทพมหานครทราบ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของความสำเร็จในการแก้ปัญหาข้อร้องเรียนวินฯ ร้อยละ 70 ใน 100 วัน แจ้งปัญหาวินมอเตอร์ไซค์ในเครื่องมือแจ้งปัญหาเมืองฟองดูว์ เพื่อให้ประชาชนสามารถแจ้งปัญหาวินมอเตอร์ไซค์ที่พบเจอได้ โดย กทม.จะดำเนินการส่งเรื่องต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอาศัยกลไกคณะอนุกรรมการในการผลักดันรายงานวินฯ ที่ได้รับการร้องเรียนเพื่อให้คณะอนุกรรมการออกมาตรการดำเนินการ

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :เรื่องร้องเรียน จำนวนเรื่อง 40 เรื่อง แก้ไขแล้ว 36 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 90 อยู่ระหว่างดำเนินการ 4 เรื่อง

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 107 : โปร่งใส ไม่ส่วย 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :ความโปร่งใสของภาครัฐ ซึ่งลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของธุรกิจ กรุงเทพฯ ปลอดการคอร์รัปชั่น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :-จริงจังกับการห้ามเรียกเก็บส่วย การปรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน ทั้งในระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการ (สำนักและฝ่าย) โดยผ่านการตรวจสอบจากทั้งโครงการสร้างการตรวจสอบภายในของ กทม. และการรับฟังการร้องเรียนและการแจ้งปัญหาของประชาชน -พัฒนาระบบติดตามการดำเนินการและขออนุญาต (tracking system) เพื่อให้การขออนุญาตต่าง ๆ โปร่งใสเป็นไปตามที่คู่มือประชาชนกำหนดไว้ โดยทันทีที่ประชาชนยื่นเอกสารผ่าน จุดเดียวจบ (One Stop Service) แล้วประชาชนจะสามารถตรวจสอบสถานะการอนุญาตใน Tracking System ได้ทันที -นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงาน -ลดการเจอกันระหว่างผู้ขออนุญาต และข้าราชการ ลดความเป็นไปได้ในการทุจริต และรับใต้โต๊ะ ผ่านการจัดการแบบจุดเดียวจบ (One Stop Service) และแนวคิดการย้ายการอนุญาตเข้าสู่ส่วนกลาง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :การประเมินความโปร่งใสของภาครัฐ ปลอดการคอร์รับชั่น

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 95

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 108 : สวน 15 นาที ทั่วกรุง 0 4 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 4 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สสล. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :ได้พื้นที่สาธารณะที่ทำกิจกรรมได้กระจายตัวอยู่ทุกที่ และสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดินภายใน 15 นาที

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ปัจจุบันการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเปิดโล่ง (outdoor public space) หรือที่ทำกิจกรรมออกกำลังหรือพักผ่อนหย่อนใจได้มีอยู่อย่างค่อนข้างจำกัด พื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงพื้นที่พักผ่อนได้ใกล้บ้าน กทม. จึงมีนโยบายทำให้ประชาชนเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเปิดโล่งได้ด้วยการเดิน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :พัฒนาสวนชุมชนขนาดเล็ก (Pocket Park) จำนวน 11 แห่ง

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 11

    6.Action Plan :1. โครงการพัฒนาสวนชุมชนขนาดเล็ก (Pocket Park)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 109 : สนับสนุนการแปลงที่ของประชาชนและเอกชนให้เป็นพื้นที่สีเขียว 0 4 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 4 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สสล. // หน่วยงานสนับสนุน สนค., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- พื้นที่สีเขียวกระจายตัวอยู่ตามที่ต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชนทั่วทั้งพื้นที่ - มีโอกาสในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวสำหรับเมืองเพิ่มเติม

    3.กทม.จะทำอย่างไร :การพัฒนาโดยเน้นการกระจายตัว เพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวของประชาชน นอกจากการประยุกต์ใช้พื้นที่ของภาครัฐแล้วนั้น ยังสามารถผลักดันให้เกิดการเปิดพื้นที่ของภาคเอกชน เพื่อการใช้ประโยชน์สำหรับสาธารณะต่างๆ ได้ในรูปแบบการพัฒนาพื้นที่สาธารณะบนที่ดินเอกชน (privately owned public space หรือ POPS) กทม.จะใช้มาตรการลดหย่อนภาษีจากการสร้างสาธารณประโยชน์ การหาภาคีในการร่วมพัฒนาพื้นที่ หรือการกำหนดข้อตกลงในเชิงการบริหารจัดการ เช่น การดูแลรักษา ทำความสะอาดโดย กทม. หรือการให้บริการสาธารณูปโภคโดยภาครัฐ เป็นต้น

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติในการพิจารณานาพื้นที่ของเอกชนและประชาชนให้กรุงเทพมหานครนำมาใช้ประโยชน์ ภายในปี 2566

    5.เป้าหมาย :คณะ : 1

    6.Action Plan :จัดทำมาตรการ/แนวทาง/ข้อตกลงในการรับที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ ภายในปี 2566

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 110 : เพิ่มเวลา เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มการเข้าถึงสวนและพื้นที่สาธารณะ 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สสล. // หน่วยงานสนับสนุน สจส., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :-พื้นที่สาธารณะปรับเวลาเปิด-ปิดให้สอดคล้องกับความต้องการและการใช้งานของประชาชน -ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานภายในพื้นที่สาธารณะให้ตอบโจทย์ประชาชน -พื้นที่สาธารณะเข้าถึงได้ด้วยขนส่งสาธารณะ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :1. ปรับเวลาเปิด-ปิด โดยกระบวนการมีส่วนร่วมกับประชาชนผู้ใช้งานและผู้อยู่อาศัยโดยรอบเพื่อขยายโอกาสการใช้งานให้กับคนทุกกลุ่ม 2. ปรับเวลาเปิด-ปิด โดยกระบวนการมีส่วนร่วมกับประชาชนผู้ใช้งานและผู้อยู่อาศัยโดยรอบเพื่อขยายโอกาสการใช้งานให้กับคนทุกกลุ่ม 3. การจัดสรรพื้นที่ค้าขาย (hawker center) สำหรับหาบเร่แผงลอย ที่กระจายอยู่รอบสวนสาธารณะให้มีการจัดการที่ถูกสุขลักษณะ เป็นระเบียบ มีที่ซักล้าง มีบ่อดักไขมัน เป็นต้น 4. ออกแบบสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าใช้งานพื้นที่สาธารณะ เช่น ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ สภาพทางเดินที่สะดวกและสามารถรองรับจำนวนของผู้คนได้มากพอ และระบบขนส่งสาธารณะพาคนจากชุมชนโดยรอบมายังพื้นที่สาธารณะ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 3

    6.Action Plan :1. กิจกรรมขยายเวลาเปิด-ปิดสวนสาธารณะ 2. โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าส่องสว่าง 2.1 สวนจตุจักร 2.2 สวนวชิรเบญจทัศ 3. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดระเบียบการค้าหาบเร่ – แผงลอย 4. โครงการลานวชิระปาร์คและพื้นที่สีเขียวใจกลางคณะ

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 111 : จัดทำงบประมาณแบบเริ่มจากศูนย์ (zero-based budgeting) 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สงม. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :จัดทำงบประมาณแบบ zero-based budgeting โดยพิจารณางบประมาณใหม่ทุกรายการ ไม่ใช่เพียงใช้งบประมาณของปีที่แล้วเป็นฐานเพื่อปรับความเหมาะสมของการจัดสรรงบประมาณไปในจุดต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพและความต้องการสูงสุด รวมถึงการทบทวนและปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการปฏิบัติงานของ กทม.

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ตัวชี้วัด : จำนวนสำนักงานเขตที่ดำเนินการจัดทำงบประมาณฐานศูนย์ การจัดทำงบประมาณฐานศูนย์ของ 50 เขต เฉพาะงบลงทุน ประเภทค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่โครงการ/รายการผูกพันในการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2567

    5.เป้าหมาย :สำนักงานเขต : 50

    6.Action Plan :1. การจัดทำงบประมาณฐานศูนย์ Zero-based budgeting

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 112 : พิจารณาให้นำสัตว์เลี้ยงไปออกกำลังกาย ในสวน กทม.ได้ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สสล. // หน่วยงานสนับสนุน -

    2.ประชาชนได้อะไร :- สวนสาธารณะเป็นจุดหมายปลายทางของกลุ่มคนที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยพิจารณาให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าสวนได้ - สุขภาวะของสัตว์เลี้ยงดีขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะพิจารณาเรื่องการอนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าภายในสวนฯ ได้ โดยเน้นการกระจายตัวของพื้นที่ที่อนุญาต และต้องมีมาตรการในการรักษาความสะอาด และความปลอดภัยต่อผู้อื่นในพื้นที่ที่ชัดเจน เช่น กฎการเก็บและทำความสะอาดมูลสัตว์ ถังขยะแยกเฉพาะสำหรับการทิ้งมูลสัตว์ รวมถึงการประกาศให้ชัดเจนถึงแนวทางอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงเพื่อให้ทราบโดยทั่วกัน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนสวนสาธารณะที่เหมาะสมให้สัตว์เลี้ยงเข้าได้ 3 แห่ง

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 3

    6.Action Plan :1. กำหนดแนวทางในการนำสัตว์เลี้ยงเข้าสวนสาธารณะได้ 2. จำนวนสาธารณะที่เปิดให้สัตว์เลี้ยงเข้าสวนสาธารณะได้

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 113 : เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้เพื่อประโยชน์คนกรุงเทพฯ 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนค. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :ประชาชนได้รับผลประโยชน์จากการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดจากงบประมาณที่เพิ่มขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :-นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดเก็บภาษีให้ถูกต้อง การใช้เทคโนโลยีภาพทางอากาศเข้ามาเป็นตัวช่วยในการประเมินและจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง -เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้แล้ว กทม.จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนสามารถชำระภาษีท้องถิ่นได้ผ่านออนไลน์ทั้งหมด

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1. โครงการจัดทำระบบสารสนเทศภาษีท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร 2. โครงการจ้างเหมาบริการเป็นรายบุคคลเพื่อปรับปรุงบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 114 : พัฒนา 1,034 ลานกีฬา กับประชาชนและเอกชนในพื้นที่ 0 7 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 7 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ลานกีฬาสภาพเหมือนใหม่ทั่วกรุง - มีส่วนร่วมในการคัดเลือกกิจกรรมและกีฬาที่จะให้มีในลานกีฬาใกล้บ้าน - มีพื้นที่สาธารณะเพื่อการออกกำลังกายมากขึ้น - มีพื้นที่ผ่อนคลายความเครียด พบปะเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างผู้คน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ลานกีฬาเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการสร้างเสริมสุขอนามัยของประชาชนและชุมชนขนาดย่อมกระจายตัวอยู่ทั่วเมือง เพื่อเป็นการเพิ่มการเข้าถึงพื้นที่สร้างเสริมสุขภาวะและกิจกรรมชุมชน ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีลานกีฬาทั้งหมด 1,034 แห่ง แบ่งเป็นลาน A ขนาดใหญ่ จำนวน 128 ลาน, ลาน B ขนาดกลาง จำนวน 182 ลาน, ลาน C ขนาดเล็ก จำนวน 724 ลาน [1] [2] ถึงจะกระจายครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ แต่หลายแห่งมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ บางแห่งไม่พร้อมที่จะใช้งาน ดังนั้น กทม.จึงต้องพัฒนาคุณภาพลานกีฬาให้เป็นพื้นที่สาธารณะคุณภาพ - พัฒนาลานกีฬาต้นแบบ 180 แห่ง 180 แขวง ทั่วกรุงเทพฯ ภายใน 100 วัน และขยายผลให้ครบ 1,034 ลานทั่วกรุง - ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสอดส่องดูแล และร่วมกันดูแลรักษาและฟื้นฟูลานกีฬาทั้ง 1,034 ลานทั่วกรุง - จัดทำโครงการการพัฒนาลานกีฬาร่วมกับเอกชนในพื้นที่ รูปแบบการพัฒนา - ลานกีฬาในโรงเรียน = เปิดโรงเรียนให้คนในชุมชนเข้ามาใช้งานพื้นที่ได้ในช่วงเวลาหลังเลิกเรียนและวันหยุด ปรับเพิ่มเติมความเป็นพื้นที่สาธารณะ (เริ่มต้นจากในโรงเรียนสังกัด กทม.)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ความครอบคลุมของการสำรวจลานกีฬาในพื้นที่ 50 เขต

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 180

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 115 : ดูแลห้องสมุดชุมชน บ้านหนังสือ ให้มีความทันสมัยน่าใช้งาน 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- มีพื้นที่สาธารณะใกล้บ้าน น่าใช้งาน ส่งเสริมการเรียนรู้ - พื้นที่พบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนกันกับผู้คนในสังคมใกล้บ้าน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะมีการดูแล ปรับปรุงสภาพ รูปแบบของพื้นที่ให้มีความร่วมสมัย เป็นมิตร น่าใช้งาน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนพูดคุยแบบผ่อนคลาย นอกเหนือจากการเรียนรู้ด้วยตัวคนเดียว ตอบสนองต่อวิถีชีวิตของประชาชนมากขึ้น เช่น การปรับปรุงโครงสร้างอาคาร และสภาพแวดล้อมภายในอาคารให้เหมาะสม การอัพเดตหนังสือข้างในบ้านหนังสือให้เป็นปัจจุบันและเพิ่มเติมนิทาน หรือหนังสือภาพสำหรับเด็ก ให้มีความหลากหลายและเพียงพอ รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การติดตั้ง Wi-Fi ฟรี เพื่อสร้างให้บ้านหนังสือเป็นแหล่งการเรียนรู้ใหม่ๆ สำหรับคนในพื้นที่

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของห้องสมุดในสังกัดกรุงเทพมหานครได้รับการดูแล

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 116 : 12 เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ 0 1 1 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 1 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- คนกรุงเทพฯ และนักท่องเที่ยวจากจังหวัดอื่นหรือต่างประเทศมีเทศกาลน่าสนใจตลอดทั้งปีให้เข้าร่วม - ธุรกิจได้โอกาสในการกระตุ้นยอดขายจากงานเทศกาล เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :การจัดเทศกาลคือการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นในรูปแบบหนึ่งและเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นการเปิดโอกาสประกอบธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับคนกรุงเทพฯ โดยเทศกาลสามารถเป็นเครื่องมือผลักดันความสร้างสรรค์ การออกแบบ ชุมชน รวมถึงเพิ่มเทศกาลที่น่าท่องเที่ยวให้กับคนกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด และนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย แต่ละเทศกาลจะดึงอัตลักษณ์และศักยภาพของแต่ละย่านทั่วกรุงออกมาเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของย่านในกรุงเทพฯ สามารถคัดสรร จัดกลุ่ม สร้างเรื่องราว เพื่อพัฒนากิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตลอดปี นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้ให้เกิดการท่องเที่ยวภายในย่านหลังจากจัดเทศกาลอีกด้วย

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :สวท. (H) ดำเนินการจัดกิจกรรม สนับสนุน หรือประสานงานรวมทั้งการประชาสัมพันธ์และรายงานผลการดำเนินการจัดเทศกาลหรือเทศกาลอื่นตามความเหมาะสม ดังนี้ ตุลาคม 2565 เทศกาลกีฬากรุงเทพฯ (กีฬาไทย) พฤศจิกายน 2565 เทศกาลศิลปะสร้างสรรค์ ธันวาคม 2565 เทศกาลแสงสี มกราคม 2566 เทศกาลดนตรี กุมภาพันธ์ 2566 เทศกาลงานออกแบบ และงานคราฟท์ มีนาคม 2566 เทศกาลการอ่านและการเรียนรู้ เมษายน 2566 เทศกาลไทยไทย พฤษภาคม 2566 เทศกาลอาหาร มิถุนายน 2566 เทศกาลแห่งความหลากหลายทางเพศ กรกฎาคม 2566 เทศกาลเด็กและเยาวชน สิงหาคม 2566 เทศกาลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กันยายน 2566เทศกาล E-Sport

    5.เป้าหมาย :เทศกาล : 12

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 117 : ยกระดับศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ศูนย์เยาวชนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน 0 4 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 4 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สวท. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้ศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ศูนย์เยาวชน ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ทั้งในมิติเวลาให้บริการ อุปกรณ์ และหลักสูตร - มีพื้นที่การพบปะแลกเปลี่ยนของผู้คนโดยเฉพาะสำหรับประชาชนผู้ใส่ใจสุขภาพ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย และศูนย์เยาวชน หลายศูนย์ ณ ปัจจุบันอยู่ในสภาพทรุดโทรม ได้รับการพัฒนาเป็นส่วน ๆ หรือไม่ได้รับการพัฒนาเลย นอกจากกายภาพแล้ว การบริหารยังมีข้อจำกัดในกิจกรรมที่เปิดสอนสำหรับคนบางกลุ่มเท่านั้น รวมถึงกำหนดเวลาเปิด-ปิดที่หลากหลายซับซ้อน โดยช่วงเช้าจะเปิดวิ่งออกกำลังกายตั้งแต่ 6:00 น. และส่วนมากกิจกรรมภายในอาคารจะเปิดหลัง 8:00 น.เป็นต้นไป และช่วงเย็นนั้นจะปิดบริการไม่เกิน 21:00 น. ทำให้ช่วงเวลาที่ให้บริการนั้นไม่สอดคล้องกับประชาชน ดังนั้น กทม.จะพัฒนาในรายละเอียดการบริหารจัดการ โดย - เพิ่มเวลาทำการของศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ศูนย์เยาวชนต่างๆ ให้สอดคล้องกับการใช้งานของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการขยายเวลาเปิด-ปิด หรือการเปิดบริการ 24 ชั่วโมง ทุกวัน หรือช่วงเสาร์-อาทิตย์ ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงศูนย์ต่างๆ ของผู้คนที่หลากหลายขึ้น - ยกระดับความพร้อมของอุปกรณ์ สถานที่ เครื่องออกกำลังกาย (Fitness) และหลักสูตรกิจกรรมต่าง ๆ ที่พร้อมตอบสนองต่อความต้องการ รูปแบบการใช้งาน และความสนใจของประชาชนกรุงเทพมหานครมากขึ้น รวมถึงแบ่งพื้นที่สำหรับเด็กเพื่อความปลอดภัย - เพิ่มบุคลากร เจ้าหน้าที่กทม. ผู้ดูแลศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ศูนย์เยาวชนต่างๆ ให้เหมาะสมกับเวลาเปิดทำการและความต้องการของประชาชน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :เป้าประสงค์ คนกรุงเทพฯ - ได้ศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ศูนย์เยาวชน ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ทั้งในมิติเวลาให้บริการ อุปกรณ์ และหลักสูตร - มีพื้นที่การพบปะแลกเปลี่ยนของผู้คนโดยเฉพาะสำหรับประชาชนผู้ใส่ใจสุขภาพ โดย พัฒนาในรายละเอียดการบริหารจัดการ โดย - เพิ่มเวลาทำการของศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ศูนย์เยาวชนต่างๆ ให้สอดคล้องกับการใช้งานของ ประชาชน - ยกระดับความพร้อมของอุปกรณ์ สถานที่ เครื่องออกกำลังกาย (Fitness) และหลักสูตรกิจกรรมต่าง ๆ - เพิ่มบุคลากร เจ้าหน้าที่กทม. ผู้ดูแลศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ศูนย์เยาวชนต่างๆ ให้เหมาะสมกับเวลาเปิด ทำการและความต้องการของประชาชน ตัวชี้วัด จำนวนศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ศูนย์เยาวชน ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ทั้งในมิติเวลาให้บริการ อุปกรณ์ และหลักสูตร เป้าหมาย 47 แห่ง/ปี

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 47

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 118 : กรุงเทพฯ มั่นใจ ปลอดภัยโควิด 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- คนกรุงเทพฯ และนักท่องเที่ยวมั่นใจได้ว่า กทม.มีมาตรการจัดการโควิดที่ดี ลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาด - ภาคธุรกิจได้ความมั่นใจและความเชื่อมั่นกลับมา ไม่ต้องกังวลกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด 19

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามายังพื้นที่กรุงเทพฯ ผ่านศักยภาพในการตรวจ คัดกรอง และติดตามกลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้ กทม.จะส่งเสริมให้ภาคธุรกิจตรวจ ATK ให้กับทั้งพนักงานและลูกค้า พร้อมกับนำผลการตรวจขึ้นแสดงบนแอพพลิเคชั่นและส่งให้กับ กทม.เพื่อเก็บสถิติและควบคุมการระบาดในกรณีที่พบผู้ติดเชื้อ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :อัตราป่วยตายด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด 19) ไม่เกินร้อยละ 0.1

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 119 : ห้องสมุดออนไลน์ (e-Library) อ่านอีบุ๊กได้จากทุกที่ 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- โอกาสในการเข้าถึงหนังสือใหม่ๆ หนังสือหายาก จากห้องสมุดทั่วทั้งกรุงเทพฯ ผ่านออนไลน์

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- พัฒนาห้องสมุดออนไลน์ (e-Library) แพลตฟอร์มยืมหนังสือออนไลน์อ่านอีบุ๊กได้ฟรี โดยจะประสานงานสำนักพิมพ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ที่สามารถให้ประชาชนยืมหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ - จัดทำระบบสำรวจความต้องการหนังสือของประชาชนเพื่อพัฒนาคลังห้องสมุดออนไลน์ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน - เปิดโอกาสให้ประชาชนหรือเอกชนสนับสนุนการบริจาค e-Book ให้ห้องสมุดออนไลน์ของกทม. ได้

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ระบบ : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 120 : เพิ่มฟังก์ชั่นให้ห้องสมุดเป็น Co-working Space 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- มีแหล่งความรู้และ Co-working Space ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของประชาชนในพื้นที่ - ลดการเดินทางของประชาชนเข้าไปยังเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน - ลดภาระประชาชนจากการ Work From Home

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะเพิ่มฟังชันห้องสมุดให้เป็น Co-working Space - บริการ Wi-Fi ฟรีและเสถียร - บริการปลั๊กไฟเพียงพอ - แยกสัดส่วนพื้นที่ห้องเงียบและห้องใช้เสียง - ปรับวันเวลาทำการให้สอดคล้องกับการใช้งานของประชาชนโดยให้เปิดบริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์ และ เปิดให้บริการในวันจันทร์ในช่วงปิดภาคเรียน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :เป้าประสงค์ คนกรุงเทพฯ - มีแหล่งความรู้และ Co-working Space ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของประชาชนในพื้นที่ - ลดการเดินทางของประชาชนเข้าไปยังเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน - ลดภาระประชาชนจากการ Work From Home โดย กทม.จะเพิ่มฟังก์ชั่นห้องสมุดให้เป็น Co-working Space - บริการ Wi-Fi ฟรีและเสถียร - บริการปลั๊กไฟเพียงพอ - แยกสัดส่วนพื้นที่ห้องเงียบและห้องใช้เสียง - ปรับวันเวลาทำการให้สอดคล้องกับการใช้งานของประชาชนโดยให้เปิดบริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์ และ เปิดให้บริการในวันจันทร์ในช่วงปิดภาคเรียน ตัวชี้วัด จำนวนห้องสมุดสังกัดกรุงเทพมหานครที่ได้รับการพัฒนาพื้นที่เป็น Co-working Space เป้าหมาย 24 แห่ง/ปี

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 12

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 121 : จัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ กทม. (กรอ. กทม.) 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนค. // หน่วยงานสนับสนุน -

    2.ประชาชนได้อะไร :ภาคเอกชนมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการจัดทำนโยบายด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจในกรุงเทพฯ เศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นจะส่งผลดีกับคุณภาพชีวิตของประชาชน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ กทม. (กรอ. กทม.)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละความสำเร็จของการจัดตั้งคณะกรรมการฯ

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :ได้จัดทำหนังสือขอเชิญร่วมเป็นคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนของกทม. ไปยังประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสมาคมธนาคารไทย

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 122 : ฝึกอาชีพพัฒนาทักษะยุคใหม่ตอบโจทย์ตลาดงาน 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :แรงงานเข้าถึงงานได้มากขึ้น และผู้ประกอบการต่าง ๆ ก็เข้าถึงตลาดแรงงานได้ง่ายขึ้นเช่นกัน แรงงานได้พัฒนาทักษะยุคใหม่สำหรับการทำงาน นายจ้างได้แรงงานที่มีคุณภาพ มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะอาชีพของประชาชนผ่าน - ศูนย์ฝึกอาชีพ 17 แห่ง หลักสูตรมุ่งเน้นการประกอบวิชาชีพ (เช่น ตัดผม ทำอาหาร ตัดเย็บเสื้อผ้า) ซึ่งเป็นหลักสูตรดั้งเดิมสอนมายาวนานและยังได้รับความนิยมจากประชาชน - โรงเรียนฝึกอาชีพ 10 แห่ง มีหลักสูตรที่เปิดสอนมากกว่า 200 หลักสูตร [1] เนื้อหาหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละโรงเรียน โดยมีหลักสูตรครอบคลุม เช่น งานช่าง ช่างรถยนต์​ ช่างเครื่องไฟฟ้า ช่างระบบในอาคาร งานคหกรรม อาหารไทย อาหารนานาชาติ งานภาษา เกาหลี จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น อย่างไรก็ดีความต้องการของภาคธุรกิจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ควรนำมาออกแบบหลักสูตรเพื่อให้นักเรียนที่ผ่านการอบรมเป็นที่ต้องการของตลาด มีงาน และมีรายได้ โดยเมื่อสืบค้นข้อมูลกลับไปอย่างน้อยถึงปี 2549 พบว่าหลักสูตรวิชาส่วนใหญ่ยังคงเป็นวิชาเดิม ดังนั้น กทม.จะเพิ่มทางเลือกให้กับการศึกษาผ่านโรงเรียนและศูนย์ฝึกอาชีพ กทม. ทั้งการสนับสนุนการพัฒนาทักษะอาชีพที่ทำอยู่ในปัจจุบันเพื่อรองรับการประกอบอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม และการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเข้าสู่ระบบแรงงานเอกชนโดยการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เช่น e-Commerce (ผ่านการสำรวจความต้องการจากเอกชนในพื้นที่ หรือการพัฒนาหลักสูตรร่วมกันกับเอกชน) เพื่อเพิ่มโอกาสให้นักเรียนมีงานทำหลังจบจากหลักสูตรแล้ว และ กทม.จะติดตามประสิทธิภาพการทำงานของนักเรียนที่จบการศึกษาเพื่อนำแนวคิดมาปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง นอกจากการพัฒนาหลักสูตรแล้ว กทม.จะช่วยสนับสนุนให้แรงงานฝีมือภายในกรุงเทพฯ เข้าถึงแพลตฟอร์มการจ้างงานได้ โดยการช่วยเหลือของอาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการหางานที่เหมาะสม

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนหลักสูตรที่ได้รับการปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตร ฝึกอาชีพยุคใหม่ตอบโจทย์ตลาดงาน

    5.เป้าหมาย :หลักสูตร : 47

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 123 : ขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการ ผ่านการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในกรุงเทพฯ 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ผู้ประกอบการในกรุงเทพฯ ได้โอกาสในการเข้าถึงพื้นที่จำหน่ายสินค้าของตนเองมากขึ้น - ได้เศรษฐกิจที่หมุนเวียนเม็ดเงินกันภายในพื้นที่

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ในบางครั้งผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SMEs มีข้อจำกัดทางข้อมูลในการเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในมิติความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยี มิติเครือข่ายในการค้า ดังนั้น กทม.จะรวบรวมช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า ทั้งในและต่างประเทศ เครือข่ายร้าน กทม.และร้านชุมชน พร้อมกับวิธีการและแนวทางในการเข้าถึงช่องทางเหล่านี้เป็นแค็ตตาล็อกให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ได้เลือกและใช้งาน ซึ่งจะสามารถช่วยต่อยอดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการที่สนใจ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนของธุรกิจและเม็ดเงินระหว่างกันภายในเอกชนในพื้นที่กรุงเทพฯ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนผู้ประกอบการที่เข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าภายในและภายนอกประเทศ

    5.เป้าหมาย :ราย : 300

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 124 : ตลาดนัดชุมชน ตลาดนัดเขต 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและช่องทางการขายสำหรับการประกอบธุรกิจของรายย่อย เพิ่มตัวเลือกให้กับผู้บริโภค และได้สนับสนุนผู้ค้ารายย่อย

    3.กทม.จะทำอย่างไร :การจัดตลาดนัดก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผลดี รวมถึงผลตอบรับจากผู้บริโภคในกรุงเทพฯ ก็น่าสนใจด้วย และการจัดตลาดนัดยังส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย นโยบายของ กทม.คือ จัดหาพื้นที่พัฒนาตลาดนัดประจำชุมชนประจำเขต เพื่อให้ประชาชนได้พื้นที่ค้าขายที่ค่าเช่าต่ำ โดยพิจารณาพื้นที่ราชการของ กทม. หรือปิดถนนคนเดินบางเส้นทาง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนการจัดตลาดนัดชุมชนตลาดนัดเขต

    5.เป้าหมาย :ครั้ง : 3

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 125 : จัดแสดงงานศิลปะกลางแจ้ง ทุกมุมเมืองเป็นพื้นที่ศิลปะ 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สวท. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของประชาชนโดยมีงานศิลปะหลากหลายประเภทให้ชม เรียนรู้ และสัมผัสในชีวิตประจำวัน - ส่งเสริมศิลปินทุกระดับให้มีพื้นที่แสดงงานและมีโอกาสในการพัฒนาฝีมือมากยิ่งขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- ทำงานร่วมกับศิลปินท้องถิ่นในการพัฒนาย่านศิลปะให้กระจายตัวทั่วทุกเขต โดยเปิดโอกาสให้ศิลปินใช้พื้นที่ต่าง ๆ ของ กทม.ได้ เช่น ศาลารอรถเมล์ ป้ายรถเมล์ ทางเท้า ป้ายและจอดิจิทัลประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ในการแสดงผลงานทุกแขนง (โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการสัญจร) รวมถึงให้มีการหมุนเวียนของงานศิลปะเพื่อโอกาสของศิลปินใหม่ ๆ - พัฒนาปฏิทินและแผนที่การแสดงงาน รวมถึงคำแนะนำในการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะเพื่อชมงาน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงงานศิลปะได้ยิ่งขึ้น

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :เป้าประสงค์ คนกรุงเทพฯได้รับการ - ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของประชาชนโดยมีงานศิลปะหลากหลายประเภทให้ชม เรียนรู้ และสัมผัสในชีวิต ประจำวัน - ส่งเสริมศิลปินทุกระดับให้มีพื้นที่แสดงงานและมีโอกาสในการพัฒนาฝีมือมากยิ่งขึ้น โดย - ทำงานร่วมกับศิลปินท้องถิ่นในการพัฒนาย่านศิลปะให้กระจายตัวทั่วทุกเขต โดยเปิดโอกาสให้ศิลปินใช้พื้นที่ต่าง ๆ ของ กทม.ได้ เช่น ศาลารอรถเมล์ ป้ายรถเมล์ ทางเท้า ป้ายและจอดิจิทัลประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ในการแสดงผลงานทุกแขนง (โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการสัญจร) รวมถึงให้มีการหมุนเวียนของงานศิลปะเพื่อโอกาสของศิลปินใหม่ ๆ - พัฒนาปฏิทินและแผนที่การแสดงงาน รวมถึงคำแนะนำในการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะเพื่อชมงาน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงงานศิลปะได้ยิ่งขึ้น ตัวชี้วัด จำนวนพื้นที่สาธารณะ กทม. เช่น ศาลารอรถเมล์ ป้ายรถเมล์ ทางเท้า ป้าย และกำแพงริมทางเดินข้างคลองได้รับการสร้างสรร พัฒนาให้เป็นย่านศิลปะ ของศิลปินใหม่ ๆ เป้าหมาย อย่างน้อย 2 แห่ง/กลุ่มเขต

    5.เป้าหมาย :แห่ง/กลุ่มเขต : 2

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 126 : เปลี่ยนศาลาว่าการและลานคนเมือง สู่พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ และพื้นที่สร้างสรรค์ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สวท. // หน่วยงานสนับสนุน สนย., สวพ., สลป.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ - ได้รู้จักกรุงเทพฯ มากยิ่งขึ้น - ได้พื้นที่สร้างสรรค์สาธารณะแห่งใหม่ใจกลางสะดือเมือง - เป็นโมเดลของการสร้างพื้นที่ประเภท Third Place ในระดับเมือง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- ครอบคลุมลักษณะทางกายภาพและภูมิศาสตร์ ประเด็นของการพัฒนาเมือง โดยจะออกแบบการเล่าเรื่องให้เกิดประสบการณ์ท่ีแตกต่าง สร้างประสบการณ์เฉพาะตามบริบทของพื้นที่ - ได้พิพิธภัณฑ์ที่ครบถ้วนทางด้านเนื้อหาและถูกออกแบบเรื่องราวและประสบการณ์จากนักออกแบบ และร่วมมือกับมืออาชีพด้านสถาปัตยกรรมเพื่อการปรับปรุงออกแบบและอนุรักษ์อาคารศาลาว่าการกรุงเทพฯ อาคารที่มีรูปแบบศิลปะอันทรงคุณค่าและเป็นอาคารประวัติศาสตร์ที่เล่าเรื่องราวของเมือง ณ วันแรกสร้างได้อย่างดีเลิศ - พิพิธภัณฑ์ต้องมีฟังก์ชั่นที่นอกจากบอกเล่าเรื่องราวการจัดแสดงผ่านนิทรรศการต่างๆ ต้องส่งเสริมให้มีพื้นที่กิจกรรมสำหรับการแลกเปลี่ยน พูดคุยต่างๆ อย่างโอบรับ ทั้งรูปแบบกิจกรรม และรูปแบบสภาพแวดล้อมของพิพิธภัณฑ์ - จัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งของศาลาว่าการกรุงเทพฯ เสาชิงช้ารวมถึงลานคนเมืองให้เป็นพื้นที่สาธารณะเปิดให้ประชาชนเข้าใช้ เช่น พื้นที่แสดงความคิดเห็น จัดกิจกรรมการประชุม การหารือสร้างสรรค์นวัตกรรมเมือง การแสดงศิลปะ การแสดงดนตรี ฯลฯ เป็นต้น

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :เป้าประสงค์ คนกรุงเทพฯ - ได้พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ ได้รู้จักกรุงเทพฯ มากยิ่งขึ้น - ได้พื้นที่สร้างสรรค์สาธารณะแห่งใหม่ใจกลางสะดือเมือง - เป็นโมเดลของการสร้างพื้นที่ประเภท Third Place ในระดับเมือง ตัวชี้วัด ความสำเร็จในการปรับปรุงศาลาว่าการกรุงเทพฯ เพื่อรองรับการเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ และพื้นที่สร้างสรรค์ เป้าหมาย ระดับ 1 แต่งตั้งคณะทำงาน

    5.เป้าหมาย :ระดับความสำเร็จ : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 127 : แพลตฟอร์มรวบรวมพื้นที่สร้างสรรค์กรุงเทพฯ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สวท. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :- รู้ว่าจุดไหนเป็นย่านสร้างสรรค์ของเมือง - รู้ว่ามีกิจกรรมสร้างสรรค์อะไรเกิดขึ้นในเมืองบ้าง - รู้ว่ามีพื้นที่ไหนให้เลือกจัดกิจกรรมได้บ้าง - มีทางเลือกในการจัดกิจกรรมมากยิ่งขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะจัดทำแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ ecosystem ของงานศิลปวัฒนธรรมครบวงจร ประกอบไปด้วย 1. แผนที่ออนไลน์ที่รวบรวม 1.1 แหล่งวัตถุดิบ 1.2 แหล่งผลิต (สตูดิโอ) ทั้งระดับอุตสาหกรรมและระดับปัจเจกบุคคล 1.3 สถานที่จัดแสดงผลงาน (รวมถึงงานจากนโยบาย ‘จัดแสดงงานศิลปะกลางแจ้ง ทุกมุมเมืองเป็นพื้นที่ศิลปะ’ และ นโยบาย ‘กรุงเทพฯ พื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง (สตรีทโชว์)’) 2. ปักหมุดทำฐานข้อมูลรวมพื้นที่รัฐ-เอกชนให้ประชาชนเลือกใช้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ รวบรวมพื้นที่สาธารณะทางศิลปะทั้งของ กทม.และที่ประสานมาจากเอกชน พัฒนาขึ้นเป็นฟังชัน BKK space catalog และเปิดให้พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ การแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ อย่างอิสระเสรีบนพื้นฐานของประชาธิปไตย และเคารพความเห็นต่าง 3. ปฏิทินศิลปะกรุงเทพฯ รวบรวมทุกความเคลื่อนไหวและเปิดโอกาสให้เครือข่ายและผู้คนในวงการ สามารถลงตารางในปฏิทินได้ 4. ประชาสัมพันธ์ กทม.มีสื่อนอกบ้านจำนวนมาก อาทิ ศาลารอรถเมล์ รถไฟฟ้า สำนักงาน มากมายที่พร้อมจะเป็นสถานที่ประชาสัมพันธ์ รวมทั้งสื่อออนไลน์ของ กทม.นอกจากนี้จะต้องรวมมือกับเจ้าของงาน และศิลปินเพื่อวางแผนประชาสัมพันธ์ร่วมกัน นอกจากนี้จะมีการประมวลผล เพื่อหาช่องว่าง ปัญหา และโอกาส ในการขยายผล อํานวยความสะดวก และพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เดิม ให้ตอบโจทย์กิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจชุมชน เช่น การเพิ่มป้ายนำทาง สัญลักษณ์ แสงสว่าง การจัดการปัญหาจราจร เป็นต้น

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :เป้าประสงค์ คนกรุงเทพ - รู้ว่าจุดไหนเป็นย่านสร้างสรรค์ของเมืองิิิรู้ว่ามีกิจกรรมสร้างสรรค์อะไรเกิดขึ้นในเมืองบ้าง - รู้ว่ามีพื้นที่ไหนให้เลือกจัดกิจกรรมได้บ้าง - มีทางเลือกในการจัดกิจกรรมมากยิ่งขึ้น โดย จัดทำแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ ecosystem ของงานศิลปวัฒนธรรมครบวงจร ประกอบไปด้วย 1. แผนที่ออนไลน์ที่รวบรวม 1.1 แหล่งวัตถุดิบ 1.2 แหล่งผลิต (สตูดิโอ) ทั้งระดับอุตสาหกรรมและระดับปัจเจกบุคคล 1.3 สถานที่จัดแสดงผลงาน (รวมถึงงานจากนโยบาย ‘จัดแสดงงานศิลปะกลางแจ้ง ทุกมุมเมืองเป็นพื้นที่ศิลปะ’ และ นโยบาย ‘กรุงเทพฯ พื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง (สตรีทโชว์)’) 2. ปักหมุดทำฐานข้อมูลรวมพื้นที่รัฐ-เอกชนให้ประชาชนเลือกใช้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ รวบรวมพื้นที่สาธารณะทางศิลปะทั้งของ กทม.และที่ประสานมาจาก เอกชน พัฒนาขึ้นเป็นฟังชัน BKK space catalog และเปิดให้พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ การแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ อย่างอิสระเสรีบนพื้นฐานของประชาธิปไตย และเคารพความเห็นต่าง 3. ปฏิทินศิลปะกรุงเทพฯ รวบรวมทุกความเคลื่อนไหวและเปิดโอกาสให้เครือข่ายและผู้คนในวงการ สามารถลงตารางในปฏิทินได้ 4. ประชาสัมพันธ์ กทม.มีสื่อนอกบ้านจำนวนมาก อาทิ ศาลารอรถเมล์ รถไฟฟ้า สำนักงาน มากมายที่พร้อมจะเป็นสถานที่ประชาสัมพันธ์ รวมทั้งสื่อออนไลน์ของ กทม.นอกจากนี้จะต้องรวมมือกับเจ้าของงาน และศิลปินเพื่อวางแผนประชาสัมพันธ์ร่วมกัน นอกจากนี้จะมีการประมวลผล เพื่อหาช่องว่าง ปัญหา และโอกาส ในการขยายผล อํานวยความสะดวก และพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เดิม ให้ตอบโจทย์กิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจชุมชน เช่น การเพิ่มป้ายนำทาง สัญลักษณ์ แสงสว่าง การจัดการปัญหาจราจร เป็นต้น ตัวชี้วัด ความสำเร็จในการจัดทำแพลตฟอร์มรวบรวมพื้นที่สร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร เป้าหมาย 1 แพลตฟอร์ม

    5.เป้าหมาย :แพลตฟอร์ม : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 128 : วิชาศิลปะนอกห้องเรียน ส่งเสริมความคิด ความสร้างสรรค์ ผ่านแนวร่วมศิลปินทั่วกรุง 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนศ. // หน่วยงานสนับสนุน สวท., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้วิชาศิลปะในโรงเรียนรูปแบบใหม่ผ่านการร่วมมือกับเครือข่ายศิลปิน - สร้างโอกาสให้กับนักเรียนในกรุงเทพฯ ได้ซึมซับงานศิลปะใกล้ตัว

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะเป็นตัวกลางในการประสานระหว่างเครือข่ายศิลปินในกรุงเทพ และหอศิลป์กรุงเทพฯ ในการร่วมกันพัฒนาวิชาศิลปะให้กับนักเรียนในสังกัด กทม. เพื่อให้วิชาศิลปะมีความน่าสนใจ ช่วยขยายกรอบความคิดสร้างสรรค์และการแสดงออกของนักเรียน นอกจากนี้ กทม.จะช่วยประสานระหว่างโรงเรียนและผู้จัดงานกิจกรรมเชิงศิลปวัฒนธรรมที่ถูกจัดขึ้นในพื้นที่ กทม. โดยเฉพาะที่จัดขึ้นจากนโยบาย เช่น นโยบาย ‘จัดแสดงงานศิลปะกลางแจ้งทุกมุมเมืองเป็นพื้นที่ศิลปะ’ ‘กรุงเทพฯ พื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง’ และการจัดแสดงงานศิลปะอื่น ๆ ในพื้นที่ของ กทม. หรือ กทม.เป็นผู้ประสานงานเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสในการชมศิลปะและวัฒนธรรม ซึมซับศิลปะใกล้ตัว (ในกรณีที่โรงเรียนสามารถจัดสรรเวลาที่เหมาะสมในการพานักเรียนออกนอกสถานที่ได้ พิจารณาการใช้เวลาในวิชาศิลปะ วิชาชมรม เพื่อให้กลุ่มนักเรียนที่สนใจได้เข้าถึงศิลปวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :โรงเรียน : 437

    6.Action Plan :1. นิทรรศการแสดงผลงานภายใต้โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 129 : ขยายโอกาส ขยายช่องทาง ให้กับสินค้าสร้างสรรค์กรุงเทพฯ (MIB: Made in Bangkok) 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :ได้สนับสนุนสินค้าสร้างสรรค์ที่ผลิตขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ขายสินค้ามากขึ้นในหลากหลายช่องทาง ได้พัฒนาสินค้าให้ไปสู่สินค้าสร้างสรรค์

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ปัจจุบัน Bangkok Brand ตราสัญลักษณ์สินค้าสร้างสรรค์ที่ผลิตขึ้นในกรุงเทพฯ ยังมีช่องทางจัดจำหน่ายที่จำกัด มีหมวดหมู่ของสินค้าที่จำกัด และไม่มีการจัดทำและเผยแพร่ฐานข้อมูลของผู้ผลิตเพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการต่อยอดทางธุรกิจ รวมทั้งผู้ผลิตยังไม่ได้ขึ้นเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม และระบบ e-GP เพื่อต่อยอดการประมูลงานจากภาครัฐ ดังนั้น กทม.จะนำเอาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์กรุงเทพฯ (MIB: Made in Bangkok) โดยการรวบรวมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในกรุงเทพฯ ที่มีความหลากหลายของหมวดหมู่สินค้าให้ครบถ้วนทุกมิติความสร้างสรรค์ เช่น ศิลปะการแสดง ศิลปะการออกแบบ สิ่งพิมพ์ ผ้าและเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ งานฝีมือ ของเล่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน เครื่องเขียน เครื่องหนัง เครื่องปรุง เครื่องครัว เป็นต้น และพร้อมกับสนับสนุนผู้ผลิต เช่น 1. ออกแบบช่องทางจัดจำหน่ายเพิ่มเติม ทั้งการจัดกิจกรรมใน-นอกกรุงเทพฯ และต่างประเทศ ร่วมมือกับเครือข่ายร้านค้าห้างร้าน เพื่อเปิดพื้นที่วางจำหน่ายสินค้าเพิ่มเติม โดยกทม.จะศึกษาตลาดสำหรับสินค้าสร้างสรรค์ คัดเลือกสินค้าที่มีศักยภาพ 2. เปิดหลักสูตรให้ผู้ประกอบการนำสินค้าเข้าแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ต่าง ๆ ผ่านการช่วยเหลือจากอาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) 3. จับคู่ผู้ประกอบการต่างประเภทมาออกแบบสร้างสรรค์งานร่วมกัน เช่น สิ่งพิมพ์กับเครื่องครัวเพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ หรือของเล่นกับศิลปะการแสดง เพื่อนำตัวละครมาเป็นของเล่น เป็นต้น 4. จัดเวิร์กช็อปด้านผลิตภัณฑ์จากความร่วมมือของกทม.และภาคเอกชน เพื่อนำไปต่อยอดและขยายช่องทางการหารายได้จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ และให้ความองค์ความรู้เพื่อพัฒนาสินค้าที่ยังพัฒนาศักยภาพไม่เต็มที่ 5. จัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการสร้างสรรค์ภายในกรุงเทพฯ ให้ผู้ที่สนใจต่อยอดธุรกิจสามารถติดต่อกันได้ 6. สนับสนุนให้ขึ้นทะเบียนวิสาหกิจและ e-GP เพื่อโอกาสในการจัดซื้อจัดจ้างจากภาครัฐและ กทม. 7. สนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อเปิดห้างหรือร้านค้าในแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ระดับโลกเพื่อนำสินค้า MIB โกอินเตอร์ 8. ร่วมกันพัฒนาให้สินค้าที่ผลิตในกรุงเทพฯ มีความสร้างสรรค์ในทุกมิติ ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการสื่อสาร การเล่าเรื่อง เพื่อนำเข้าสู่ตลาดพร้อมกลยุทธ์ทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ 9. จัดงานนิทรรศการและงานจัดแสดงสินค้าเพื่อส่งเสริมสินค้าสร้างสรรค์และผู้ประกอบการ รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ได้เรียนรู้จากความสำเร็จของผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ 10. สนับสนุนและให้ข้อมูลในการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับสินค้าสร้างสรรค์ MIB 11. ประเมินผลตอบรับของสินค้าทั้งจากฝั่งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ เพื่อนำไปต่อยอดและปรับปรุงในการผลิตและจำหน่ายในอนาคต

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :แนวทางการพัฒนาหรือยกระดับสินค้าชุมชน สินค้าวิสาหกิจชุมชน สินค้า Bangkok Brand หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ให้เป็นสินค้า Made in Bangkok : MIB

    5.เป้าหมาย :แนวทาง : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 130 : พื้นที่สาธารณะเอนกประสงค์ทั่วกรุง 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สวท. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้พื้นที่สาธารณะสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดแสดงและการรับชมผลงานศิลปะสร้างสรรค์ การจัดเสวนาการประชุมหัวข้อปัญหาเมือง ใกล้บ้าน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะขยายพื้นที่สาธารณะอเนกประสงค์ให้กระจายตัวอยู่ทั่วกรุง เพื่อเปิดให้ประชาชนใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้ง 1. การชุมนุมและการแสดงออกทางความคิด โดยจัดสรรหาพื้นที่ทางเลือกให้ใช้ มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องน้ำ น้ำดื่ม และการดูแลเรื่องความปลอดภัย 2. พัฒนาพื้นที่อเนกประสงค์ (Mixed use) เช่น ห้องหรือลานเอนกประสงค์ โดยพื้นที่เหล่านี้เปิดให้ประชาชนใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พื้นที่จัดแสดงศิลปะ พื้นที่การประชุมสัมมนาประเด็นเชิงสังคมและการพัฒนาเมือง รวมถึงพื้นที่ในการแสดงออกทางความคิด นอกจากนั้นพื้นที่เหล่านี้ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่นำเสนอผลงานหมุนเวียนจากหอศิลป์กรุงเทพฯ ได้อีกด้วย (ใช้พื้นที่กทม. และพื้นที่ของหน่วยงานภาครัฐอื่น) การประชาสัมพันธ์ - จัดทำตารางแสดงการจองใช้บริการออนไลน์เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้ทราบถึงคิวการใช้งานและสามารถวางแผนการดำเนินการล่วงหน้า - จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณใกล้เคียงเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการใช้งาน เช่น พื้นที่ลานจอดรถของเอกชนบริเวณใกล้เคียง การเดินทาง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :เป้าประสงค์ คนกรุงเทพฯ - ได้พื้นที่สาธารณะสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดแสดงและการรับชมผลงานศิลปะสร้างสรรค์ การจัดเสวนาการประชุมหัวข้อปัญหา เมืองใกล้บ้าน โดยกทม.จะขยายพื้นที่สาธารณะอเนกประสงค์ให้กระจายตัวอยู่ทั่วกรุง เพื่อเปิดให้ประชาชนใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ พื้นที่ที่จะนำ มาใช้ - พื้นที่ของ กทม. - พื้นที่ของหน่วยงานรัฐอื่น ตัวชี้วัด จำนวนพื้นที่สาธารณะ กทม. ที่มีความพร้อม สำหรับการจัดกิจกรรมต่างๆ (ห้องน้ำ น้ำดื่ม และการดูแลเรื่องความปลอดภัย พื้นที่ลานจอดรถ) เป้าหมาย 50 แห่ง

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 21

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 131 : งานศิลป์จากหอศิลป์กรุงเทพฯ สู่พื้นที่สาธารณะทั่วกรุง 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สวท. // หน่วยงานสนับสนุน สสล.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้ชมผลงานระดับชาติและระดับโลกใกล้บ้าน ไม่ต้องเดินทางเข้าเมือง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กรุงเทพฯ จะนำผลงานที่เคยจัดแสดงในหอศิลป์กรุงเทพฯ เดินทางออกมาจัดแสดงต่อ ณ สวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ขนาดเล็กทุกเขต และพื้นที่สาธารณะต่างๆ ในทุกเขต ขยายโอกาสของศิลปินในการจัดแสดงผลงาน และขยายโอกาสของประชาชนในการชมผลงาน และทำให้กรุงเทพฯ กับศิลปะเป็นเนื้อเดียวกัน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ยกเลิกนโยบาย

    5.เป้าหมาย : : 0

    6.Action Plan :นโยบายที่ถูกตัดออก

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 132 : ชมรมผู้สูงอายุ สร้างสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพใจ (Active Aging) 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนอ. // หน่วยงานสนับสนุน สนข., สนพ., สพส., สวท.

    2.ประชาชนได้อะไร :ผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ ได้ทำกิจกรรมใหม่ๆ พบปะพูดคุยกับเพื่อนวัยใกล้เคียงกันและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ผลักดันและอำนวยความสะดวกให้เกิดการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้น โดยสนับสนุนผ่านปัจจัยต่างๆ เช่น 1) ให้ความรู้เกี่ยวกับชมรมผู้สูงอายุและสิทธิประโยชน์ เช่น การเขียนโครงการจากงบกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร 2) ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งชมรมผ่านการจัดเตรียมข้อมูลและงานเอกสาร 3) จัดหาพื้นที่ในการรวมกลุ่มและห้องของชมรม เช่น พื้นที่ในศูนย์บริการสาธารณสุข พื้นที่ในโรงพยาบาล พื้นที่ในสวนสาธารณะ 4) พื้นที่การรวมกลุ่มควรมีการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับการใช้งาน และมีบรรยากาศผ่อนคลาย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุในการเข้าสังคม ทำกิจกรรม พูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างกัน 5) ช่วยประสานจัดหากิจกรรมให้กับชมรม เช่น ประสานหาครูสอนออกกำลังกาย (สามารถประสานครูที่สอนอยู่ในศูนย์กีฬา กทม.)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนชมรมผู้อายุมีการกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในรูปแบบใหม่

    5.เป้าหมาย :ชมรม : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 133 : คลังปัญญาผู้สูงอายุ 0 4 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 4 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สพส. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :ผู้สูงอายุที่ยังอยากทำงานหรือมีกำลังและพลังความคิดที่มีคุณค่าอยู่ก็สามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้ สังคมได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์หรือคลังปัญญาที่น่าสนใจจากผู้สูงอายุ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ผู้สูงอายุตอนต้นหลายคนยังอยากทำงานหรือถ่ายทอดความรู้สู่สังคมหรือประสบการณ์ที่มีคุณค่า ดังนั้น กทม.จะจัดหางานที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมและสร้างความภาคภูมิใจให้ผู้สูงอายุด้วย เช่น การช่วยดูแลเด็กอ่อน-เด็กเล็กแก่คุณแม่มือใหม่ในศูนย์ หรือการเป็นอาสาสมัครดูแลสังคมในชุมชนเพื่อเฝ้าระวังปัญหาในระดับบ้านและชุมชน เช่น ความรุนแรงในครอบครัว ช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียง เพราะและทำกล้าไม้สนับสนุนการปลูกต้นไม้ในเมือง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :แนวทางการศึกษาการจ้างงานผู้สูงอายุในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

    5.เป้าหมาย :แนวทาง : 1

    6.Action Plan :จัดเก็บรวบรวมภูมิปัญญาผู้สูงอายุ กทม. อยู่ในเว็บไซต์สำนักพัฒนาสังคม รวมทั้งสิ้น 750 คน แบ่งตามสาขา ดังนี้ 1. สาขาเกษตรกรรม 57 คน 2. สาขาคหกรรม 173 คน 3. สาขาศิลปกรรม 353 คน 4. สาขาสาธารณสุข 102 คน 5. สาขาภาษาและวรรณกรรม 17 คน 6. สาขาอื่นๆ 48 คน

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 134 : สายด่วน 1555 รองรับการใช้งานภาษามือ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :ทุกคนสามารถเข้าใช้บริการ 1555 ได้อย่างทั่วถึง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :พัฒนาสายด่วน กทม. 1555 ให้รองการใช้งานภาษามือด้วยเทคโนโลยี เช่น TTRS (Telecommunication relay service) ระบบที่ช่วยให้คนพิการทางการได้ยินสามารถสื่อสารกับคนปกติได้ ผ่านการ Video Call เพื่อให้ล่ามภาษามือสื่อสารออกมาเป็นข้อความเสียงแทนผู้พิการ เพื่อให้คนพิการทางการได้ยินสามารถเข้าถึงการให้บริการของ กทม.ได้อย่างครบถ้วน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :คน : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 135 : ขยายขีดความสามารถของโรงเรียนและศูนย์ฝึกอาชีพ กทม. ให้สามารถดูแลและฝึกทักษะคนพิการได้ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- โรงเรียนฝึกอาชีพที่ได้มาตรฐานและรองรับความหลากหลาย - โอกาสในการพัฒนาทักษะสำหรับคนทุกกลุ่ม

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามมาตรฐาน Universal Design ให้รองรับทุกคน - พัฒนาหลักสูตรที่รองรับและเหมาะสมสำหรับคนพิการเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดเป็นอาชีพ สร้างรายได้แก่คนพิการอย่างยั่งยืน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :คน : 40

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 136 : จัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาประจำชุมชน ประจำเขต 0 8 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 8 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สวท. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :กิจกรรมที่มีส่วนร่วมของคนในย่าน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ปัจจุบันการแข่งขันกีฬาใน กทม.ส่วนใหญ่จะเน้นที่กีฬาของนักเรียนในสังกัด กทม. ซึ่งยังไม่ครอบคลุมกับประชาชนทั่วไป ดังนั้น กทม.จะพัฒนาการแข่งขันกีฬาประจำชุมชน ประจำเขต ประจำจังหวัดขึ้น โดยจะเป็นการแข่งขันที่เปิดกว้างให้ประชาชนทั่วไปสามารถรวมกลุ่มกันและเข้าร่วมได้ การแข่งขันจะมีการแบ่งเป็นลีกตามช่วงอายุและประเภทกีฬา เช่น ฟุตซอล มวยไทย วอลเลย์บอล แบดมินตัน บาสเก็ตบอล ว่ายน้ำ เทควันโด ปิงปอง แบดมินตัน ฟุตบอล และ E-Sport โดยการแข่งขันจะถูกจัดขึ้นตามลานกีฬาต้นแบบประจำแขวงต่าง ๆ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :เป้าประสงค์ คนกรุงเทพฯ เข้าร่วมกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของคนในย่าน โดย พัฒนาการแข่งขันกีฬาประจำชุมชน ประจำเขต ประจำจังหวัดขึ้น โดยจะเป็นการแข่งขันที่เปิดกว้างให้ประชาชนทั่วไปสามารถรวมกลุ่มกันและเข้าร่วมได้ ตัวชี้วัด จำนวนเขตที่จัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาประจำชุมชน ประจำเขต 50 เขต

    5.เป้าหมาย :เขต : 50

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 137 : ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงตลอดช่วงชีวิต 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :-เพื่อไม่ให้สภาพแวดล้อมเกิดผลกระทบจากกิจการสัตว์เลี้ยง -มีฐานข้อมูลผู้ประกอบกิจการที่สามารถตรวจประเมินและกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ -ลดความเสี่ยงสัตว์เลี้ยงสูญหาย หรือการปล่อยสัตว์เลี้ยงเป็นสัตว์จร

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะดำเนินการ 3 ส่วนสำคัญ 1. ออกตรวจตรา ขึ้นทะเบียน ดูแลกำกับกิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ และร้านค้าจำหน่ายสัตว์เลี้ยง 2. ผลักดันการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงตั้งแต่ต้นทาง เพื่อลดความเสี่ยงที่เจ้าของซื้อไปแล้วอาจปล่อยปละสัตว์เลี้ยงให้เป็นสัตว์จร 3. สัตว์เลี้ยงทั้งสุนัขและแมวที่มีเจ้าของดูแลในปัจจุบัน กทม.จะดำเนินการทยอยเปิดขึ้นทะเบียนฝังชิป

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ข้อมูลเขตที่ได้รับการสำรวจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ร้านค้าจำหน่ายสัตว์เลี้ยง

    5.เป้าหมาย :เขต : 50

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 138 : จัดระเบียบสัตว์จร แก้ปัญหาผ่านการจัดการอย่างเป็นระบบ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- กรุงเทพฯ จะมีสุนัขและแมวจรลดน้อยลงหลังจากนโยบายทำหมันอย่างจริงจัง หลังจากสัตว์จรจะหมดช่วงอายุขัยตามธรรมชาติ เฉลี่ยประมาณ 10-15 ปี - หน่วยงาน กทม.จะมีศูนย์พักพิงฯ ที่สามารถดำเนินการรองรับสัตว์จรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการดำเนินงานล่าช้าจากการร้องเรียนเหตุในพื้นที่ - คนกรุงเทพฯ สามารถรับเลี้ยงสัตว์ใหม่จากสัตว์จรในศูนย์พักพิงของ กทม. และศูนย์พักพิงเครือข่ายที่ผ่านเกณฑ์และมีความพร้อมที่เหมาะสม โดยมีสัตว์ที่มีสุขภาพดี แข็งแรงไม่มีโรค

    3.กทม.จะทำอย่างไร :1. จัดชุดออกปฏิบัติการทำหมันและฉีดวัคซีนเชิงรุกอย่างมียุทธศาสตร์ 2. เปลี่ยนสุนัขจรเป็นสุนัขชุมชน 3. ปรับปรุงศูนย์พักพิงของ กทม. และกำกับดูแลศูนย์ของเอกชนให้มีมาตรฐาน 4. ส่งสัตว์จรกลับสู่สถานะสัตว์เลี้ยง (Adopt Not Shop)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนครั้ง/เดือนในการออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเชิงรุก (ครอบคลุมพื้นที่เขตที่ได้รับการร้องเรียน กรณีต้องการให้ผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ร้อยละ 80)

    5.เป้าหมาย :ครั้ง : 12

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 139 : เปิดบ้านอุ่นใจ ที่ปลอดภัยของคนไร้บ้าน 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :คนไร้บ้านเข้ารับการบริการภายในศูนย์ฯ และพักอาศัยชั่วคราวเป็นหลักแหล่ง ลดผลกระทบต่อสังคมในพื้นที่สาธารณะ ตลอดจนเกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในตัวผู้ไร้บ้าน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะเปิดดำเนินการบ้านอุ่นใจอีกครั้งในบริเวณกรุงเทพฯ ชั้นใน โดยการดำเนินการจะมีลักษณะการบริการที่ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้นในรูปแบบการให้บริการเป็นรายการตามความสมัครใจ เช่น บริการห้องน้ำและห้องอาบน้ำ บริการตรวจสุขภาพและให้คำปรึกษา การสนับสนุนมื้ออาหาร การพักค้างคืนที่เป็นพื้นที่ปลอดภัย ตลอดจนการส่งต่อ ส่งกลับภูมิลำเนา หรือการช่วยหางานสร้างรายได้

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 140 : รักษาสิทธิขั้นพื้นฐานให้คนไร้บ้าน ผ่านการตรวจสอบสิทธิและสวัสดิการ 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :ประชากรมีความมั่นคงมากขึ้นจากการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานได้

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะดำเนินการเชิงรุกในการพิสูจน์ตัวตนและออกเอกสารสิทธิ์แก่คนไร้บ้านที่มีสัญชาติไทยและอยู่ในทะเบียนอยู่เดิม ดำเนินการร่วมกับนักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยา ควบคู่การออกสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลอย่างประจำ เพื่อให้คนไร้บ้านหรือคนจนเมืองกลุ่มเปราะบางที่กลายเป็นคนไร้บ้านสามารถกลับเข้าสู่ระบบหรือใช้ชีวิตแบบปกติได้เร็วที่สุด

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :มีแนวทางบริหารจัดการเรื่อง คนไร้บ้าน (ครอบคลุมประเด็น การเปิดบ้านอุ่นใจ + การได้รับสิทธิสวัสดิการขั้นพื้นฐาน +การฝึกอาชีพหรือมีงานทำ +ฐานข้อมูลคนไร้บ้าน + ห้องพักราคาถูก)

    5.เป้าหมาย :แนวทาง : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 141 : จัดระบบความช่วยเหลือคนไร้บ้านให้มีประสิทธิภาพ 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- การส่งต่อความช่วยเหลือสู่คนไร้บ้านเป็นระบบ มีรูปแบบกลไกที่ชัดเจน ผ่านการเปิดพื้นที่ ประสานงาน และประชาสัมพันธ์ให้สาธารณะรับรู้ - ประชากรมีความมั่นคงมากขึ้นจากการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานได้

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- ดำเนินการการแจกสิ่งของและกระจายความช่วยเหลือ โดยพิจารณาทั้งการเปิดให้ใช้พื้นที่ของ กทม. - จัดทำฐานข้อมูลและประวัติของผู้เข้ารับการช่วยเหลือ (profiling) เพื่อเชื่อมโยงต่อยอดสู่ความช่วยเหลือรูปแบบอื่นในระยะต่อไป

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 142 : ช่วยหางาน สร้างรายได้ สร้างความมั่นคง 0 4 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 4 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- คนไร้บ้านที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการช่วยหางานสามารถกลับเข้าสู่ระบบและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :นอกจากการช่วยเหลือด้านสวัสดิการและปัจจัยพื้นฐาน ทั้งในด้านการพักอาศัย อาหาร ตลอดจนการรักษาพยาบาลหรือตรวจสุขภาพ อีกหนึ่งปัจจัยในการช่วยส่งคนไร้บ้านกลับสู่การดำเนินชีวิตตามปกติสุขได้อย่างยั่งยืนคือ รายได้ที่มั่นคงและเพียงพอสำหรับการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน ตลอดจนเช่าที่พักอาศัยราคาถูกได้ กทม.จะดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม มูลนิธิฯ ต่างๆ ตลอดจนภาคเอกชนผู้ประกอบการในการจัดทำฐานข้อมูลและดูแลเรื่องสวัสดิการ ส่งต่อสู่โครงการฝึกอาชีพ การอบรมระยะสั้น และช่วยหางานให้เหมาะกับช่วงอายุและพื้นฐานรายบุคคล เช่น พนักงานดูแลสวนและตัดต้นไม้ พนักงานคัดแยกขยะ พนักงานทำความสะอาด หรือแรงงานก่อสร้างและช่างทั่วไป

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละความสำเร็จของคนไร้บ้านที่ประสงค์จะทำงานและมีงานทำ ตามความต้องการ

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 143: จัดทำฐานข้อมูลห้องเช่าราคาถูก (housing stock) 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :

    3.กทม.จะทำอย่างไร :

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย : :

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 144 : จัดชุดปฏิบัติการสำรวจตรวจตราคนไร้บ้านและขอทานในเมือง 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ลดปัญหากลุ่มคนไร้บ้านหรือกลุ่มขอทานที่กระจายตัวอยู่ในหลายพื้นที่ของเมือง - ความปลอดภัยทั้งในตัวกลุ่มคนเปราะบาง ตลอดจนสุขภาวะอนามัยและสภาพแวดล้อมของเมืองที่ดีขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 145 : สร้างต้นแบบการแยกขยะ ต่อยอดให้การแยกขยะระดับเขตสมบูรณ์ครบวงจร 0 17 1 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 17 โครงการ แล้วเสร็จ : 1 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :1. สภาพแวดล้อมเมืองดีขึ้น การจัดเก็บขยะทำได้สะดวกรวดเร็วจากการแยกประเภท 2. ใช้งบประมาณจากภาษีประชาชนในการจัดเก็บขยะและการจัดการปลายทางลดลง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :การพัฒนาฐานข้อมูลห้องเช่าราคาถูกมีเป้าหมายเพื่อเป็นข้อมูลประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเป็นตัวเลือกให้คนไร้บ้านที่ต้องการที่อยู่อาศัยราคาถูกด้วย

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :พื้นที่ : 3

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 146 : สภาพแวดล้อมเมืองดี จุดทิ้งขยะถูกสุขอนามัย ไม่มีขยะตกค้าง 0 5 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 5 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สสล. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :สภาพแวดล้อมและทัศนียภาพเมืองสะอาด สวยงาม ไม่มีมลพิษยจากขยะตกค้าง และไม่มีแหล่งเพาะเชื้อโรคหรือพาหะที่ส่งผลต่อสุขภาพคนเมือง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :หลายพื้นที่มีปัญหาเรื่องขยะตกค้าง การเก็บ/ขนทำได้ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ตลอดจนหลายจุดท้ิงขยะมีการเก็บ/ขนขยะ แต่ไม่มีการทำความสะอาดบริเวณโดยรอบถังขยะหรือจุดรวม เกิดรอยคราบของเศษอาหาร ขยะเปียกส่งกลิ่นเหม็น ส่งผลให้เกิดทัศนะอุจาดตาแก่เมือ สภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะหรือเป็แหล่งบ่มเพาะเชื้อโรคและสัตว์พาหะ นโยบายเร่งด่วนที่ต้องทำให้คุณภาพชีวิตตลอดจนสุขอนามัยคนกรุงเทพฯ ดีขึ้น ได้แก่ สำรวจและทำความสะอาดจุดท้ิงขยะที่เป็นปัญหา ร้องเรียนขยะตกค้างผ่านฟองดูว์ เพิ่มประเภทขยะถังติดเชื้อในจุดท้ิงขยะ และประชาสัมพันธ์การเก็บขยะช้ินใหญ่อย่างชัดเจน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1. การพัฒนาปรับปรุงระบบการทิ้งและเก็บมูลฝอยอย่างบูรณาการ 2. กิจกรรมนัดเวลาทิ้ง นัดเวลาเก็บให้บริการเก็บวัสดุสิ่งของเหลือใช้หรือขยะชิ้นใหญ่ 3. พัฒนาเรือเก็บขยะและผักตบชวาในแม่น้ำลำคลองแบบประจำจุด (ย้ายมากจากนโยบาย 145)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 147 : มุ่งเน้นแยกขยะต้นทางและขยะเปียกจากองค์กรแบบมุ่งเป้า 0 11 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 11 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :1. ริเริ่มการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางในแหล่งพาณิชยกรรมที่มีกิจกรรมและผู้ใช้งานหนาแน่น 2. ปลูกฝังค่านิยมการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบในเยาวชนและประชาชนทั่วไป

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ดำเนินการคัดแยกประเภทขยะอย่างจริงจังในหน่วยงานองค์กร โดยเฉพาะขยะอินทรีย์ ขยะเศษอาหาร หรือขยะรีไซเคิล ริเริ่มจากหน่วยงานสังกัด กทม.เอง และสถานที่หรือองค์กรที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจและผู้ใช้งานจำนวนมาก ประกอบด้วย 1. หน่วยงานภายใต้ กทม. สำนักงานเขต ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงเรียน 2. พื้นที่ตลาดภายใต้สำนักงานตลาด และร่วมมือกับพื้นที่เอกชน 3. ห้างสรรพสินค้า คอมมิวนิตี้มอลล์ ศูนย์อาหาร (food court) ส่งเสริมและสนับสนุนการแยกขยะด้วยการพิจารณา “ลดค่าเก็บขยะหรือยกเลิกการเก็บค่าขยะ” พร้อมทั้งส่งเสริมและทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม และเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การแปรรูปขยะตามหลัก circular economy และการนำขยะกำพร้าแปลงเป็น "เชื้อเพลิงขยะ" (refuse-derived fuel: RDF)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 148 : พัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank ส่งต่ออาหารให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรม 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :

    3.กทม.จะทำอย่างไร :

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 149 : รถขยะไซส์เล็ก เข้าใจเมือง เข้าถึงบ้าน 0 4 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 4 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สสล. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :1. ลดปัญหาขยะตกค้าง ส่งกลิ่นเหม็นในย่านที่พักอาศัยและชุมชน 2. การลากขยะและการจัดเก็บขยะของ กทม.มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีพื้นที่ตรอกซอกซอยจำนวนมาก ส่งผลให้รถเก็บขยะคันใหญ่ที่มีมากกว่า 2,000 คัน ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดความจุ 5 ตัน ไม่สามารถเข้าสู่ชุมชนและตรอก ซอก ซอยได้ กทม.จึงจัดให้มีเจ้าหน้าที่ลากขยะที่จะเข้าไปตามตรอกซอกซอยเหล่านั้น และนำขยะออกมารอยังจุดพักขยะข้างรถเก็บขยะคันใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาขยะตกค้างและส่งกลิ่นเหม็นตามครัวเรือนและซอยย่อย บางพื้นที่ยังคงต้องใช้เรือเก็บขยะในการเข้าถึงชุมชนริมคลองที่อยู่ลึกและกระจายตัวออกไป ดังนั้น กทม.จะออกแบบ ศึกษา และพัฒนาโมเดลรถจัดเก็บขนาดเล็ก ควบคู่กับอุปกรณ์และรถช่วยลากขยะ เพื่อเข้าถึงตรอกซอกซอยและชุมชนริมคลองที่หลายแห่งมีความกว้างเพียงทางเดินเท้า และทางมอเตอร์ไซค์ผ่าน (กว้างน้อยกว่า 1-1.5 เมตร) โดยเป้าหมายระยะยาว มุ่งเป้าการลดปัญหาขยะตกค้างและส่งกลิ่นเหม็นในชุมชน เพิ่มรอบการจัดเก็บขยะให้มีประสิทธิภาพ โดยต้องทำควบคู่กับการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางให้ถูกวิธี

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1. โครงการศึกษาพร้อมจัดหารถไซส์เล็ก ขนาด 0.4 -1 ตัน

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 150 : ขยายโครงการโรงพยาบาล 10,000 เตียง 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ลดภาระค่าใช้จ่ายการเดินทางและค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาล - ยกระดับการเข้าถึงการรักษาพยาบาลคุณภาพดี

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะดำเนินการส่งเสริมการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ Care Giver (CG) ใน อสส. รวมถึงการอบรม CG ในสมาชิกครอบครัวของผู้ป่วย ผสมผสานการติดตามและดูแลการรักษาจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลทันสมัย (remote monitoring) ดังนี้ 1) Telemedicine พบหมอได้จากที่บ้าน 2) นำหมอไปหาชุมชนและแหล่งที่อยู่อาศัยด้วย Mobile Medical Unit 3) แอพพลิเคชันในการเก็บข้อมูลผู้ป่วยตามบ้านให้อยู่ในระบบเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข 4) แอพพลิเคชันอำนวยความสะดวกให้ อสส. สามารถประเมินและคัดกรองโรคของผู้ป่วยได้เบื้องต้น - กลุ่มเป้าหมาย จากเดิมที่ดูแลรักษากลุ่มผู้ป่วยติดเตียง (long-term care) และการดูแลกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย (palliative care) เช่น โรคมะเร็ง โรคไต โรคสมองเสื่อม และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ขยายโครงการและการดูแลสู่กลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงหรือต้องมีคนช่วยดูแลในกลุ่มโรคอื่น และคนที่มีโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาในระยะยาว เช่น กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น ความดันโลหิตสูง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านแบบ Home ward

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 151 : สนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวคิดบ้านมั่นคง 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- คนกรุงเทพฯ ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงมีโอกาสเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่มั่นคงเพิ่มมากขึ้น - ระบบการออมและสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงให้กับชุมชน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม. จะสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวความคิดบ้านมั่นคง ผ่านการร่วมกันแก้ไขปัญหาระหว่าง ชุมชน กทม. และภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งมิติการทำงานออกเป็น 3 ขาแห่งความสำเร็จคือ ที่ดิน การออม และการช่วยเหลือของรัฐ ที่ดิน - เก็บข้อมูลรายละเอียดแปลงที่ดินที่มีประสิทธิภาพสำหรับการพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย (land stock) ทั้งพื้นที่ดินของเอกชนที่ไม่มีการพัฒนา พื้นที่ว่างไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เต็มประสิทธิภาพของภาครัฐ โดยมีรายละเอียดพื้นที่ เช่น ขนาดพื้นที่ กรรมสิทธิ์ ขนาดความกว้างถนนติดแปลงที่ดินและระยะต่าง ๆ ตามกฎหมายควบคุมอาคารและผังเมืองที่สามารถให้พัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยได้ เพื่อสามารถพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาที่อยู่อาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น - ศึกษาการนำแปลงที่ดินที่ไม่สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยได้จากกฎหมายควบคุมอาคารและผังเมือง เพื่อรวบรวมในการมาปรับปรุงให้สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยได้มากขึ้นผ่านการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งการเคหะแห่งชาติ หรือสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เช่น พื้นที่ย่านรามคำแหงที่ติดข้อกำหนดระยะความกว้างถนน หรืออาศัยอำนาจจากกฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้น ผ่อนผัน หรือกําหนดเงื่อนไข ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารสําหรับอาคารในโครงการที่รัฐจัดให้มีหรือพัฒนาเพื่อเป็นที่อยู่สําหรับผู้มีรายได้น้อย พ.ศ. 2554 ที่ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถยกเว้น ผ่อนผันกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย การออม - ให้ความรู้กับชุมชนเกี่ยวกับการรวมกลุ่มการออมและการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ชุมชน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้เกิดที่อยู่อาศัยที่มั่นคง จากการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนในการสร้างระบบการออมที่ช่วยเหลือกันทั้งชุมชน เพื่อให้สามารถนำเงินออมไปเป็นเงินตั้งต้นในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเข้ากลไกการสนับสนุนของรัฐได้ เช่น กลไกของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ที่มีการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อส่งเสริมการออมในชุมชนในการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยให้กับชุมชน การช่วยเหลือของรัฐ - ช่วยลดค่าครองชีพให้กับประชาชนผ่านการสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนศูนย์ดูแลเด็กเล็กตั้งแต่ 0-3 ปี ในชุมชนเพื่อให้เกิดการดูแลเด็กเล็กในช่วงที่ผู้ปกครองทำงาน ลดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กในชุมชน ให้การสนับสนุนค่าเรียนฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่ภาครัฐดูแล สนับสนุนค่าอาหารให้นักเรียน และเพิ่มช่วงเวลาที่นักเรียนสามารถอยู่ในโรงเรียนสังกัด กทม.มากขึ้น เพื่อรอระหว่างผู้ปกครองเลิกงาน เพิ่มประสิทธิภาพศูนย์บริการสาธารณสุขให้มีศักยภาพมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงพยาบาล การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน (มากกว่าบ้าน) -เช่น ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพให้กับคนในชุมชน โดยยึดหลักความต้องการมาจากชุมชนว่าอยากฝึกอะไร โดยมีหลักคือต้องการสร้างระบบการจัดการให้ชุมชนสามารถดูแลตัวเองได้ และพัฒนาศูนย์ดูเด็กอ่อน-เด็กเล็กให้พ่อแม่สามารถออกไปทำงานได้ ในขณะที่เด็กมีคนดูแลอย่างมีคุณภาพ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จัดทำโครงการ/กิจกรรมเพื่อให้การสนับสนุนตามแนวคิดบ้านมั่นคง

    5.เป้าหมาย :เขต : 21

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 152 : ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข เพิ่มการรักษา เพิ่มเวลา เพิ่มทรัพยากร 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนอ. // หน่วยงานสนับสนุน -

    2.ประชาชนได้อะไร :- ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางระยะไกล ลดเวลาในการเดินทางและความแออัดในสถานพยาบาลขนาดใหญ่ - ยกระดับการเข้าถึงการรักษาพยาบาลคุณภาพดีใกล้บ้านในระดับเส้นเลือดฝอย - คลินิกบริการและการรักษาโรคตอบโจทย์ความต้องการ ตรงกับวิถีชีวิตของประชาชน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :เพื่อยกระดับคุณภาพของการบริการปฐมภูมิ ดังนี้ 1) ก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารเดิมให้ทันสมัย เพียงพอกับผู้ใช้งาน 2) จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุทางการแพทย์ที่จำเป็น 3) เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เฉพาะทางให้เพียงพอ เช่น ทันตแพทย์ เจ้าหน้าที่พยาบาล นักกายภาพบำบัด ที่ปรึกษาทางจิตวิทยา ด้วยการจ้างประจำในกรอบอัตรากำลังและลูกจ้างชั่วคราวหรือ outsourcing 4) เพิ่มหรือปรับเปลี่ยนคลินิกการให้บริการ ขยายบริการของคลินิกนอกเวลา ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนเมืองและกลุ่มโรคในปัจจุบัน คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกจิตวิทยาปรึกษา สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน คลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย คลินิกสุภาพสตรีที่ครอบคลุมบริการการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 5) ขยายบริการของคลินิกนอกเวลาราชการ ตามแบบการประเมินและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ 6) ปรับปรุงสวัสดิการ ค่าล่วงเวลา ตลอดจนค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับภาระงานในส่วนเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล ข้าราชการ ตลอดจนการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวหรือโครงการตามอัตรากำลังที่ขาดแคลน 7) เพิ่มบริการให้ยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์ เกี่ยวกับคนพิการ เช่น รถเข็น (Wheel Chair) เครื่องช่วยเดิน ถังออกซิเจน ฯลฯ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :หมายถึง จำนวนคลินิกพิเศษในกลุ่มศูนย์บริการสาธารณสุขที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นคลินิกรับการส่งต่อ และ จำนวนศูนย์บริการสาธารณสุขที่ได้รับการขยายบริการเป็นศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ค่าเป้าหมาย จำนวน 18 แห่ง จำแนกตามประเภทได้ ดังนี้ 1. จำนวนคลินิกพิเศษในกลุ่มศูนย์บริการสาธารณสุขที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นคลินิกรับการส่งต่อ จำนวน 12 คลินิก 2. จำนวนศูนย์บริการสาธารณสุขที่ได้รับการขยายบริการเป็นศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด จำนวน 6 แห่ง

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 18

    6.Action Plan :1. โครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 153 : ศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สพส. (สพอ.) // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- โอกาสในการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและมีคุณภาพ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ เพื่อทบทวนเครื่องมือหรือกลไกของ กทม.ที่มีอยู่เดิม และอาจจะเป็นกลไกสำคัญในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยที่มั่นคงให้กับคนกรุงเทพฯ แต่เนื่องจากกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร ถูกตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร มาตั้งแต่ พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นระยะเวลานาน จึงสมควรศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร เพื่อเพิ่มโอกาสในการดำเนินการเครื่องมือหรือกลไกของกรุงเทพฯ ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มั่นคงให้กับคนกรุงเทพฯ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2541 และระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2541 ได้ถูกยกเลิกตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2545 ข้อ 3

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2541 และระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2541 ได้ถูกยกเลิกตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2545 ข้อ 3

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 154 : หมอถึงบ้าน ผ่าน Telemedicine 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนพ. // หน่วยงานสนับสนุน ม.นวมินทร์, สนอ.

    2.ประชาชนได้อะไร :ประชาชนได้รับการบริการและรักษาพยาบาลที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และเชื่อถือได้ โดยไม่ลดต้นทุนเวลาและค่าใช้จ่ายได้

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะพัฒนาให้การให้บริการสาธารณสุขและการรักษาพยาบาลครอบคลุมครบวงจร เช่น การรับแจ้งผู้ป่วยและทำนัดหมาย เช่น ผ่านแอพพลิเคชั่นของ กทม. อย่าง BMAQ การชำระเงินรูปแบบออนไลน์ (e-Payment) การรับยาที่บ้านหรือร้านยาใกล้บ้าน ผสานกับแจ้งเตือนให้กินยาให้ถูกต้องตามแพทย์แนะนำ เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการการรักษาที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และเชื่อถือได้ผ่านการให้คำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยแบ่งการใช้เทคโนโลยีเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. การบริการจากสถานพยาบาลทุติยภูมิ (โรงพยาบาล) กับปฐมภูมิ (ศูนย์บริการสาธารณสุขหรือศูนย์สุภาพชุมชน) เพื่อเสริมบริการการรักษาแบบมีเจ้าหน้าที่คอยสนับสนุน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยีและต้องการความช่วยเหลือ 2. การบริการแบบ end-to-end ใช้แอพพลิเคชั่นทางสมาร์ทโฟนเพื่อให้สถานพยาบาลติดต่อกับคนไข้ที่ต้องพบแพทย์เป็นประจำและมีประวัติการรักษาอยู่เดิมได้โดยตรง ลดการเดินทาง พบหมอออนไลน์ รอรับยาที่บ้าน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 9

    6.Action Plan :1. โครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ 2. กิจกรรมการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) 3. 1)Application Vajira @home (telemed) 2) Vajira Smile

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 155 : Mobile Medical Unit รถสุขภาพเชิงรุก ตรวจถึงชุมชน 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ลดภาระค่าใช้จ่ายการเดินทางระยะไกล ลดเวลาในการเดินทาง และลดความแออัดในสถานพยาบาลโดยไม่จำเป็น - ยกระดับการเข้าถึงการรักษาพยาบาลคุณภาพดีใกล้บ้านในระดับเส้นเลือดฝอย

    3.กทม.จะทำอย่างไร :รถตรวจเชิงรุกชุมชน สุขภาพดีวิถีใหม่ ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพฯ (อสส.) และยกระดับการเข้าถึงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ สาธารณสุขชุมชน และหน่วยตรวจเคลื่อนที่ไปยังสถานศึกษา

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ครั้ง : 99

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 156 : เร่งรัดผลักดันการก่อสร้าง และศึกษาการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ให้ครอบคลุม 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :การบริการสาธารณสุขและรักษาพยาบาลของรัฐภายใต้สังกัดกรุงเทพฯ ครอบคลุมประชาชนส่วนใหญ่ใน 6 กลุ่มเขต โดยกทม.จะศึกษาออกแบบความเป็นไปได้ในการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ในพื้นที่ที่โครงสร้างพื้นฐานและจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างใหม่เติบโตในอัตราสูง แต่สถานพยาบาลของรัฐยังไม่ครอบคลุม

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะศึกษาออกแบบความเป็นไปได้ในการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ในพื้นที่ที่โครงสร้างพื้นฐานและจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างใหม่เติบโตในอัตราสูง แต่สถานพยาบาลของรัฐยังไม่ครอบคลุม เช่น ฝั่งกรุงธนเหนือ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 2

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 157 : คาร์บอนคุมได้ กทม.ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero) 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :ลดความเสี่ยง ลดต้นทุนการจัดการด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นจากการมีก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นโดยหน่วยงาน กทม.เป็นผู้นำร่องจากกิจกรรมที่สามารถเห็นผลได้จริง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะพัฒนาโครงการ กทม.ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero) เพื่อเป็นแบบอย่างการเอาจริงเรื่องโลกร้อนให้กับองค์กรอื่นๆ โดยใช้หลักการคำนวณ ลด ชดเชย (CRO)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :1) คำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร (อาคาร ยานพาหนะ) (ปีฐาน) 2) ร้อยละของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเมืองลดลง (ลดลงร้อยละ 80 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2566) 3) ร้อยละของปริมาณการดูดซับ/กักเก็บก๊าซเรือนกระจกของเมืองเพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ของปริมาณการดูดซับ/กักเก็บก๊าซเรือนกระจกในปี 2566)

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 158 : สะพานลอยปลอดภัย มั่งคงแข็งแรง 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนย. // หน่วยงานสนับสนุน สจส., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- สะพานลอยปลอดภัย - สะพานลอยมั่นคงแข็งแรง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ทางม้าลายเป็นรูปแบบทางข้ามที่สำคัญที่สุดเพราะหลายกลุ่มคนสามารถใช้ได้ อย่างไรก็ตามในการข้ามถนนขนาดหลายช่องจราจรหรือบริเวณแยกขนาดใหญ่ในบางพื้นที่สะพานลอยยังคงจำเป็น ปัญหาเกี่ยวกับสะพานลอยพบเห็นได้โดยทั่วไป เช่น โครงสร้างที่ทรุดโทรม แตกหัก กีดขวาง และอาจส่งผลอันตรายต่อผู้สัญจรทางเท้าได้ ในบางพื้นที่สะพานลอยก็มีประเด็นเรื่องแสงสว่างไม่เพียงพอ รวมถึงการมีสายสื่อสารพาดข้ามทำให้สะพานลอยกลายเป็นพื้นที่ไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน ดังนั้น กทม.จะดำเนินการพัฒนาสะพานลอย โดย 1. สำรวจสภาพสะพานลอยปัจจุบัน 2. ดำเนินการปรับปรุงกายภาพให้มั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย 3. ปรับปรุงบันได ให้ขั้นบันไดไม่ชันเกินไปและกว้างเพียงพอให้ก้าวได้เต็มเท้า 4. ติดตั้งแสงสว่างและ CCTV 5. พิจารณาออกแบบร่องรางให้สามารถจูงจักรยานข้ามได้ 6. ติดตั้งลิฟท์รอกไฟฟ้า บริเวณทางข้ามที่ต้องเป็นสะพานลอย

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของสะพานลอยที่ชำรุดได้รับการปรับปรุง จำนวนสะพานลอยที่ต้องปรับปรุง 274 สะพาน ปี 66 ปรับปรุง 19 สะพาน ปี 67 ปรับปรุง 100 สะพาน ปี 68 ปรับปรุง 100 สะพาน ปี 69 ปรับปรุง 84 สะพาน บริหารจัดการภาพรวมการพัฒนาสะพานลอย โดย 1. สำรวจสภาพสะพานลอยปัจจุบัน 2. ดำเนินการปรับปรุงกายภาพให้มั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย 3. ปรับปรุงบันได ให้ขั้นบันไดไม่ชันเกินไปและกว้างเพียงพอให้ก้าวได้เต็มเท้า 4. ติดตั้งแสงสว่างและ CCTV 5. พิจารณาออกแบบร่องรางให้สามารถจูงจักรยานข้ามได้ 6. ติดตั้งลิฟท์รอกไฟฟ้า บริเวณทางข้ามที่ต้องเป็นสะพานลอย

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :สำรวจ ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของสะพานลอย เสร็จเรียบร้อยแล้ว สะพานลอยทั้งหมด 704 สะพาน ผลการสำเรวจมีสภาพชำรุดที่ต้องซ่อมแซม จำนวน 19 และสภาพชำรุดเสียหายมาก พิจารณาทุบทิ้งทั้งสะพาน และก่อสร้างใหม่ จำนวน 1 สะพาน

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 159 : ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ผลักดัน Hi-Tech และ Hi-Touch 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สพส. // หน่วยงานสนับสนุน สวท.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ร้านค้าและผู้ประกอบการสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากความสร้างสรรค์ได้ - ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการที่น่าสนใจมากขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :หนึ่งในหน้าที่ที่ กทม. ควรดำเนินการคือ การกำหนดยุทธศาสตร์ และ ทิศทางในการพัฒนาเศรษฐกิจให้กับเมือง จากสถานการณ์สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป การที่คนรุ่นใหม่บางส่วนสร้างงานสร้างอาชีพเอง ดังนั้น กทม. จะตั้งเป้าหมายให้ กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของภูมิภาค โดย แบ่งรูปแบบของการนำความคิดสร้างสรรค์เข้ามาต่อยอดในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น 1. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี (Hi-tech) เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ e-sport อุตสาหกรรมการซื้อขายออนไลน์ อุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ 2. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกายภาพ (Hi-touch) เช่น สปา-นวดแผนไทย อาหาร สตรีทฟู้ด ช้อปปิ้งซื้อ-ขายสินค้า (shopping destination) ตลอดจนการแสดง ศิลปวัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น โดย กทม. จะสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในมิติต่าง ๆ เช่น - การสนับสนุนบุคลากร ผ่านการส่งเสริมหลักสูตรร่วมกับ สถาบันอุดมศึกษา โรงเรียนฝึกอาชีพ ศูนย์ฝึกอาชีพ - การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ตั้งแต่กระบวนการคิด ไปจนถึงกระบวนการจัดจำหน่ายตามแนวทางของผลิตภัณฑ์ Made in Bangkok (MIB) - การปรับปรุงกระบวนการขออนุญาตที่เกี่ยวข้องให้มีความง่ายและสะดวกขึ้นตามแนวคิด Function Base License

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนคนที่เข้าร่วมในการพัฒนาศักยภาพการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

    5.เป้าหมาย :ราย : 150

    6.Action Plan :เปิดช่องทางการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบออนไลน์ คือ Youtube Channel Bangkok Brand และ TIK TOK Bangkok Brand

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 160 : จัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัย โดยสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สพส. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- เพิ่มโอกาสการมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและหลากหลายรูปแบบให้กับคนกรุงเทพฯ - มีการติดตามผลของการดำเนินงานพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มั่นคงให้กับคนกรุงเทพฯ ทำให้ประเมินสถานการณ์ด้านที่อยู่อาศัยของคนกรุงเทพฯ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.โดยสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย ควรดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยให้คนกรุงเทพฯ มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงเพิ่มขึ้น ตามพันธกิจในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2545 เพื่อรู้ถึงเป้าหมายในการพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ สำรวจความต้องการที่อยู่อาศัยรูปแบบต่าง ๆ กลุ่มเป้าหมายของความต้องการที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มต้น และก้าวเข้ามาสู่ช่วงของการทำงานเป็นครั้งแรก (first jobber) กลุ่มคนวัยทำงานและแรงงาน โดยประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัย เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) การเคหะแห่งชาติ ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้คนกรุงเทพฯ มีโอกาสเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่มั่นคงเพิ่มมากขึ้น และมีการติดตามผลของการพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ให้มีการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ที่ได้จัดทำไว้

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :แผนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัย

    5.เป้าหมาย :แผน : 1

    6.Action Plan :ปัจจุบันได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัยของกรุงเทพมหานคร ระยะ 10 ปี (พ.ศ.2566-2575) และแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร ระยะ 5 ปี (2566-2570)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 161 : ส่งขยะคืนสู่ระบบ 0 8 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 8 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สสล. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :1. เพิ่มช่องทางและสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจให้เกิดการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง 2. ภาครัฐ เอกชนผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม ตลอดจนภาควิชาการ ร่วมมือกันขับเคลื่อนเรื่องการจัดการขยะ การคัดแยกตั้งแต่ต้นทาง ตลอดจนการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะต้องร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์กรที่ขับเคลื่อนอยู่เดิม ทั้งภาครัฐ เครือข่ายภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ในการสร้างการตระหนักรู้และสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ลดกิจกรรมอีเวนต์และเคมเปญชั่วครั้งคราว สนับสนุนงานเครือข่ายที่มุ่งสู่การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาว ประกอบด้วย 1) จุด Drop-off นัดรับขยะรีไซเคิลและขยะกำพร้า ครอบคลุมทั้ง 50 เขต ร่วมมือกับสถานีบริการน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก ตลาด และ ซูเปอร์มาร์เก็ต 2) ตู้รับคืนผลิตภัณฑ์รีไซเคิล จุดรับซื้อหรือสะสมแต้ม สามารถเปลี่ยนเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าหรือค่าบริการในภาคเอกชนที่ร่วมโครงการ 3) ธนาคารขยะชุมชน สถานศึกษา และตลาดนัดขยะรีไซเคิล ผลักดันโมเดลธนาคารขยะ รวมถึงโครงการความร่วมมือในการดูแลผู้ประกอบการรับซื้อของเก่าหรือซาเล้งในเมือง จัดการอบรม ออกแบบระบบบริหารจัดการอย่างเป็นมืออาชีพ เปิดพื้นที่กิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม และธุรกิจเพื่อสังคม (social enterprise) ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงบริษัทผู้ผลิตที่ทำ EPR (extended producer responsibility) มาช่วยสร้างแรงจูงใจหรือสนับสนุนการขนส่ง เพื่อให้เกิดวงจรการจัดการในระยะยาวอย่างยั่งยืน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :โครงการมือวิเศษแยกเพื่อให้ติดตั้งจุดรับพลาสติก/วัสดุรีไซเคิล จำนวนภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมดำเนินการ - ปริมาณรีไซเคิลที่รวบรวมได้ (กิโลกรัมต่อปี)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 162 : เพิ่มสวัสดิการพนักงานเก็บและขนขยะ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- การจัดเก็บและขนย้ายขยะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จากอุปกรณ์การทำงานที่มีมาตรฐาน ทันสมัย จำนวนเพียงพอ ตลอดจนสวัสดิการค่าตอบแทนแก่คนทำงานที่เหมาะสม

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะดำเนินการพิจารณาและดูแลสวัสดิการพนักงานเก็บ/ขนและลากจูงขยะให้เหมาะสมกับภาระงาน ด้วยวิธีการทบทวนและแก้ไขระเบียบค่าตอบแทน และระเบียบ กทม. ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติงานด้านงานบริการสาธารณะ พ.ศ.2541 ประกอบไปด้วย 1. อุปกรณ์ป้องกัน ตรงการใช้งาน - ชุดปฏิบัติหน้าที่ ผ้าคลุมป้องกัน หน้ากากอนามัย ถุงมือ เข่งขยะที่แข็งแรงทนทาน และรถเข็นเคลื่อนย้ายลากจูงขยะ 2. ค่าตอบแทนและสวัสดิการ - ค่าตอบแทนเงินเดือน สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ตลอดจนประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 163 : ห้องพักชั่วคราวนักเรียนนักศึกษาจบใหม่ (housing incubator) 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สพส. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ลดภาระค่าใช้จ่ายของนักเรียนนักศึกษาจบใหม่ที่ทำงานในกรุงเทพฯ เพื่อให้มีเงินเก็บและตั้งตัวได้

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- ใช้พื้นที่สำนักงาน กทม. ที่กระจายตัว อย่างในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในหลังจากที่ย้ายพนักงานส่วนใหญ่มาทำงานร่วมกันที่ศาลาว่าการ กทม. 2 - ปรับปรุงอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำกรุงเทพฯ ให้มีความหนาแน่นมากขึ้น พร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ส่วนกลางคุณภาพ - จัดทำฐานข้อมูลที่ดิน (land stock) ในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน เช่น อาคารเก่าที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ อาคารร้างรอการพัฒนา ร่วมกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนหรือหน่วยงานภาครัฐทีเกี่ยวข้อง ซึ่ง กทม.สามารถออกมาตรการส่งเสริมด้านภาษี มาตรการส่งเสริมการพัฒนาด้วยการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus) หรือมาตรการส่งเสริมอื่นเพื่อสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนหรือหน่วยงานภาครัฐพัฒนาที่อยู่อาศัยในรูปแบบนี้ - ประชาสัมพันธ์ รวบรวม ยูนิตที่อยู่อาศัยชั่วคราวในทำเลที่ตั้งต่างๆ และช่วยเหลือในการค้นหาและประสานงานการจัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราวให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดย กทม.อาจดำเนินการให้สำนักเขตแต่ละเขตช่วยสนับสนุน หรือ พัฒนาระบบจับคู่ออนไลน์ (matching platform) ระหว่างยูนิตที่อยู่อาศัยชั่วคราว กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายติดต่อและเข้าถึงกันได้สะดวกยิ่งขึ้น จำนวนที่จัดทำขึ้นอยู่กับความต้องการของนักเรียนนักศึกษาจบใหม่ต่อปี - ประชาสัมพันธ์ รวบรวม ยูนิตที่อยู่อาศัยชั่วคราวในทำเลที่ตั้งต่างๆ และช่วยเหลือในการค้นหาและประสานงานการจัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราวให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดย กทม.อาจดำเนินการให้สำนักเขตแต่ละเขตช่วยสนับสนุน หรือ พัฒนาระบบจับคู่ออนไลน์ (matching platform) ระหว่างยูนิตที่อยู่อาศัยชั่วคราว กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายติดต่อและเข้าถึงกันได้สะดวกยิ่งขึ้น จำนวนที่จัดทำขึ้นอยู่กับความต้องการของนักเรียนนักศึกษาจบใหม่ต่อปี

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนห้องพักราคา 1,000-3,000 บาท

    5.เป้าหมาย :เขต : 50

    6.Action Plan :กิจกรรมสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลบ้านพัก/ห้องพัก/อาคาร/อาคารเก่า เพื่อการเช่าอาศัยราคาถูกในกรุงเทพมหานคร ที่มีราคาตั้งแต่ 1,000 - 3,000 บาท

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 164 : กำหนดหน้าที่ และเป้าหมายของคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขตและระดับจังหวัด 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สปภ. // หน่วยงานสนับสนุน -

    2.ประชาชนได้อะไร :- มีการติดตามความคืบหน้า และรายงานความปลอดภัยมิติต่างๆ ของกรุงเทพฯ - มีคณะทำงาน ผู้รับผิดชอบในทุกระดับพื้นที่ และความปลอดภัยในแต่ละด้านอย่างชัดเจน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :จัดระเบียบรูปแบบการทำงานอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านการเตรียมความพร้อม การเผชิญเหตุ การช่วยเหลือเยียวยา รวมถึงการเปลี่ยนผ่านหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา และผู้ปฏิบัติงานเมื่อเกิดเหตุสถานการณ์ไม่คาดฝันให้มึการทำงานที่มีความต่อเนื่องมากที่สุด โดยใช้อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 เพื่อให้ กทม. มีความพร้อมในการบริหารจัดการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างมีประสิทธิภาพ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ระดับความสำเร็จของการกำหนดรูปแบบการดำเนินงานของคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขตและระดับจังหวัดตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550

    5.เป้าหมาย :ระดับ : 5

    6.Action Plan :1. กิจกรรมการจัดตั้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขตและระดับกรุงเทพมหานคร 2. กิจกรรมการจัดการประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อติดตามสถานการณ์ของภัยอย่างต่อเนื่องเหมาะสม

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 165 : จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับเขต 0 4 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 4 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สปภ. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :มั่นใจในความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากมีแผนปฏิบัติการและเจ้าหน้าที่สนับสนุนงานด้านความปลอดภัยที่เจาะจงกับบริบทพื้นที่

    3.กทม.จะทำอย่างไร :สำนักงานเขตต้องจัดการให้มีการศึกษาและวิเคราะห์ 5 ภัยพิบัติความเสี่ยงสูงในระดับย่าน เช่น อัคคีภัย อาคารและโครงสร้างถล่ม ฯลฯ และมีการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่สอดคล้องกับแผนภัยพิบัติ 5 ด้านที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด รวมทั้งกำหนดเจ้าหน้าที่รับผิดชอบหน้าที่สนับสนุนด้านปฏิบัติการ อำนวยการ บริหารจัดการ การเงินและธุรการ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขต

    5.เป้าหมาย :เขต : 50

    6.Action Plan :1. กิจกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประจำปีของสำนักงานเขต

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 166 : ลดจุดเสี่ยง จุดเฝ้าระวังน้ำท่วมทันที 0 4 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 4 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ลดผลกระทบจากน้ำท่วมขังในเส้นทางการสัญจรและการดำเนินชีวิตของประชาชน ระหว่างการก่อสร้างและแก้ไขปัญหาระยะยาว

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ทบทวนศึกษา เตรียมแผนรับมือ และจัดสรรงบประมาณเร่งรัดให้ดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงน้ำท่วม 9 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วมในถนนสายหลักกว่า 48 จุด (ข้อมูลปี 2565)ระยะสั้นลดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ทั้งการขุดลอกท่อระบายน้ำ ขุดลอกคูคลอง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสริมระบบระบายน้ำชั่วคราว ระหว่างปรับปรุง-ก่อสร้างระบบถาวรในระยะยาว

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ลดผลกระทบจากน้ำท่วมขังในเส้นทางการสัญจรและการดำเนินชีวิตของประชาชนระหว่างการก่อสร้างและแก้ไขปัญหาระยะยาว

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 65

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 167 : แก้ปัญหาพื้นที่ต่ำ 50 เขต 1 3 1 0 0

    ยังไม่รายงาน : 1 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 1 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำซากในย่านที่อยู่อาศัยและย่านพาณิชยกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :หลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนพื้นที่ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าระดับน้ำทะเล บ้างก็เป็นพื้นที่แหล่งที่อยู่อาศัยเก่าที่สร้างมานานอยู่ต่ำกว่าระดับถนนสายหลักหรือรองที่ยกขึ้นสูง ทำให้ได้รับผลกระทบในช่วงฤดูมรสุมที่มีปริมาณค่าเฉลี่ยน้ำฝนสูงจากฝนตกหนักและรุนแรงเฉียบพลัน กทม.จะดำเนินการในพื้นที่ชุมชน หมู่บ้าน หรือถนน ตรอกซอกซอย ที่ประสบปัญหาพื้นที่ต่ำ แอ่งกระทะ ด้วยวิธีการยกระดับถนน หรือเพิ่มขนาดท่อระบายน้ำ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำซากในย่านที่อยู่อาศัยและย่านพาณิชยกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 17 จุด 1. หลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนพื้นที่ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าระดับน้ำทะเล บ้างก็เป็นพื้นที่แหล่งที่อยู่อาศัยเก่าที่สร้างมานานอยู่ต่ำกว่าระดับถนนสายหลักหรือรองที่ยกขึ้นสูง ทำให้ได้รับผลกระทบในช่วงฤดูมรสุมที่มีปริมาณค่าเฉลี่ยน้ำฝนสูงจากฝนตกหนักและรุนแรงเฉียบพลัน 2. กทม. จะดำเนินการในพื้นที่ชุมชน หมู่บ้าน หรือถนน ตรอกซอกซอย ที่ประสบปัญหาพื้นที่ต่ำ แอ่งกระทะ ด้วยวิธีการยกระดับถนน หรือเพิ่มขนาดท่อระบายน้ำ

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 168 : ขุดลอกและทำความสะอาดท่อระบายน้ำ 3,000 กม. 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- แก้ปัญหาน้ำท่วมและบำรุงรักษาระบบระบายน้ำในระดับเส้นเลือดฝอย (ตรอกซอกซอย) - เชื่อมโยงและยกระดับประสิทธิภาพโครงข่ายการบริหารจัดการน้ำท่วมให้ทำงานได้ครบวงจร

    3.กทม.จะทำอย่างไร :เชื่อมโยงโครงข่ายการบริหารจัดการน้ำท่วมให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงเส้นเลือดฝอยกับเส้นเลือดใหญ่ หรือโครงการขนาดใหญ่ของเมือง เช่น คลองสายหลัก และอุโมงค์ยักษ์ เป็นต้น

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ขุดลอกทำความสะอาดท่อระบายน้ำในย่านที่อยู่อาศัยและย่านพาณิชยกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มต้่ำ

    5.เป้าหมาย :เมตร : 3000000

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 169 : กวดขันจับ/ปรับ การทิ้งขยะลงแหล่งน้ำอย่างจริงจัง 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนท. // หน่วยงานสนับสนุน สจส., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ทัศนียภาพและแหล่งน้ำที่ดี มลพิษทางน้ำลดลง - มีการกวดขันลงโทษ และจับ/ปรับผู้ที่ก่อมลพิษหรือทิ้งขยะลงแหล่งน้ำอย่างจริงจัง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :บังคับใช้กฎหมายการทิ้งขยะลงแหล่งน้ำและการลักลอบปล่อยน้ำเสียอย่างจริงจัง โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจเชิงรุกในพื้นที่ที่เกิดปัญหาซ้ำซากหรือจุดที่มีประชาชนร้องเรียนผ่านแอพพลิเคชั่น และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการตรวจจับและเฝ้าระวัง เช่น กล้อง CCTV ที่มีการติดตั้งอยู่เดิม

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :39 คลอง

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 39

    6.Action Plan :โครงการตรวจตราคลองสายหลักที่ได้รับการปรับภูมิทัศน์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 170 : ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน (onsite treatment) 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :กรุงเทพฯ มีทัศนียภาพและสภาพแวดล้อมแหล่งน้ำที่ดี ลดการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการผลักดันโครงการติดตั้งระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน (onsite) ขนาดเล็ก ซึงสามารถทำได้ตั้งแต่ชุมชนขนาดเล็ก 10-50 หลังคาเรือน โดยในระยะแรกมุ่งเน้นชุมชนริมคลองเป็นสำคัญ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนพื้นที่ที่ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนแบบ onsite treatment ได้

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 6

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 171 : มุ่งเป้าติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียต้นทาง 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :เข้มงวดการปล่อยน้ำเสียตั้งแต่ต้นทางในพื้นที่แหล่งการค้าประเภทตลาด นำร่องตลาดภายใต้สังกัด กทม.

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ดำเนินการเชิงรุกในการนำร่องปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียในตลาดให้มีความทันสมัยเป็นไปตามค่ามาตรฐาน ด้วยการบำบัด 2 ขั้นตอนรูปแบบ onsite treatment ก่อนปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำและท่อระบายน้ำสาธารณะ ในระยะกลางและระยะยาวจะออกแบบกลไกและความร่วมมือให้เกิดการดำเนินการในพื้นที่ตลาดของเอกชน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของตลาดในสังกัดกรุงเทพมหานครที่ผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 40

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 172 : เพิ่มการขุดลอกคลองรองรับฝนทันฤดู 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- คลองสายหลักและคลองเส้นเลือดฝอย (คลองสายรอง ลำกระโดง ลำราง) ที่กระจายตัวอยู่ทั้ง 50 เขต ได้รับการดูแลรักษาที่ดี - ระบบโครงข่ายการระบายน้ำของเมืองและทั้ง 50 เขต มีสภาพสมบูรณ์ใช้งานได้จริง ไม่มีสิ่งกีดขวาง - มีพื้นที่รับน้ำธรรมชาติปริมาณมากขึ้น จากการดูแลรักษา เปิดทางน้ำไหล และขุดลอกอย่างจริงจัง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม. ต้องให้ความสำคัญและจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการขุดลอกคูคลองหลัก คลองสายย่อย ลำราง ลำกระโดง และกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำไหล ทั้งในส่วนความรับผิดชอบของ สนน. และสำนักงานเขตทั้ง 50 แห่งการเสริมประสิทธิภาพโครงข่ายระบบระบายน้ำใน 10 คลองสายหลัก ด้วยวิธีการ 1) ดูแลรักษา กำจัดวัชพืซผักตบหรือสิ่งกีดขวางเพื่อเปิดทางน้ำไหล และ 2) กดระดับขุดลอกคลองอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้กรุงเทพฯ มีพื้นที่รับน้ำตามธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :1. คลองสายหลักและคลองเส้นเลือดฝอย (คลองสายรอง ลำกระโดง ลำราง) ที่กระจายตัวอยู่ทั้ง 50 เขต ได้รับการดูแลรักษาที่ดี 2. ระบบโครงข่ายการระบายน้ำของเมืองและทั้ง 50 เขต มีสภาพสมบูรณ์ใช้งานได้จริง ไม่มีสิ่งกีดขวาง 3. มีพื้นที่รับน้ำธรรมชาติปริมาณมากขึ้น จากการดูแลรักษา เปิดทางน้ำไหล และขุดลอกอย่างจริงจัง

    5.เป้าหมาย :เมตร : 125000

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 173 : ถอดบทเรียนโควิด-19 ไม่ผิดพลาดซ้ำสอง 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สยป. // หน่วยงานสนับสนุน สนอ., สนพ., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :กทม. มีการรับมือกับวิกฤตสาธารณภัย ภัยพิบัติ ตลอดจนการแพร่ระบาดที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถป้องกันการสูญเสียรุนแรง และปกป้องรักษาชีวิตของประชาชนชาวกรุงเทพฯ ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.ทั้งในส่วนผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง ตลอดจนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการส่วนหน้า ต้องมีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การรับฟังข้อเสนอแนะ ตลอดจนการถอดบทเรียน เพื่อออกแบบ วางแผน จัดทำฐานข้อมูลแบบบูรณาการที่เป็นปัจจุบัน ตลอดจนเตรียมงบประมาณ หรือทรัพยากรที่เหมาะสมเพื่อเตรียมการรับมือรองรับเหตุการณ์วิกฤตหรือสาธารณภัยอื่นๆ ในอนาคต

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ฉบับ : 1

    6.Action Plan :1. โครงการศึกษาวิจัยเพื่อถอดบทเรียนการแก้ไขสถานการณ์โควิด 19 ในกรุงเทพมหานคร 2. โครงการ/กิจกรรมกิจกรรมถอดบทเรียนการดำเนินงาน COVID-19 3. กิจกรรมเก็บข้อมูลสถิติผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 ดุสิต โมเดล (พระนคร บางซื่อ บางพลัด)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 174 : ส่งเสริมกลไกภาคประชาชนสุขภาพดี ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพฯ 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนอ. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :ประชาชนสามารถรวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพ สร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสาธารณสุขและสุขอนามัยในระดับเส้นเลือดฝอย

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ผลักดันและกระจายอำนาจด้านการดูแลรักษาสุขภาพใน ตัวบุคคลและชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ผ่านการเปิดโอกาสให้จัดทำและเสนอโครงการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) และการป้องกันโรค (disease prevention) มากยิ่งขึ้น ด้วยกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพฯ ทั้งระดับเมืองและระดับเขต เปิดพื้นที่ให้ประชาชน ชมรม หรือองค์กร สามารถจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนพื้นที่เขตที่ได้รับการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร

    5.เป้าหมาย :เขต : 50

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 175 : การรักษาและส่งตัวผู้ป่วยไร้รอยต่อ ด้วยการบูรณาการข้อมูล 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :การรักษาพยาบาลคุณภาพดี ด้วยการส่งต่อข้อมูลและส่งตัวผู้ป่วยแบบไร้รอยต่อ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- ผลักดันการบูรณาการฐานข้อมูลผู้ป่วยต้นแบบ โดยนำร่องจากการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลหลักภายใต้สังกัด กทม. และเชื่อมต่อข้อมูลร่วมกับสถานพยาบาลปฐมภูมิประเภทศูนย์บริการสาธารณสุขทั่วกรุงเทพฯ - ส่งเสริมและลงทุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูล ผ่านการกำหนดมาตรฐานชุดข้อมูล (data standard set) เพื่อการบริการข้อมูลผู้ป่วย การรักษาฉุกเฉินเร่งด่วน (Emergency Medical Services: EMS) และการส่งตัวต้องไร้รอยต่อ (e-Refer) - อนาคตจะมีการผลักดันสู่การสร้างระบบข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Record: EHR)

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 11

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 176 : เพิ่มจำนวน Excellent Center และยกระดับศูนย์เวชศาสตร์เขตเมือง 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :คนกรุงเทพฯ ได้รับบริการการรักษาโรคขั้นสูงจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ช่วยป้องกันการสูญเสียรุนแรงในชีวิตและสุขภาพร่างกาย

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ผลักดันการเพิ่มจำนวนศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ให่้ครอบคลุมกลุ่มโรคคนเมืองยุคใหม่ ตลอดจนครอบคลุมพื้นที่บริการให้ครบทั้ง 6 กลุ่มเขตทั่วกรุงเทพฯ ในโรงพยาบาลภายใต้สังกัด นอกจากนี้ต้องมีการบูรณาการทางวิชาการและงานวิจัย ตลอดจนส่งเสริมให้ศูนย์เวชศาสตร์เขตเมือง คณะแพทยศาสตร์วิชรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ที่อยู่ภายใต้สังกัดกรุงเทพฯ เป็นศูนย์วิจัยการรักษาที่มีความเป็นเลิศทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ศูนย์ : 2

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 177 : เพิ่มแก้มลิงธรรมชาติ พื้นที่รับน้ำให้กรุงเทพฯ 0 2 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 2 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนน. // หน่วยงานสนับสนุน สนข., สนค.

    2.ประชาชนได้อะไร :- กทม.มีการจัดการน้ำและระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผ่านการบริหารจัดการงบประมาณ และลงทุนในโครงการที่มีความสมเหตุสมผล - กรุงเทพฯ มีจุดน้ำรอระบาย หรือน้ำท่วมขังในเส้นทางการสัญจรและพื้นที่อยู่อาศัยลดน้อยลง จากสาเหตุข้อจำกัดของโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายการบริหารจัดการน้ำ ทั้งขนาดท่อเล็ก คลองตื้นเขิน หรือพื้นที่ต่ำกว่าระดับคลองสายหลักและระดับน้ำทะเล

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.ต้องเร่งดำเนินการอย่างจริงจังในการจัดหาพื้นที่เอกชนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างบึงและทะเลสาบ เช่น บึงฝรั่งและสวนสาธารณะ กทม. ให้เป็นพื้นที่แก้มลิงธรรมชาติ เพื่อรองรับน้ำฝนส่วนเกิน ช่วยหน่วงน้ำในช่วงฤดูมรสุมหรือฝนตกหนักเฉียบพลัน ตลอดจนทำหน้าที่สนับสนุนระบบระบายน้ำทั้งโครงข่ายให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบการทำงานคือ เป็นจุดพักน้ำและผ่องถ่ายน้ำในแก้มลิงที่เก็บกักออกจากพื้นที่หลังจากฝนหยุดตก ลดเหตุการณ์น้ำท่วมขังหรือรอการระบายหลายชั่วโมงในเส้นทางสัญจรและพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :1. กทม.มีการจัดการน้ำและระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผ่านการบริหารจัดการงบประมาณ และลงทุนในโครงการที่มีความสมเหตุสมผล 2. กรุงเทพฯ มีจุดน้ำรอระบาย หรือน้ำท่วมขังในเส้นทางการสัญจรและพื้นที่อยู่อาศัยลดน้อยลง จากสาเหตุข้อจำกัดของโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายการบริหารจัดการน้ำ ทั้งขนาดท่อเล็ก คลองตื้นเขิน หรือพื้นที่ต่ำกว่าระดับคลองสายหลักและระดับน้ำทะเล

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 37

    6.Action Plan :1. งานก่อสร้างแก้มลิงวงเวียนบางเขน (ได้รับงบประมาณ ปี 65 เพิ่มเติม = 35,000,000.- บาท) 2. โครงการก่อสร้างแก้มลิงสวนน้ำเสรีไทยช่วงคลองระหัสถึงคลองครุ (ครั้งที่ 2) (อยู่ในร่างข้อบัญญัติ 66 = 45,300,000.-)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 178 : ปรับปรุงซ่อมแซมแก้ฟันหลอคันกั้นน้ำริมแม่น้ำ และคลองสายหลัก 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ลดปัญหาจุดน้ำท่วมขัง จากสาเหตุระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหนุนสูงและเอ่อล้นคันกั้นน้ำในจุดเขื่อนฟันหลอทั่วกรุงเทพฯ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข และก่อสร้างอุดเขื่อนฟันหลอ เพื่อเสริมระบบป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา (เขื่อนป้องกันน้ำท่วม) และแนวป้องกันน้ำท่วมริมคลอง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ลดปัญหาจุดน้ำท่วมขัง จากสาเหตุระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหนุนสูงและเอ่อล้นคันกั้นน้ำในจุดเขื่อนฟันหลอทั่วกรุงเทพฯ

    5.เป้าหมาย :เมตร : 3013

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 179 : ทบทวนแผนการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนน. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.บางขุนเทียน, สสล.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ลดผลกระทบด้านน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งอย่างเป็นระบบและยั่งยืนในระยะยาว

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะต้องมีการทบทวนแผนการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งให้ครอบคลุมในประเด็นเชิงสิ่งปลูกสร้าง (แนวกันคลื่น แนวปักไม้ไผ่) และในประเด็นการฟื้นฟูนิเวศวิทยา (การฟื้นฟูป่าชายเลนชายฝั่ง) รวมถึงจัดทำแผนและจัดสรรงบประมาณ เพื่อการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ลดผลกระทบด้านน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งอย่างเป็นระบบและยั่งยืนในระยะยาว ในปี 2565 จะใช้มาตรการชั่วคราวในการป้องกันแนวกันคลื่นโดยการปักไม้ไผ่ และการฟื้นฟูป่าชายเลนป้องกันการกัดเซาะ และในปี 2566 ได้ของบประมาณดำเนินการโครงการป้องกันและแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่ง

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1. โครงการป้องกันและแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และศูนยสำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่ง 2. โครงการจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการป้องกันและแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และศูนยสำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่ง

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 180 : BBKK Trail เส้นทางวิ่งดี ออกกำลังกายดี = เดินได้ดี 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนย. // หน่วยงานสนับสนุน สจส., สนข., สวท.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ได้เส้นทางวิ่งและออกกำลังกายที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมาะสม (ทางเดินเรียบ มีจุดนั่งพัก มีห้องน้ำ) กระจายตามพื้นที่ต่าง ๆ รอบกรุง - ได้ทางเท้าที่เดินได้อย่างมีคุณภาพครอบคลุมยิ่งขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะพัฒนา Better Bangkok Trail (BBKK Trail) เพื่อสร้างเส้นทางวิ่ง เส้นทางออกกำลังกาย และเส้นทางท่องเที่ยวที่ใหม่ ๆ ในพื้นที่โดยมีโครงสร้าง เช่น 1. ทางเท้าที่สามารถเดินและวิ่งได้สะดวกปราศจากสิ่งกีดขวาง 2. รายละเอียดสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเส้นทาง เช่น สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ พื้นที่สาธารณะ ศาสนสถาน 3. สิ่งอำนวยความสะดวกระหว่างทางตามสถานที่สำคัญ เช่น ห้องน้ำสาธารณะ จุดดื่มน้ำสาธารณะ พื้นที่ค้าขาย โดยทีมเพื่อนชัชชาติได้ทดลองสำรวจและพัฒนาเส้นทางร่วมกันกับเครือข่ายนักวิ่ง city run เพื่อหาเส้นทางนำร่องในการนำมาพัฒนาเบื้องต้น โดยเบื้องต้นมีการรวบรวมเส้นทางที่เป็นไปได้ 24 เส้นทาง ระยะทางรวมกันประมาณ 500 กิโลเมตร หนึ่งในตัวอย่างเส้นทางที่ทีมเพื่อนชัชชาติได้ทดลองพัฒนาและเก็บข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องการแล้วคือเส้นทางการวิ่ง 9 วัด 9 กิโลเมตร (จากกิจกรรมที่จัดเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 65) โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับทางเท้าที่ต้องพัฒนา และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการพัฒนาโครงสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการวิ่งได้

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนเส้นทางวิ่งที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นทางวิ่งที่ดี (สนย.กำหนดเป้าหมายที่จะดำเนินการแต่ละปี เพื่อการรายงานและติดตามผล) ปี 65 จำนวน 2 เส้นทาง ปี 66. จำนวน.........เส้นทาง ปี 67 จำนวน .......เส้นทาง ปี 68 จำนวน........เส้นทาง ปี 69 จำนวน.......เส้นทาง ร้อยละของเส้นทาง Better Bangkok Trail (BBKK Trail) ที่เป็นโครงข่ายได้มาตรฐาน หรือ เชื่อมโครงข่ายเส้นทางฯ 50 เขต (ระดับนโยบาย) บริหารจัดการภาพรวม ดำเนินการออกแบบและก่อสร้าง Better Bangkok Trail (BBKK Trail) เพื่อสร้างเส้นทางวิ่ง เส้นทางออกกำลังกาย และเส้นทางท่องเที่ยวที่ใหม่ ๆ ในพื้นที่โดยมีโครงสร้าง เช่น 1. ทางเท้าที่สามารถเดินและวิ่งได้สะดวกปราศจากสิ่งกีดขวาง 2. รายละเอียดสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเส้นทาง เช่น สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ พื้นที่สาธารณะ ศาสนสถาน 3. สิ่งอำนวยความสะดวกระหว่างทางตามสถานที่สำคัญ เช่น ห้องน้ำสาธารณะ จุดดื่มน้ำสาธารณะ พื้นที่ค้าขาย

    5.เป้าหมาย :เส้นทาง : 2

    6.Action Plan :ประสานงานและสำรวจ ได้พื้นที่เป้าหมาย จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1พระนคร ป้อมปราบฯ และ สัมพันธวงศ์ กลุ่มที่ 2 ปทุมวัน บางรัก สาทร ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะ แล้วเสร็จ ทั้ง 2 กลุ่ม ภายในเดือนกันยายน 2565 รวมระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 181 : พัฒนาโอกาสและศักยภาพในตลาด กทม. 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สำนักงานตลาด // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :ได้พื้นที่สำหรับค้าขายเพิ่มเติมในราคาที่สามารถเข้าถึงได้และเปิดกว้างสำหรับทุกคน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :พัฒนาโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการเดิมและผู้ประกอบการใหม่ ๆ เช่น เพิ่มผู้ค้าโดยการใช้พื้นที่ตลาดให้เต็มศักยภาพ เพิ่มลูกค้าและบริการ ลดค่าใช้จ่าย : ลดค่าเช่าแผงค้าภายในตลาด

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของการเช่าแผงค้ามากขึ้น โดยคิดจากแผงค้าว่าง จำนวน 1,332 แผง สำนักงานตลาดมีมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้เช่าแผงค้าในตลาดสังกัดสำนักงานตลาด กทม. โดยมีการปรับลดค่าเช่าแผง 50% ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม -กันยายน 2565

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 10

    6.Action Plan :สำนักงานตลาดมีมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้เช่าแผงค้าในตลาดสังกัดสำนักงานตลาด กทม. โดยมีการปรับลดค่าเช่าแผง 50% ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม -กันยายน 2565

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 182 : ใบอนุญาตตามประเภทกิจกรรม Function-based License 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สยป. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    2.ประชาชนได้อะไร :การติดต่อขออนุญาตจากภาครัฐที่สะดวกมากยิ่งขึ้น เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ขั้นตอนน้อยลง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :เพื่อสร้างความสะดวกให้กับการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชน กทม. จะศึกษาการพัฒนารูปแบบการขออนุญาตตามประเภทของกิจกรรมของประชาชน เช่น การจัดกิจกรรมกลางแจ้ง (กิจกรรมที่ใช้เสียงและต้องรวมตัวกันของประชาชน) โดยการขออนุญาตในรูปแบบนี้จะมีลักษณะเบื้องต้นดังนี้ 1. กทม.จะให้ประชาชนดำเนินการประสานงานกับ กทม.เพียงครั้งเดียว จากนั้น กทม.จะประสานงานขอใบอนุญาตต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ 2. กทม.จะช่วยประสานงานกับภาครัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การประสานงานกับตำรวจนครบาลเกี่ยวกับใบอนุญาตให้ทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง การประสานงานกับกรมสรรพสามิตในการส่งต่อข้อมูลการขออนุญาต 3. กทม. จะช่วยให้คำแนะนำและข้อมูลการติดต่อกับสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ เช่น ลานจอดรถเอกชนในพื้นที่ใกล้เคียง

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :มีกระบวนงานที่ติดต่อขอใบอนุญาตออนไลน์

    5.เป้าหมาย :กระบวนงาน : 109

    6.Action Plan :1. โครงการพัฒนาระบบศูนย์รับคำขออนุญาตของกรุงเทพมหานคร (BMA OSS)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 183 : เปิดข้อมูลการเดินทางในกรุงเทพฯ ให้เป็นสาธารณะ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- เดินทางในกรุงเทพฯ ด้วยขนส่งสาธารณะได้สะดวกยิ่งขึ้นจากข้อมูลที่ชัดเจน เป็นปัจจุบัน ไม่สับสน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ปัจจุบันประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลขนส่งสาธารณะที่เข้าใจง่ายและเป็นระบบได้ เนื่องจากไม่มีการรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ในที่เดียว ข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะไม่เป็นปัจจุบัน และยังไม่มีการบันทึกข้อมูลการเดินทางบางประเภท เป็นต้น ปัญหาข้างต้นมาจากหลายสาเหตุ เช่น - หน่วยงานที่กำกับขนส่งสาธารณะมีหลายหน่วยงาน - กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้รถโดยสารสาธารณะทุกประเภทที่จดทะเบียนใหม่หลังปี พ.ศ. 2559 ต้องติด GPS แต่ไม่บังคับใช้กับรถเก่า และไม่บังคับใช้กับรถโดยสารสองแถว อีกทั้งยังไม่ได้มีข้อกำหนดเรื่องการแสดงผลข้อมูล - ขสมก. ที่กำกับดูแลรถโดยสารประจำทางเปิดเผยข้อมูล GPS ให้กับเอกชนที่ทำแอพพลิเคชั่นเพียงรายเดียวเท่านั้น - กทม. โดยฝ่ายข้อมูลและแผนงาน กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ได้จัดทำ ‘ระบบให้บริการแผนที่ร่วม (GIS Common Data)’ ที่แสดงข้อมูลประเด็น จราจรและขนส่งในหลากหลายหมวดหมู่บนเว็บไซต์ แต่ขาดข้อมูลด้านรถโดยสารประจำทาง นอกจากนี้ยังพบว่าข้อมูลบางส่วนไม่เป็นปัจจุบัน เช่น ยังคงมีข้อมูลรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบิน (ARL) สาย Express ที่ยกเลิกให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2561 ดังนั้น กทม.จะเป็นเจ้าภาพประสานความร่วมมือขอข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางจากกระทรวงคมนาคมและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากไม่สามารถดำเนินการได้ กทม.จะร่วมมือกับเอกชนในการพัฒนาระบบเก็บข้อมูลการเดินทาง อาทิ เก็บข้อมูลขนส่งสาธารณะจากกล้อง CCTV และเปิดเผยต่อสาธารณะ ในรูปแบบของ API เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลการเดินทางได้ โดยในเบื้องต้นมีแผนประสานความร่วมมือเชื่อมต่อกับ Google Map โดยครอบคลุมในเขตกรุงเทพฯ และพื้นที่ต่อเนื่อง ทั้งระบบรถ จักรยานยนต์ จักรยาน ราง เรือ ทางข้าม และพร้อมรองรับเพิ่มเติมสำหรับระบบการเดินทางใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ชุดข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บและเปิดเผยต่อสาธารณะ มีดังนี้ ข้อมูลรถ 1. ข้อมูลตำแหน่งรถฯ แบบเรียลไทม์ 2. ข้อมูลเส้นทางของรถฯ ทุกสาย 3. ข้อมูลรถทุกสายที่ผ่านที่หยุดรถฯ 4. ข้อมูลราคาค่าโดยสาร 5. ข้อมูลการเชื่อมต่อกับระบบอื่น 6. ข้อมูลการสิ้นสุดการให้บริการ 7. ระยะเวลาในการเดินทาง 8. ข้อมูลตำแหน่งท่ารถฯ ที่หยุดรถฯ ฯลฯ ข้อมูลวินมอเตอร์ไซค์ 1. ข้อมูลตำแหน่งวินมอเตอร์ไซค์ ข้อมูลจักรยาน 1. ข้อมูลเส้นทางจักรยาน 2. ข้อมูลจุดจอดจักรยาน ข้อมูลระบบรางและระบบเรือ 1. ข้อมูลตำแหน่งสถานี ระบุทุกทางเข้าออกและสิ่งอำนวยความสะดวกของทุกทางเข้าออก 2. ข้อมูลตำแหน่งแบบเรียลไทม์ 3. ข้อมูลเส้นทางให้บริการ 4. ข้อมูลค่าโดยสาร 5. ระยะเวลาในการเดินทาง 6. ข้อมูลการสิ้นสุดการให้บริการ ข้อมูลทางข้าม 1. ข้อมูลทางข้ามระดับดิน 2. ข้อมูลทางข้ามลอยฟ้า

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของข้อมูลที่มีการเผยแพร่ผ่านระบบ City Data Platform เพื่อให้บริการการเดินทาง ชุดข้อมูล(นำร่อง) 2 ชุดข้อมูล ชุดข้อมูลการเดินเรือ ชุดข้อมูล Shuttle Bus ประสานความร่วมมือขอข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางจากกระทรวงคมนาคมและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากไม่สามารถดำเนินการได้ กทม.จะร่วมมือกับเอกชนในการพัฒนาระบบเก็บข้อมูลการเดินทาง อาทิ เก็บข้อมูลขนส่งสาธารณะจากกล้อง CCTV และเปิดเผยต่อสาธารณะ ในรูปแบบของ API เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลการเดินทางได้ โดยในเบื้องต้นมีแผนประสานความร่วมมือเชื่อมต่อกับ Google Map โดยครอบคลุมในเขตกรุงเทพฯ และพื้นที่ต่อเนื่อง ทั้งระบบรถ จักรยานยนต์ จักรยาน ราง เรือ ทางข้าม และพร้อมรองรับเพิ่มเติมสำหรับระบบการเดินทางใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ชุดข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บและเปิดเผยต่อสาธารณะ

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 184 : น้ำดื่มสะอาด ปลอดภัย ฟรี ทั่วกรุง 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนย. // หน่วยงานสนับสนุน สสล., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :-ได้เข้าถึงน้ำดื่มสะอาด ปลอดภัย ที่มีคุณภาพฟรี - ลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะทบทวนการรื้อถอนตู้กดน้ำทั้งหมดประมาณ 387 จุดที่กทม. การประปานครหลวง (กปน.) และบริษัทเอกชน ร่วมกันติดตั้งในปี 2547 ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพตู้กดน้ำและน้ำดื่ม ให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ 1. วิธีการจ่ายน้ำ อาจจะปรับให้เป็นลักษณะการเติมน้ำลงขวดแทน 2. กำหนดรอบการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ 3. ปรับตำแหน่งที่ไม่ขีดขวางทางเท้า อาจจะตั้งให้ขนานกับทางเท้าชิดแนวขอบทางเท้าด้านใดด้านหนี่งแทน 4. พิจารณาเสริมในบริเวณจุดจอดจักรยาน และชุมชนต่าง ๆ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนจุดที่ติดตั้งน้ำดื่ม (อยู่ระหว่างหารือกับรผว.)

    5.เป้าหมาย :จุด (สำรวจจุดที่เหมาะสมต่อการติดตั้ง) : 2

    6.Action Plan :สำนักการโยธากำลังเข้าหารือกับ รผว.วิษณุฯ ถึงแนวทางการดำเนินการ

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 185 : สร้างลิฟต์รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 2 ฝั่งถนนครบทุกสถานี 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สจส. // หน่วยงานสนับสนุน สนย.

    2.ประชาชนได้อะไร :- ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงรถไฟฟ้าได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินบางแห่งไม่ได้ติดตั้งลิฟต์ทั้ง 2 ฝั่งทำให้ผู้โดยสารที่ไม่สะดวกต่อการใช้งานบันไดไม่สามารถใช้งานได้ และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก็ยังไม่มีแผนที่จะก่อสร้างลิฟต์ให้ครบทั้ง 2 ฝั่งด้วย สถานีที่ได้รับผลกระทบมีจำนวน 6 สถานี ได้แก่ ท่าพระ (ทางออก 2 [1]) ลาดพร้าว (ทางออก 1, 2 [2]) รัชดาภิเษก (ทางออก 1, 2 [3]) สุทธิสาร (ทางออก 2, 3 [4]) หัวยขวาง (ทางออก 3, 4 [5]) และศูนย์วัฒนธรรมฯ (ทางออก 3, 4 [6]) ดังนั้น กทม. จะดำเนินการประสานความร่วมมือกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เพื่อให้ดำเนินการสร้างลิฟต์ใน 6 สถานีที่ไม่มีทั้ง 2 ฝั่งให้แล้วเสร็จ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของสถานีที่มีการประสานความร่วมมือสำเร็จในการเริ่มก่อสร้างลิฟต์ฯ (โดย MRT) สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินบางแห่งไม่ได้ติดตั้งลิฟต์ทั้ง 2 ฝั่งทำให้ผู้โดยสารที่ไม่สะดวกต่อการใช้งานบันไดไม่สามารถใช้งานได้ และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก็ยังไม่มีแผนที่จะก่อสร้างลิฟต์ให้ครบทั้ง 2 ฝั่งด้วย สถานีที่ได้รับผลกระทบมีจำนวน 6 สถานี ได้แก่ ท่าพระ (ทางออก 2 [1]) ลาดพร้าว (ทางออก 1, 2 [2]) รัชดาภิเษก (ทางออก 1, 2 [3]) สุทธิสาร (ทางออก 2, 3 [4]) หัวยขวาง (ทางออก 3, 4 [5]) และศูนย์วัฒนธรรมฯ (ทางออก 3, 4 [6]) กทม. จะประสานความร่วมมือกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เพื่อให้ดำเนินการสร้างลิฟต์ใน 6 สถานีที่ไม่มีทั้ง 2 ฝั่งให้แล้วเสร็จ

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 186 : กำกับดูแลและเร่งคืนผิวจราจรการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด เพื่อการจราจรที่คล่องตัว 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนย. // หน่วยงานสนับสนุน สจส., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- การจราจรในจุดก่อสร้างรถไฟฟ้าคล่องตัว - ประชาชนทราบแผนการปิดการจราจรอย่างชัดเจนและสามารถตัดสินใจและบริหารการเดินทางได้ - ทางเท้าและทางข้ามบริเวณพื้นที่ก่อสร้างสามารถสัญจรได้อย่างปกติ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะบริหารจัดการพื้นก่อสร้างเพื่อให้การจราจรคล่องตัวที่สุด โดย 1. ทำงานร่วมกับกองบัญชาการตำรวจจราจร รฟม. และผู้รับเหมาอย่างใกล้ชิด 2. เข้มงวดเอาจริงเอาจังในการจัดการจราจร จัดรูปแบบปิดเส้นทางการจราจรใหม่ให้การจราจรมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น 3. เปิดสัญญาก่อสร้างและหนังสือขออนุญาตดำเนินการด้านสาธารณูปโภคในเขตทางสาธารณะของรถไฟฟ้าทุกสายที่ดำเนินการอยู่ และกำกับดูแลให้เป็นไปตามสัญญา ทั้งการจัดการจราจร จัดการความปลอดภัย การป้องกันการก่อมลพิษ มาตรฐานการคืนผิวจราจรและพื้นที่สาธารณะ ฯลฯ เพื่อให้การก่อสร้างส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด 4. เปิดแผนการปิดเบี่ยงจราจร และแจ้งให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้า โดยจัดแจ้งในหลากหลายรูปแบบและหลายหลากช่องทาง เพื่อการรับรู้เป็นวงกว้าง เข้าถึงทุกกลุ่มคน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลมากพอในการตัดสินใจเดินทาง รวมทั้งจัดการจราจรบริเวณที่ก่อสร้างให้มีกระแสจราจรคล่องตัวที่สุด 5. อำนวยความสะดวก จัดการพื้นที่ก่อสร้าง และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ประชาชนด้วยเทศกิจจราจร 6. เร่งคืนพื้นที่ถนนให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน 7. เร่งคืนทางเท้าให้ประชาชนเดิน และดูแลทางเท้า ทางข้าม และให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่กระทบต่อการสัญจรของประชาชน 8. เข้มงวดกับสภาพผิวทางที่รับคืนจากผู้รับเหมา จะต้องดีดังเดิม

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :-ร้อยละของจุด/เส้นทางที่ได้รับการคืนผิวจราจรตามมาตรฐาน* บริหารจัดการพื้นก่อสร้างเพื่อให้การจราจรคล่องตัวที่สุด โดย 1. ทำงานร่วมกับกองบัญชาการตำรวจจราจร รฟม. และผู้รับเหมาอย่างใกล้ชิด 2. เข้มงวดเอาจริงเอาจังในการจัดการจราจร จัดรูปแบบปิดเส้นทางการจราจรใหม่ให้การจราจรมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น 3. เปิดสัญญาก่อสร้างและหนังสือขออนุญาตดำเนินการด้านสาธารณูปโภคในเขตทางสาธารณะของโครงการที่ดำเนินการอยู่ และกำกับดูแลให้เป็นไปตามสัญญา ทั้งการจัดการจราจร จัดการความปลอดภัย การป้องกันการก่อมลพิษ มาตรฐานการคืนผิวจราจรและพื้นที่สาธารณะ ฯลฯ เพื่อให้การก่อสร้างส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด 4. เปิดแผนการปิดเบี่ยงจราจร และแจ้งให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้า โดยจัดแจ้งในหลากหลายรูปแบบและหลายหลากช่องทาง เพื่อการรับรู้เป็นวงกว้าง เข้าถึงทุกกลุ่มคน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลมากพอในการตัดสินใจเดินทาง รวมทั้งจัดการจราจรบริเวณที่ก่อสร้างให้มีกระแสจราจรคล่องตัวที่สุด 5. อำนวยความสะดวก จัดการพื้นที่ก่อสร้าง และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ประชาชนด้วยเทศกิจจราจร 6. เร่งคืนพื้นที่ถนนให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน 7. เร่งคืนทางเท้าให้ประชาชนเดิน และดูแลทางเท้า ทางข้าม และให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่กระทบต่อการสัญจรของประชาชน 8. เข้มงวดกับสภาพผิวทางที่รับคืนจากผู้รับเหมา จะต้องดีดังเดิม

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 187 : ปรับเงื่อนไขทุนเอราวัณ เพิ่มโอกาสสร้างครู กทม. 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนศ. // หน่วยงานสนับสนุน -

    2.ประชาชนได้อะไร :- โรงเรียนในสังกัด กทม.มีบุคลากรเพียงพอ - นักเรียนในสังกัด กทม.ได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น เนื่องจากครูผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขาวิชาที่สอน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :- สำรวจและทบทวนวิชาที่โรงเรียนในสังกัด กทม.ขาดบุคลากร และกำหนดสาขาการศึกษาที่ขาดเปิดรับทุนให้สอดคล้องกับสาขาวิชานั้น ๆ - หากมีผู้รับทุนไม่ครบเป้าหมาย 100 ทุนในแต่ละปี จะขยายกลุ่มเป้าหมายในการรับทุน โดยอาจเปิดโอกาสให้นักเรียนไม่จำกัดสังกัดสมัครขอรับทุนได้ หรือพิจารณาให้ทุนที่เหลือกับนักศึกษาที่กำลังศึกษาในสาขาวิชาที่ขาดแคลน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :มีผู้รับทุนการศึกษา ระดับปริญญาตรีทางการศึกษา เพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูกทม. เต็มจำนวน (ปีละ 100 ทุน)

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :1. โครงการทุนเอราวัณ

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 188 : ส่งเสริมการออมและเข้าถึงแหล่งเงินทุนตั้งแต่ระดับครอบครัวถึงระดับชุมชน 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สพส. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- คนกรุงเทพฯ มีความรู้ความเข้าใจถึงเรื่องการออมและการเงินในทุกระดับ - เพิ่มความเป็นอิสระทางการเงินให้กับคนกรุงเทพฯ - ชุมชนต่าง ๆ สามารถรวมรวมเงินทุนเพื่อพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ในชุมชนได้ เช่น ที่อยู่อาศัย

    3.กทม.จะทำอย่างไร :จากผลกระทบของเศรษฐกิจโดยภาพรวมและการระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายครอบครัวในระดับชุมชนขาดรายได้และเผชิญปัญหาทางการเงินในหลายมิติ ซึ่งนำไปสู่การขาดอิสระทางการเงินและโอกาสในการพัฒนาระดับชุมชน การออมและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนตั้งแต่ระดับครอบครัวถึงระดับชุมชนเป็นสิ่งสำคัญในการยกระดับชีวิตของคนกรุงเทพฯ เนื่องจากการเข้าถึงเงินทุนจะช่วยเพิ่มอิสระทางการเงินและนำเงินทุนไปพัฒนาชุมชนต่อได้ นอกจากนี้กลไกของบ้านมั่นคงยังต้องพึ่งพิงความรู้ทางการเงินด้วย ดังนั้น กทม.จะส่งเสริมให้ความรู้ด้านการออมและเข้าถึงแหล่งเงินทุนตั้งแต่ระดับครอบครัวถึงระดับชุมชน - อบรมเรื่องการออมและความรู้ทางการเงินเบื้องต้น - รวบรวมช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่าง ๆ ให้กับชุมชน - สร้างเครือข่ายชุมชน เชื่อมโยงชุมชนที่ประสบความสำเร็จด้านการออมกับชุมชนอื่น ๆ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของผู้ได้รับความรู้เรื่องการออมและการเข้าถึวแหล่งเงินทุน

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 80

    6.Action Plan :ประชุมหารือร่วมกับนักพัฒนาสังคม (นักบริหารเงินออม) เพื่อสอบถามปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว และแก้ไขปัญหาหนี้สิน ร่วมกันแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ของประชาชน ณ ห้องประชุมชั้น 6 โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ดินแดง 1)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 189 : พิจารณาเพิ่มศูนย์สร้างสุขทุกวัย เพิ่มกิจกรรมให้คนกรุงเทพฯ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สวท. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :- มีพื้นที่สาธารณะทำกิจกรรมนอกบ้านเพิ่มเติม - มีพื้นที่สาธารณะครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพฯ มากขึ้นครบทุกกลุ่มเขต - มีพื้นที่พบปะ แลกเปลี่ยน ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน และผู้คนใหม่ๆ ในย่าน

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กรุงเทพมหานครมีสวนสาธารณะหลัก 39 สวน แต่มีเพียงบางแห่งเท่านั้นที่มีศูนย์สร้างสุขทุกวัยและหรือศูนย์กีฬาอยู่แล้ว ดังนั้น กทม.จะพิจารณาขนาด พื้นที่และความเหมาะสมของสวนที่ยังไม่มีศูนย์สร้างสุขทุกวัย แล้วจึงค่อยดำเนินการเพิ่มศูนย์สร้างสุขทุกวัยในสวนสาธารณะหลักที่เหมาะสม ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงการสร้างอาคารสถานที่เพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการสร้างสภาพแวดล้อม และออกแบบกิจกรรมที่ทุกคนสามารถมาทำร่วมกันได้นอกบ้าน โดยลักษณะกิจกรรม การใช้พื้นที่ หรือการสร้างอาคารให้เป็นไปตามความเหมาะสมของแต่ละสวนสาธารณะและต้องตอบสนองพฤติกรรมประชาชนในย่าน โดยสามารถรองรับการเข้ามาใช้งานของผู้คนหลากหลายประเภท ส่งเสริมให้เกิดการพูดคุย แลกเปลี่ยน ระหว่างกัน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :เป้าประสงค์ คนกรุงเทพฯ - มีพื้นที่สาธารณะทำกิจกรรมนอกบ้านเพิ่มเติม - มีพื้นที่สาธารณะครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพฯ มากขึ้นครบทุกกลุ่มเขต - มีพื้นที่พบปะ แลกเปลี่ยน ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน และผู้คนใหม่ๆ ในย่าน โดย พิจารณาขนาด พื้นที่และความเหมาะสมของสวนที่ยังไม่มีศูนย์สร้างสุขทุกวัย แล้วจึงค่อยดำเนินการเพิ่มศูนย์สร้างสุขทุกวัยในสวนสาธารณะหลักที่เหมาะสม ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงการสร้างอาคารสถานที่เพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการสร้างสภาพแวดล้อม และออกแบบกิจกรรมที่ทุกคนสามารถมาทำร่วมกันได้นอกบ้าน โดยลักษณะกิจกรรม การใช้พื้นที่ หรือการสร้างอาคารให้เป็นไปตามความเหมาะสมของแต่ละสวนสาธารณะและต้องตอบสนองพฤติกรรมประชาชนในย่าน โดยสามารถรองรับการเข้ามาใช้งานของผู้คนหลากหลายประเภท ส่งเสริมให้เกิดการพูดคุย แลกเปลี่ยน ระหว่างกัน ตัวชี้วัด จำนวนสวนสาธารณะหลักที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้มีพื้นที่เป็นศูนย์สร้างสุขทุกวัยเพิ่มขึ้น เป้าหมาย ครอบคลุม 50 เขต

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 7

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 190 : เซนเซอร์สูบน้ำ ไม่ต้องรอขอกุญแจ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- การบริหารจัดการน้ำในระดับเส้นเลือดฝอยหรือรายพื้นที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เชื่อมต่อกับโครงการขนาดใหญ่ที่เปิดใช้แล้วหรืออยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง - ประชาชนได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขัง น้ำรอระบายในช่วงฤดูฝนลดน้อยลงในกิจวัตรประจำวัน (อยู่อาศัย การเดินทาง)

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะเริ่มติดตั้งระบบควบคุม SCADA เพื่อส่งคำสั่งเปิด-ปิดเครื่องสูบน้ำผ่านการบูรณาการข้อมูลและประเมินจากเซนเซอร์ระดับน้ำที่ติดตั้งอยู่เดิม เพื่อลดการพึ่งพาการสั่งการจากคน โดยจะทยอยเปลี่ยนและริเริ่มในสถานีสูบน้ำทั้ง 191 สถานี และบ่อสูบน้ำทั้ง 306 แห่งก่อน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :1. การบริหารจัดการน้ำในระดับเส้นเลือดฝอยหรือรายพื้นที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เชื่อมต่อกับโครงการขนาดใหญ่ที่เปิดใช้แล้วหรืออยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 2. ประชาชนได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขัง น้ำรอระบายในช่วงฤดูฝนลดน้อยลงในกิจวัตรประจำวัน (อยู่อาศัย การเดินทาง)

    5.เป้าหมาย :แห่ง : 13

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 191 : ทบทวนแผนก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียรวม และ เชื่อมต่อท่อรวบรวมน้ำเสียที่มีอยู่เดิม 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :กทม.สามารถลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและมลพิษทางน้ำจากการปล่อยน้ำเสีย โดยมีการบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ต้องมีการทบทวนศึกษาถึงตำแหน่งที่ตั้ง และความเหมาะสมของโครงการ ขนาดความจุหรือประสิทธิภาพการบำบัด เพื่อให้สามารถรองรับการพัฒนาของเมือง ที่อยู่อาศัย ตลอดจนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ กทม.ในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสุขภาวะของเมืองและประชาชน นอกจากนี้ต้องมีการเชื่อมต่อการรับน้ำเสียจากครัวเรือนและสถานประกอบการเข้าสู่ระบบให้สมบูรณ์

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ร้อยละของปริมาณน้ำเสียที่บำบัดจริงเทียบกับปริมาณน้ำเสียที่ออกแบบ

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 75

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 192 : ทบทวนแผนการก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์ ความคุ้มค่าการลงทุน และประสิทธิภาพการแก้ปัญหาน้ำท่วม 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- การใช้งบประมาณจากภาษีประชาชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจน กทม.มุ่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังและน้ำรอการระบายอย่างยั่งยืนและเป็นระบบ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม. และสำนักการระบายน้ำ ต้องมีการประเมินประสิทธิภาพตลอดจนความคุ้มค่าของโครงการอุโมงค์ระบายน้ำที่ดำเนินการอยู่เดิม และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ตลอดจนทบทวนการออกแบบและผลักดันโครงการในอนาคตถึงความเหมาะสมและความสามารถที่จะรับมือเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ของกทม.

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 193 : แจ้งเตือนฝนตกล่วงหน้าแม่นยำ 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ลดผลกระทบจากเหตุการณ์ฝนตกหนัก น้ำท่วมขังเป็นอุปสรรคการเดินทาง ส่งผลกระทบต่อการเดินทางและกิจวัตรของประชาชน ให้ประชาชนสามารถวางแผนเตรียมการและหลีกเลี่ยงได้

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะพัฒนาช่องทางแจ้งเตือนฝนให้กับประชาชนนอกจากนี้จะทำงานร่วมกับเครือข่ายช่องทางการสื่อสาร อาทิ สถานีข่าวโทรทัศน์ ผ่านช่องทางการสื่อสาร อาทิ การแจ้งเตือนผ่านแอพพลิเคชั่นด้วย เช่น APP BKK CONNECT ที่มีอยู่เดิมของกทม. สถานีวิทยุ หรือแม้กระทั้งช่องวิทยุของกรุงเทพมหานครเอง ที่สำนักประชาสัมพันธ์ดูแล (ต้องดำเนินการเปลี่ยนช่องสัญญาณจากระบบ AM เป็น FM) การแสดงผลผ่านป้ายจราจรอัจฉริยะ โดยข้อมูลที่ส่งออกให้ประชาชนรับรู้จะเป็นข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่บริหารจัดการจากศูนย์สั่งการ ที่มีผู้ว่าฯกทม. ผู้บริหารและผู้อำนวยการสำนักระบายน้ำ เป็นผู้บริหารจัดการพร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบตลอด 24 ชม.

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนผู้ติดตามระบบติดตามประเมินสถานการณ์

    5.เป้าหมาย :ระบบ : 1

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 194 : ห้องน้ำสาธารณะที่ดีในพื้นที่สาธารณะ 0 3 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 3 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- ห้องน้ำสาธารณะที่มีคุณภาพ ครอบคลุมการใช้งาน เข้าถึงง่าย

    3.กทม.จะทำอย่างไร :1. เพิ่มปริมาณห้องน้ำให้ครอบคลุม 1.1 ทบทวนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมอาคาร เกี่ยวกับการปริมาณห้องอาบน้ำขั้นต่ำโดยเฉพาะสำหรับสถานกีฬาและสวนสาธารณะ นอกจากนี้ กทม. จะทบทวนและเพิ่มปริมาณห้องน้ำในสถานที่ที่อยู่ในการดูแลของ กทม. เช่น สถานีรถไฟฟ้า สวนสาธารณะ ลานกีฬา ให้มีเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ตัวอย่างสถานที่ เพิ่มห้องน้ำสาธารณะที่สามารถเข้าถึงได้บริเวณริมรั้วสวนลุมฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มารอรถเมล์ 1.2 รวบรวมเครือข่ายห้องน้ำของเอกชน ที่ประสงค์จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าใช้อย่างสาธารณะ มาเป็นเครือข่ายห้องน้ำสาธารณะ กทม. 2. เพิ่มการเข้าถึงห้องน้ำให้ประชาชนมีอิสระในการเข้าห้องน้ำ ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากพนักงาน โดยเฉพาะบนสถานีรถไฟฟ้า นอกจากนั้น กทม. จะปรับให้ห้องน้ำสาธารณะทุกห้องที่อยู่ในการดูแลของ กทม. สามารถเข้าใช้ได้ฟรีโดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่าย 3. เพิ่มคุณภาพห้องน้ำ กทม.จะจัดสรรพนักงานเข้าดูแลความสะอาดห้องน้ำอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับตรวจสอบอุปกรณ์ภายในห้องน้ำให้มีพร้อมใช้งาน และเพียงพอกับความต้องการ เช่น สายชำระ กระดาษชำระ สบู่ล้างมือ 4. มีห้องน้ำคนพิการรองรับ และมีปุ่มฉุกเฉินสำหรับแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดเหตุ 5. ปักหมุดแผนที่ห้องน้ำสาธารณะ กทม.ลง Google Map เพื่อให้ประชาชนทราบได้ว่า กรุงเทพฯ มีห้องน้ำสาธารณะที่ใดบ้างและยังสามารถให้คะแนนห้องน้ำผ่าน Google Map ได้เลย โดยเจ้าหน้าที่จะคอยติดตามการให้คะแนนอยู่เสมอและพัฒนาห้องน้ำให้พร้อมใช้งาน สะอาดอยู่เสมอ

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :สำรวจและสร้างห้องน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐาน

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 60

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 195 : ตัดถนนย่อยตามผังเมือง เพิ่มความคล่องตัวของรถและโอกาสในการมีรถเมล์สายรอง 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนย. // หน่วยงานสนับสนุน สจส., สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :- การเดินทางภายในเมืองคล่องตัวยิ่งขึ้น - ลดเวลาในการเดินทางบนท้องถนน - จากบ้านเดินทางไปเชื่อมต่อรถเมล์สายรองได้ใกล้ขึ้น ด้วยถนนสายรองที่ตัดใหม่และเพิ่มรถเมล์เข้ามาให้บริการ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ระบบถนนในกรุงเทพฯ เป็นระบบที่มีซอยย่อยที่ตัน ลึก และห่างจากถนนสายหลักเป็นจำนวนมาก ซึ่งซอยย่อยเหล่านี้ก็จะมุ่งตรงมาเชื่อมต่อกับถนนสายหลักต่าง ๆ โดยไม่มีถนนสายรองเป็นตัวเลือกในการเดินทาง ทำให้เกิดพื้นที่เมืองลักษณะ superblock ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหนึ่งของการจราจรติดขัดในปัจจุบัน

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการก่อสร้างถนนตามผังเมืองฯ กำหนด (สนย.กำหนดขัั้นตอนงานเป็นร้อยละ เพื่อสะดวกในการรายงานผลความก้าวหน้า) ปี 2566 จำนวนเส้นทางที่ได้จัดทำแนวเส้นทางโครงการและขออนุมัติแนวสายทางโครงการต่อ ผว.กทม. ปี 2567-2569 ก่อสร้างถนนตามแนวผังเมืองแล้วเสร็จ (1 โครงการ) พัฒนาถนนทั้งการขยายและตัดเพิ่มให้สอดคล้องกับแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงให้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร โดยเริ่มดำเนินการกับถนนที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุดและดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมกับประชาชน เพื่อให้การคมนาคมของเมืองมีความคล่องตัว ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทาง ทั้งถนนหนทางที่เพิ่มโครงข่ายขึ้นและโอกาสที่จะพัฒนารถเมล์สายรองเข้าสู่พื้นที่ที่ยังขาดเพิ่มเติม

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 100

    6.Action Plan :โครงการ/กิจกรรม ศึกษาแนวเส้นทางที่กำหนดในแผนผังแสดงโครงการคมนาคมขนส่งท้ายกฎกระทรวงบังคับให้ใช้ผังเมืองรวม กทม. พ.ศ.2556 (ปี 2566 ไม่ใช้งบฯ)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 196 : พัฒนาป้ายท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ขนาดเหมาะสม ข้อมูลถูกต้อง 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- มีทางเลือกในการทำกิจกรรมและได้รู้จักกรุงเทพฯ มากยิ่งขึ้นผ่านประวัติศาสตร์สิ่งต่าง ๆ ในเมือง

    3.กทม.จะทำอย่างไร :กทม.จะดำเนินการปรับปรุงป้ายท่องเที่ยวให้มีความชัดเจน ถูกต้อง เข้าใจง่าย เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ให้ทุกสถานที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว นำร่องพัฒนา 120 ป้าย ภายในเกาะรัตนโกสินทร์ โดยมีพัฒนาใน 2 มิติ 1) เล่าเรื่องใหม่ 2) รูปแบบป้ายใหม่ เล่าเรื่องใหม่ - นำสีมาช่วงแบ่งยุคสมัยของสถานที่ ตั้งแต่ยุคก่อนรัตนโกสินทร์ถึงยุคปัจจุบัน การนำสีที่สามารถระบุยุคสมัยมาช่วยเล่าเรื่องจะทำให้เราเห็นพัฒนาการของเมืองได้จากสี และเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว การกระจายตัวของสถานที่สำคัญสามารถสันนิษฐานได้ว่าช่วงใดการพัฒนากระจุกตัวอยู่ในบริเวณใด - องค์ประกอบในการเล่าเรื่องใหม่ ประกอบด้วย 1) ชื่อสถานที่ / แถบสีบอกยุคสมัย 2) เนื้อหาโดยย่อ สรุปสาระสำคัญของสถานที่นี้เป็นข้อ ๆ 3) ส่วนองค์ประกอบเพิ่มเติม อาทิ ภาพ แผนผัง รายละเอียดสถาปัตยกรรม ฯลฯ 4) ประวัติ 5) แผนที่โดยรอบ 6) ป้ายบอกทางไปสถานที่โดยรอบ 7) QR Code เพื่อสแกนข้อมูลเพิ่มเติม - ประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่สอนวิชาประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ และสำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อร่วมจัดทำข้อมูล ให้ครบถ้วน ถูกต้อง ชัดเจน มีภาพเก่าประกอบ รวมถึงการเพิ่มเติมป้ายในจุดที่อาจจะหลงลืมและละเลยกันไป รูปแบบป้ายใหม่ - ปรับรูปแบบป้ายให้กระชับขึ้น ออกแบบป้ายหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ หากบริเวณนั้นมีเสาอยู่แล้วอาศัยเสาเดิม หรือบริเวณมีแนวรั่วเดิมก็ใช้รูปป้ายเป็นแนวนอนนำป้ายไปติดตั้งกับรั่ว ไม่เพิ่มเสาในบริเวณนั้น หากไม่มีเสาหรือแนวรั่วจึงค่อยติดตั้งป้ายแบบมีฐาน โดยป้ายจะต้องไม่ขีดขวางทางเดิน ติดตั้งขนานไปกับทางเท้า จัดทำข้อมูลทั้งหมดขึ้นระบบออนไลน์เปิดข้อมูลเป็นสาธารณะทุกคนสามารถเชื่อมต่อได้ เบื้องต้นจะนำข้อมูลไปเชื่อมต่อกับ Google Map ให้รายละเอียดของสถานที่แสดงในออนไลน์และออฟไลน์ รวมไปถึงการต่อยอดสร้างเส้นทางท่องเที่ยว

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จัดทำ QR-CODE รองรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่

    5.เป้าหมาย :ป้าย : 400

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 197 : นำร่องผ้าอนามัยฟรี 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนศ. // หน่วยงานสนับสนุน สนข.

    2.ประชาชนได้อะไร :-แก้ปัญหาความจนประจำเดือน (Period Poverty) ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและสุขอนามัยของผู้มีประจำเดือน - ลดภาระผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนสังกัด กทม.

    3.กทม.จะทำอย่างไร :อีกทั้งระบบขนส่งมวลชนหลักในกรุงเทพฯ ยังอยู่บนถนนเส้นหลัก เมื่อไม่มีถนนสายรองที่ระบบขนส่งมวลชนรอง หรือ ระบบ feeder จะเดินรถได้ ทำให้ ประชาชนเลือกที่จะใช้รถยนต์มากกว่าขนส่งมวลชนเนื่องจากสะดวกกว่า เพราะระบบไม่สามารถรองรับการเดินทางตั้งแต่ต่อแรก (First Mile) ไปจนต่อสุดท้าย (Last Mile) ได้

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :จำนวนโรงเรียนที่มีการแจกผ้าอนามัย

    5.เป้าหมาย :โรงเรียน : 9

    6.Action Plan :1. มีการสำรวจข้อมูลในการจัดหาผ้าอนามัยฟรีผ่านสำนักงานเขต 2. มีการนำร่องแจกผ้าอนามัยไปแล้ว 20 โรงเรียน คือ เขตบางขุนเทียน 16 โรงเรียน และเขตคลองสามวา 4 โรงเรียน

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 198 : นำร่องสร้างห้องปั๊มนม-ให้นมในสถานที่ของกทม. 0 0 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 0 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : สนอ. // หน่วยงานสนับสนุน ทุกหน่วยงาน

    2.ประชาชนได้อะไร :-เพื่อให้ประชากรเด็กเติบโตอย่างแข็งแรง -ประชาชนมีต้นทุนในการเลี้ยงลูกน้อยลง และรักษาประสิทธิภาพการทำงานควบคู่กับการเลี้ยงลูก -สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับคนที่มีลูกและเด็กอ่อน-เด็กเล็ก

    3.กทม.จะทำอย่างไร :

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :เป้าหมายมีจำนวนจุดให้บริการห้อง/มุมนมแม่ จากส่วนราชการ โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 60

    5.เป้าหมาย :ร้อยละ : 60

    6.Action Plan :1. กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ 2. คลินิกนมแม่ วชิรพยาบาล (ห้องปั๊มนม ทั้งผู้ป่วยในผู้ป่วยนอก บริการปรึกษาปัญหานมแม่ผ่านแอปพลิเคชั่น)

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 199 : วิชาชีพเลือกเสรีสำหรับนักเรียน 0 4 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 4 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- หลักสูตรที่ทันสมัย ช่วยพัฒนานักเรียนให้มีความพร้อมต่อการศึกษาต่อหรือการประกอบอาชีพ รวมถึงการใช้ชีวิตในปัจจุบันและอนาคต - เปิดโอกาสในการเข้าถึงความต้องการของตลาดแรงงานตามสิ่งที่ตนเองถนัดและสนใจ

    3.กทม.จะทำอย่างไร :ผังเมืองรวมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2556 จึงได้กำหนดถนนสายรองเพื่อทำให้พื้นที่เมืองลักษณะ superblock ของกรุงเทพฯ หมดไป โดยกำหนดถนนที่ต้องดำเนินการก่อสร้าง 136 สาย เป็นถนนสายรองมากถึง 102 สาย แต่จากการประเมินผลการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงให้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2556 ในปี พ.ศ. 2558

    4.ตัวชี้วัด (KPI) :โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั้งหมด 109 โรงเรียน มีการเรียนการสอนด้านทักษะอาชีพ ที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของผู้เรียน

    5.เป้าหมาย :โรงเรียน : 109

    6.Action Plan :

    7.โครงการ/กิจกรรม :

  • 200 : หลักสูตรการเรียนรวม คือการศึกษาสำหรับทุกคน 0 1 0 0 0

    ยังไม่รายงาน : 0 โครงการ กำลังดำเนินการ : 1 โครงการ แล้วเสร็จ : 0 โครงการ ยกเลิก : 0 โครงการ ชะลอ : 0 โครงการ
    1.หน่วยงานหลัก : // หน่วยงานสนับสนุน

    2.ประชาชนได้อะไร :- เด็กกรุงเทพฯ ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษมีโอกาสได้เรียนในโรงเรียนที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักเรียนแต่ละบุคคลอย่างมีคุณภาพ - เด็กกรุงเทพฯ ในโครงการจัดการศึกษาพิเศษได้เรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตไปจนถึงการพัฒนาสู่การประกอบอาชีพในอนาคต - เด็กกรุงเทพฯ ทั้งเด็กทั่วไปและเด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือเด็กพิการได้เรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม